ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กวนอู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7016362 สร้างโดย 171.7.131.46 (พูดคุย)
บรรทัด 78:
 
=== ความกตัญญูรู้คุณ ===
ในคราวศึกที่ตำบลแปะแบ๊ [[อ้วนเสี้ยว]]นำทัพหมายบุกโจมตียึดครอง[[ฮูโต๋]] [[โจโฉ]]จัดทหารสิบห้าหมื่นแยกออกเป็นสามกองเข้ารับมือกับอ้วนเสี้ยว ในการทำศึกโจโฉสูญเสีย[[ซงเหียน]] [[งุยซก]]และไพร่พลจำนวนมาก [[ซิหลง]]เสนอให้เรียกกวนอูออกรบ โจโฉกลัวกวนอูออกรบแล้วจะเป็นการแทนคุณตนเองและจากไปแต่ซิหลงแย้งว่า ''"ข้าพเจ้าเห็นว่าเล่าปี่ไปอาศัยอ้วนเสี้ยวอยู่ แม้กวนอูฆ่าทหารอ้วนเสี้ยวคนนี้เสียได้ อ้วนเสี้ยวรู้ก็จะฆ่าเล่าปี่ เมื่อเล่าปี่ตายแล้วกวนอูก็จะเป็นสิทธิ์อยู่แก่ท่าน"''<ref name="โจโฉอุบายให้กวนอูฆ่างันเหลียงทหารเอกอ้วนเสี้ยว">โจโฉอุบายให้กวนอูฆ่างันเหลียงทหารเอกอ้วนเสี้ยว, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 352</ref> โจโฉเห็นชอบด้วยความคิดซิหลงกวนอูจึงถูกเรียกตัวออกศึก โจโฉพากวนอูขึ้นไปบนเนินเขาและชี้ให้ดูตัวงันเหลียง กวนอูจึงว่า ''"งันเหลียงคนนี้หรือ ข้าพเจ้าพอจะสู้ได้ ท่านอย่าวิตกเลย ข้าพเจ้าจะตัดศีรษะงันเหลียงมาให้ท่านจงได้"''<ref name="โจโฉอุบายให้กวนอูฆ่างันเหลียงทหารเอกอ้วนเสี้ยว">โจโฉอุบายให้กวนอูฆ่างันเหลียงทหารเอกอ้วนเสี้ยว, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 352</ref> และได้ตัดคอบุนทิวและงันเหลียง สองทหารเอกของอ้วนเสี้ยวดั่งคำสัตย์ที่ได้ลั่นวาจาไว้ แม้จะไม่ยอมเป็นข้ารับใช้โจโฉแต่ก็ยอมพลีกายถวายชีวิตในการทำศึกสงครามให้แก่โจโฉ เป็นชายชาติทหารเต็มตัว ช่วยทำศึกให้แก่โจโฉด้วยความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณเพื่อเป็นการทดแทนคุณโจโฉ[[โจโฉ]]ที่ได้เลี้ยงดูและปูนบำเหน็จรางวัลต่าง ๆ ให้มากมาย
 
นับจากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ฝีมือง้าวในการทำศึกของกวนอูก็เป็นที่เลื่องลือกล่าวขานและรู้จักกันทั่วทั้งแผ่นดิน ในคราวที่โจโฉนำกำลังบุกลงใต้หวังยึดครอง[[ง่อก๊ก|กังตั๋ง]] [[จิวยี่]]แม่ทัพของซุนกวนวางแผนการลอบฆ่าเล่าปี่โดยเชิญมากินโต๊ะ เล่าปี่หลงเชื่อถ้อยคำจิวยี่พาซื่อพาทหารไปกังตั๋งเพียงแค่ 20 