ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คู่กรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6979720 สร้างโดย 1.47.11.230 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
''คู่กรรม'' เขียนขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ตีพิมพ์เป็นตอนใน[[นิตยสารศรีสยาม]] (ในเครือ[[นิตยสารขวัญเรือน]])<ref>พนิดา ชอบวณิชชา, ชุติมา ศรีทอง. The 40-Years-Old-Magazine, The Legend of ขวัญเรือน. กรุงเทพฯ : อะบุ๊ก, 2552. 256 หน้า. ISBN 978-611-7079-03-0</ref> และรวมเล่มเป็นครั้งแรกในปี [[พ.ศ. 2512]] แล้วตีพิมพ์มาหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน มีภาคต่อคือ [[คู่กรรม 2]] ถือว่าเป็นบทประพันธ์ที่ชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของทมยันตีเลยทีเดียว
 
''คู่กรรม'' ได้รับการนำไปสร้างเป็น[[ละครโทรทัศน์]]และ[[ภาพยนตร์]]แล้วหลายครั้ง เริ่มจาก [[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] เป็นละครถึง 2 ครั้ง ในปี [[พ.ศ. 2513]], [[พ.ศ. 2515]] และต่อมาทาง[[ช่อง 9]] อสมท.ส.ม.ท.]] ในปี พ.ศ. 2521
 
ครั้งสำคัญเป็นละครทาง[[ช่อง 7 สี]] ในปี พ.ศ. 2533 เป็นละครที่สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดอันดับ 1 ของ[[เมืองไทย]]ตลอดกาล เรตติ้ง 40 <ref>[http://www.ch7.com/news/news_scoop7see_detail.aspx?c=5&p=523&d=185864 ข่าวเจาะประเด็น ช่อง 7, 17 เม.ย. 2555, ช่วงภาพเก่าเล่าใหม่ "ตอนอวสานโกโบริ",สร้างประวัติศาสตร์เรตติ้งสูงสุดของละครไทย เรตติ้ง 40]</ref><ref>[http://www.bugaboo.tv/watch/27502/ปิดตำนานอังศุมาลินเมืองไทย.html ข่าวเช้าวันนี้ที่หมอชิต ช่อง 7, 20 สิงหาคม 2555, "ตอนปิดตำนานอังศุมาลิน",ละครที่เรตติ้งสูงสุดของประวัติศาสตร์ละครไทย]</ref> เรื่องนี้ได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำในปีเดียวกัน หลังจากนั้นได้นำมาสร้างใหม่เป็นละครทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2547 (มีภาคต่อคือ [[คู่กรรม 2]]) ล่าสุดเป็นละครทางช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2556
 
''คู่กรรม'' นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ 4 ครั้ง ในปี [[พ.ศ. 2516]], [[พ.ศ. 2531]], [[พ.ศ. 2538]] และ [[พ.ศ. 2556]] ซึ่งทั้ง 2 ครั้ง (ปี 2531 และ 2538) ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม[[รางวัลตุ๊กตาทอง]]ไปทั้งคู่ และเคยดัดแปลงเป็น[[ละครเวที]] โดยค่ายดรีมบอกซ์ กลางปี [[พ.ศ. 2547]] แสดงที่[[โรงละครกรุงเทพ]] และกลางปี [[พ.ศ. 2550]] แสดงที่ โรงละครกรุงเทพเมโทรโพลิส
บรรทัด 114:
 
* ในปี [[พ.ศ. 2513]] สร้างครั้งแรกออกอากาศทาง [[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] สร้างโดย [[เทิ่ง สติเฟื่อง]] ในนามของ คณะศรีไทยการละคร
* ต่อมาออกอากาศทาง[[ช่อง 4 บางขุนพรหม]] ครั้งที่ 2 ในปี [[พ.ศ. 2515]] ต่อมาออกอากาศทาง [[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9]] ในปี [[พ.ศ. 2521]]
* ในปี [[พ.ศ. 2533]] ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทาง [[สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7]] สร้างโดย [[สุรางค์ เปรมปรีดิ์]] ผู้ถือลิขสิทธิ์นวนิยาย หยิบเรื่องนี้จัดทำเป็นละครโทรทัศน์ ภายใต้นโยบายทำตามบทประพันธ์ ร่วมกับ [[ดาราวิดีโอ]] กำกับการแสดงโดย [[ไพรัช สังวริบุตร]] ออกอากาศวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ เพลงประกอบชื่อ ''คู่กรรม'' คำร้องและทำนองโดย [[สุทธิพงษ์ วัฒนจัง]] สร้างประวัติศาสตร์ละครที่เรตติ้งสูงสุดของประเทศไทย <ref>[http://news.thaipbs.or.th/content/“คู่กรรม”-วรรณกรรมอมตะ-ที่ถ่ายทอดเป็นละคร-และภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า “คู่กรรม” วรรณกรรมอมตะ ที่ถ่ายทอดเป็นละคร และภาพยนตร์ครั้งแล้วครั้งเล่า]</ref> เรื่องนี้ส่งผลให้ได้ได้รับรางวัลทั้งเมขลาและโทรทัศน์ทองคำหลายสาขา ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2533 - วันที่ 9 มิถุนายน 2533
* ในปี [[พ.ศ. 2547]] ได้รับการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์ออกอากาศทาง [[สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3]] สร้างโดย [[เรด ดราม่า]] กำกับการแสดงโดย [[นพดล มงคลพันธ์]] ออกอากาศวันจันทร์-อังคาร เวลา 20.20 น.<ref>[http://movie.sanook.com/21341/คู่กรรม/ ละครโทรทัศน์คู่กรรม พ.ศ. 2547]</ref> มีภาคต่อคือ [[คู่กรรม 2]]