ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท้องสนามหลวง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
G doodee (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
 
== ประวัติ ==
'''ท้องสนามหลวง''' เดิมเรียกว่า '''ทุ่งพระเมรุ''' เนื่องจากใช้เป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และ[[พระบรมวงศานุวงศ์]] ครั้นเมื่อ [[พ.ศ. 2398]] รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเรียกจาก “ทุ่งพระเมรุ” เป็น “ท้องสนามหลวง” ดังปรากฏในประกาศว่า ''“ที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น คนอ้างการซึ่งนาน ๆ มีครั้งหนึ่งแลเป็นการอวมงคล มาเรียกเป็นชื่อตำบลว่า ‘ทุ่งพระเมรุ’ นั้นหาชอบไม่ ตั้งแต่นี้สืบไปที่ท้องนาหน้าวัดมหาธาตุนั้น ให้เรียกว่า ‘ท้องสนามหลวง’”''
 
ตั้งแต่รัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช]] เป็นต้นมา ได้ใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น เป็นที่ตั้ง[[พระเมรุมาศ]]ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ และเป็นที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ทำนาที่สนามหลวง เพื่อแสดงให้ปรากฏแก่นานาประเทศว่า เมืองไทยบริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร มีไร่นาไปจนใกล้ ๆ พระบรมมหาราชวัง และไทยเอาใจใส่ในการสะสมเสบียงอาหารไว้เป็นกำลังของบ้านเมืองด้วย
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ประกอบ[[พระราชพิธีพืชมงคล]] พิธีพิรุณศาสตร์มีกำแพงแล้วล้อมรอบบริเวณ ข้างในสร้างหอพระพุทธรูปสำคัญเป็นที่ประดิษฐานพระสำหรับพิธี สำหรับการพิธีมีพลับพลาที่ทำการพระราชพิธี มีหอดักลมลงที่พลับพลาสำหรับทอดพระเนตรการทำนา ข้างพลับพลามีโรงละครสำหรับเล่นบวงสรวง ด้านเหนือมีพลับพลาน้อยสร้างบนกำแพงแก้วสำหรับประทับทอดพระเนตรการทำนาในท้องทุ่ง นอกกำแพงแก้วยังมีฉางสำหรับใส่ข้าวที่ได้จากการปลูกข้าว
บรรทัด 17:
== ในปัจจุบัน ==
[[ไฟล์:Phra Meru of Princess Bejaratana Rajasuda and the information plate of Sanam Luang.JPG|thumb|left|250px|ท้องสนามหลวงเมื่อมีการใช้เป็นที่ตั้งของพระเมรุพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายระดับสูง]]
ใน[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณรัชกาลที่ บดินทรเทพยวรางกูร9|รัชกาลปัจจุบัน]]มีการใช้สนามหลวงเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ เช่น [[พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ]], [[พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี|สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี]] [[พระราชพิธีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539]] รวมทั้งงาน[[พระเมรุมาศ]]เจ้านายระดับสูง เช่น [[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]], [[สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า]], [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]]ใน[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 7]], [[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]], [[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] และล่าสุดทางกรมศิลปากรได้ดำเนินการก่อสร้างพระเมรุมาศในการประกอบพระราชพิธีออกพระเมรุมาศในงาน[[พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณเดือนมิถุนายน[[พ.ศ. 2560]]
 
รวมถึงเป็นที่ใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การปราศรัยใหญ่ในการหาเสียง[[เลือกตั้ง]]ในแต่ละครั้ง หรือการชุมนุมทางการเมืองต่าง ๆ รวมถึงใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางกีฬาการละเล่นต่าง ๆ เช่น ฟุตบอล หรือ [[ว่าว]] และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป
บรรทัด 25:
=== การปรับปรุง ===
[[ไฟล์:สนามหลวง2554.jpg|thumb|290px|ท้องสนามหลวงหลังปรับปรุงใหม่]]
ในปี [[พ.ศ. 2553]] [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]]ได้ทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ของสนามหลวง จากเดิมที่เคยเสื่อมโทรมให้ดีขึ้น แล้วเสร็จในปลายเดือนเมษายน [[พ.ศ. 2554]]<ref>[http://www.chaoprayanews.com/2010/02/02/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%A1-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87/ กทม.เดินเครื่องปรับภูมิทัศน์สนามหลวงแล้ว]</ref>เปิดใช้พื้นที่อย่างเป็นทางการ วันที่ [[9 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2554]] และไม่อนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เหมือนในอดีต เพื่อสงวนไว้สำหรับประกอบพระราชพิธีเท่านั้น<ref>[http://matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1306472477&grpid=&catid=01&subcatid=0100 ปิดตำนาน "สนามหลวง" ห้ามใช้ปราศรัย-ชุมนุมทางการเมือง (อีกต่อไป) !! จาก[[มติชน]]]</ref> พร้อมขอความร่วมมือให้ช่วยในการรักษาความสะอาดไม่ทิ้งขยะลงพื้น หากพบผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ในกรณีที่ไม่สามารถชำระค่าปรับได้ ต้องบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะจำนวน 100 ชิ้น แทนการเสียค่าปรับ ซึ่งมีพระราชบัญญัติโบราณสถานคุ้มครอง และกำหนดโทษผู้ใดฝ่าฝืนหรือบุกรุกมีโทษจำคุก 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 1 ล้านบาท โดยทาง[[กรุงเทพมหานคร]] อนุญาตให้ประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และสันทนาการตามปกติ แต่ห้ามนำสินค้าเข้าไปจำหน่าย จอดรถหรืออาศัยเป็นที่หลับนอน ซึ่งสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้ ระหว่างเวลา 05.00-22.00 น. นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถสัญจรผ่านถนนเส้นกลาง ซึ่งเชื่อมระหว่าง[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ไปยังศาลฎีกาได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยเบื้องต้นได้ทำการติดตั้งรั้วชั่วคราว เพื่อป้องกันการบุกรุก และเพื่อคงความสวยงามของสนามหลวง ซึ่งผู้ที่ต้องการขอใช้พื้นที่สามารถทำเรื่องขอพื้นที่จาก[[กรุงเทพมหานคร]] แต่ทาง[[กรุงเทพมหานคร]]จะไม่ให้ใช้พื้นที่ท้องสนามหลวงเป็นที่ชุมนุมหรือจัดกิจกรรมทางการเมือง นอกจากนั้น[[กรุงเทพมหานคร]]ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเหตุการณ์รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่สนามหลวงเป็นหน่วยงานของราชการสังกัด[[กีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 42|กรุงเทพมหานคร]]ดูแลความสงบเรียบร้อยภายในท้องสนามหลวง
 
== อ้างอิง ==