คน นั่งดื่มเหล้ากับจิวยี่จนเมาในค่าย จิวยี่นัดแนะกับทหารไว้เมื่อเห็นตนเองทิ้งจอกเหล้าให้สัญญาณก็ให้ทหารที่เตรียมซุ่มไว้ออกมาฆ่าเล่าปี่ ระหว่างกินโต๊ะจิวยี่เห็นกวนอูยืนถือกระบี่อยู่ด้านหลังของเล่าปี่จึงถามว่าเป็นใคร เมื่อเล่าปี่ตอบว่า ''"กวนอูเป็นน้องข้าพเจ้าเอง"''<ref name="จิวยี่ให้เชิญเล่าปี่มากินโต๊ะ">จิวยี่ให้เชิญเล่าปี่มากินโต๊ะ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 608</ref> จิวยี่ก็ตกใจจนเหงื่อกาฬไหลโทรมกาย เกรงกลัวฝีมือของกวนอูจนล้มเลิกแผนการฆ่าเล่าปี่
 
ในคราว[[ศึกเซ็กเพ็ก]] ภายหลังจากขงเบ้งทำพิธีเรียกลมอาคเนย์ให้แก่[[จิวยี่]]และลอบหลบหนีด้วยแผน[[กลยุทธ์หลบหนี]]จากการถูกปองร้ายของจิวยี่ เดินทางกลับยังแฮเค้าพร้อมกับ[[จูล่ง]] ขงเบ้งมอบหมายให้[[จูล่ง]]คุมทหารสามพันไปซุ่มรอที่ตำบลฮัวหลิม ให้[[เตียวหุย]]คุมทหารสามพันไปซุ่มรอที่เนินเขาปากทางตำบลโฮโลก๊ก ให้[[บิต๊ก]]และ[[บิฮอง]]คุมทหารไปดักรออยู่ตามชาย[[ทะเล]]คอยดักจับทหารโจโฉที่หลบหนีมา ให้[[เล่ากี๋]]คุมเรือรบไปตั้งอยู่ที่ตำบลฮูเชียงและให้[[เล่าปี่]]คุมทหารไปคอยดูแผนการเผาทัพเรือโจโฉของจิวยี่อยู่บนเนินเขา ขงเบ้งจงใจไม่เลือกใช้กวนอูทำให้กวนอูน้อยใจจึงกล่าวแก่ขงเบ้งว่า ''"ตัวข้าพเจ้านี้มาอยู่กับเล่าปี่ช้านานแล้ว แลเล่าปี่จะทำการสิ่งใดก็ย่อมใช้สอยข้าพเจ้าให้อาสาไปทำการก่อนทุกแห่ง ครั้งนี้ท่านแคลงข้าพเจ้าสิ่งใดหรือ จึงไม่ใช้ไปทำการเหมือนคนทั้งปวง''"<ref name="เล่าปี่จัดทัพดักจับโจโฉ">เล่าปี่จัดทัพดักจับโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 659</ref> ขงเบ้งจึงมอบหมายให้กวนอูคุมทหารห้าร้อยไปตั้งสกัดอยู่ทางฮัวหยง แต่ก็เกิดความคลางแคลงกวนอู ด้วยความเป็นคนสัตย์รู้จักคุณคน เกรงกวนอูจะนึกถึงคุณโจโฉที่เคยเอ็นดูทำนุบำรุงมาแต่ก่อนจึงไม่ฆ่าเสียและปล่อยให้หลุดรอดไป กวนอูจึงยอมทำทัณฑ์บนแก่ขงเบ้งด้วยศีรษะของตนเองถ้าไปดักรอโจโฉที่เส้นทางฮัวหยงแล้วปล่อยให้หลบหนีไปได้
 
