ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาลิเลโอ กาลิเลอี"
→กาลิเลโอกับเคปเลอร์ และทฤษฎีน้ำขึ้นน้ำลง
[[ไฟล์:Galileo's sketches of the moon.png|thumb|ภาพสเก็ตช์ดวงจันทร์จากการสังเกตของกาลิเลโอ]]
วันที่ [[7 มกราคม]] [[ค.ศ. 1610]] กาลิเลโอได้ใช้กล้องส่องทางไกลของเขาเฝ้าสังเกตบางสิ่งที่เขาบรรยายในเวลานั้นว่าเป็น "ดาวนิ่ง ๆ สามดวงที่มองไม่เห็น{{fn|2}} เพราะมีขนาดเล็กมาก" ดาวทั้งสามดวงอยู่ใกล้กับ[[ดาวพฤหัสบดี]] และตั้งอยู่ในระนาบเดียวกันทั้งหมด<ref name="drake1978">สทิลแมน เดรค (1978). ''Galileo At Work''. ชิคาโก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชิคาโก. ISBN 0-226-16226-5</ref> การสังเกตการณ์ในคืนต่อ ๆ มาปรากฏว่า ตำแหน่งของ "ดาว" เหล่านั้นเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดีมีการเปลี่ยนแปลงในแบบที่ไม่สามารถอธิบายได้หากพวกมันเป็น[[ดาวฤกษ์]]จริง ๆ วันที่ 10 มกราคม กาลิเลโอบันทึกว่า หนึ่งในดาวทั้งสามได้หายตัวไป ซึ่งเขาอธิบายว่ามันไปหลบอยู่ด้านหลังดาวพฤหัสบดี ภายในเวลาไม่กี่วันเขาก็สรุปได้ว่าดาวเหล่านั้นโคจรรอบดาวพฤหัสบดี{{fn|3}} กาลิเลโอได้ค้นพบดาวบริวารที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดีสามในสี่ดวง คือ [[ไอโอ]] [[ยูโรปา]] และ[[คัลลิสโต]] ต่อมา เขาค้นพบดาวบริวารดวงที่สี่คือ[[แกนีมีด]] ในวันที่ [[13 มกราคม]] กาลิเลโอตั้งชื่อดาวบริวารทั้งสี่ที่เขาค้นพบว่าเป็น ''ดาวเมดิเซียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้อุปการะของเขา คือ [[โคสิโมที่ 2 เดอ เมดิชิ]] แกรนด์ดยุคแห่ง[[แคว้นทัสกานี|ทัสกานี]] และน้องชายของเขาอีกสามคน<ref name="sharrat" /> แต่ต่อมาในภายหลัง นักดาราศาสตร์ได้ตั้งชื่อแก่ดวงจันทร์เหล่านั้นเสียใหม่ว่า ''ดวงจันทร์กาลิเลียน'' เพื่อเป็นเกียรติแก่กาลิเลโอเอง
|