โจโฉ[[โจโฉ]]แตกทัพไปตามเส้นทางที่[[ขงเบ้ง]]คาดการณ์ไว้จนถึง[[ฮัวหยง]] พบกวนอูขี่ม้าถือง้าวคุมทหารออกมายืนสกัดขวางทางไว้ โจโฉเกิดมานะฮึกเฮิมจะต่อสู้แต่เรี่ยวแรงและกำลังของทหารที่ติดตามมานั้นอ่อนแรง [[เทียหยก]]จึงกล่าวแก่โจโฉว่า ''"จะหนีจะสู้นั้นก็ไม่ได้ อันน้ำใจกวนอูเป็นทหารนั้นก็จริง ถ้าเห็นผู้ใดไม่สู้รบแล้วก็มิได้ทำอันตราย ประการหนึ่งเป็นผู้มีความสัตย์ ทั้งรู้จักคุณคนนักด้วย แล้วท่านก็ได้เลี้ยงดูมีคุณไว้ต่อกวนอูเป็นอันมาก แม้ท่านเข้าไปว่ากล่าวโดยดี เห็นกวนอูจะไม่ทำอันตรายท่าน"''"<ref name="กวนอูปล่อยโจโฉ">กวนอูปล่อยโจโฉ, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 1, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 668</ref> โจโฉเห็นชอบด้วยจึงว่ากล่าวตักเตือนกวนอูให้ระลึกถึงบุญคุณแต่ครั้งเก่าคราวที่กวนอูหักด่านถึง 5 ตำบล ฆ่า 6 ขุนพลและทหารเป็นจำนวนมาก ขอให้กวนอูเปิดทางให้หลบหนีไป กวนอูนั้นเป็นคนกตัญญูรู้คุณคน ได้ฟังโจโฉว่ากล่าวก็สงสารนึกถึงคุณโจโฉซึ่งมีมาแต่หนหลัง จึงยอมเปิดทางให้โจโฉหลบหนีไปโดยตนเองเลือกยอมรับโทษประหารตามที่ได้ลั่นวาจาสัตย์และทำทัณฑ์บนไว้แก่ขงเบ้ง
 
=== ความกล้าหาญ ===
[[ไฟล์:เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ.jpg|thumb|350px|'''เทพเจ้าแห่งความสัตย์ซื่อ''' '''[[จิวฉอง]]''' (ซ้าย) '''[[กวนอู]]''' (กลาง) '''[[กวนเป๋ง]]''' (ขวา)]]
[[ไฟล์:3_Valiant.jpg|thumb|350px|'''สามพี่น้องร่วมสาบานแห่งสวนท้อ''' '''[[เตียวหุย]]''' (ซ้าย) '''[[เล่าปี่]]''' (กลาง) '''[[กวนอู]]''' (ขวา) ใน'''[[สามก๊ก (ละครโทรทัศน์)|สามก๊กฉบับละครโทรทัศน์]]'''ของ'''[[สถานีวิทยุโทรทัศน์กลางแห่งประเทศจีน|ซีซีทีวี]] ปี พ.ศ. 2538]]'''
เมื่อคราวเล่าปี่ตั้งตนเป็นใหญ่ใน[[เสฉวน]]และสถาปนาตนเองเป็นพระเจ้าฮันต๋ง ได้ให้กวนอูไปกินตำแหน่งเจ้าเมือง[[เกงจิ๋ว]]ซึ่งเป็นหัวเมืองเอกของ[[เสฉวน]] แต่เดิม[[เกงจิ๋ว]]เป็นของ[[ซุนกวน]] โลซกรับเป็นนายประกันให้เล่าปี่ยืมเกงจิ๋วโดยสัญญาว่าเมื่อได้เสฉวนจะคืนเกงจิ๋วให้ แต่เมื่อ[[เล่าปี่]]ได้[[เสฉวน]]กลับไม่ยอมคืนเกงจิ๋วให้ตามสัญญา [[ซุนกวน]]ให้[[จูกัดกิ๋น]]พี่ชายขงเบ้งเป็นทูตไปเจรจาขอคืน แต่เล่าปี่ก็แสร้งบิดพลิ้วไม่ยอมคืนแต่จะยกเมือง[[เตียงสา]] เมือง[[เลงเหลง]]และเมือง[[ฮุยเอี๋ยว]]ให้แทน โดยให้ไปเจรจาขอเกงจิ๋วคืนแก่กวนอูผู้เป็นเจ้าเมือง โลซกจึงวางแผนการชิง[[เกงจิ๋ว]]คืนด้วยการเชิญกวนอูมากินโต๊ะ ณ ปากน้ำลกเค้า ถ้าเจรจาขอเกงจิ๋วคืนจากกวนอูไม่สำเร็จจะใช้กำลังเข้าแย่งชิงโดยให้[[กำเหลง]]และ[[ลิบอง]]คุม[[ทหาร]]ซุ่มรออยู่รอบด้าน
บรรทัด 141:
จากบันทึกทา[[งประวัติศาสตร์]]ของ[[โบราณจีน|จีนโบราณ]] กวนอูอาจมีชีวิตก่อนงักฮุยเป็นเวลาเกือบพันปี กล่าวคือกวนอูเป็นบุคคลสำคัญในสมัย[[ยุคสามก๊ก]] ([[พ.ศ. 763]] - [[พ.ศ. 823]]) แต่งักฮุยมีชีวิตอยู่ในสมัย[[ราชวงศ์ซ่ง]] ([[พ.ศ. 1503]] - [[พ.ศ. 1822]]) <ref>[http://www.blogth.com/blog/China/Square/602_1.html จากกวนอูถึงงักฮุย]</ref> กวนอูและงักฮุยเป็นวีรบุรุษที่เป็นที่กล่าวขานกันสืบต่อกันมาเป็นเวลานานในเรื่องของความสัตย์ซื่อและจงรักภักดี ใน[[ประเทศไทย]]ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ความสัตย์ซื่อ กตัญญูรู้คุณคนของกวนอูอาจจะเป็นที่กล่าวขานและรู้จักกันมากกว่างักฮุย เนื่องจากกวนอูเป็นตัวละครสำคัญในสามก๊กซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเทพบู๊ ({{zh-all|武圣}}) และมีสถานะเทียบกับเทพบุ๋น ({{zh-all|文圣}}) คือขงจื๊อ
 
ใน[[อดีต]]บรรพบุรุษของชนเผ่า[[แมนจู]] ({{zh-all|满族}}) คือพวกเผ่าหนี่ว์เจิน ({{zh-all|女真族}}) หรือจิน ([[พ.ศ. 1658]] - [[พ.ศ. 1777]]) แมนจูเป็นชนเผ่าที่เรืองอำนาจขึ้นมาในยุคสมัยเดียวกับ[[ราชวงศ์ซ่งใต้]] ภายหลังจาก[[ราชวงศ์ซ่ง]]ล่มสลายลงจนถึง[[ราชวงศ์หยวน]]และ[[ราชวงศ์หมิง]] จนกระทั่งราชวงศ์ชิงที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาว[[แมนจู]] แม้กาลเวลาจะล่วงเลยผ่านมานานหลายร้อยปี แต่การที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถืองักฮุยในฐานะวีรบุรุษต่อต้านเผ่าแมนจูหรือเผ่าจินก็ยังคงอยู่ไม่เสื่อมคลาย ซึ่งการให้การยกย่องและเคารพนับถืองักฮุยนั้น ดูเหมือนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับราษฎรทั่วไป แต่ในสายตาของขุนนางบู๊และบุ๋นภายในราชสำนักชิง การให้ความเคารพนับถือบูชางักฮุยในฐานะวีรบุรุษต้านชนเผ่าจินเป็นการเปรียบได้กับการให้ความเคารพนับถือบูชาผู้ที่ต่อต้านราชวงศ์ชิงนั่นเอง ดังนั้นราชสำนักชิงจึงวางกลอุบายยกย่องกวนอูให้เป็นอีกหนึ่งวีรบุรุษในประวัติศาสตร์จีน เพื่อให้กวนอูกลายเป็นที่ศรัทธาเคารพบูชาของสามัญชนทั่วไปในฐานะเทพเจ้าผู้มีความสัตย์ซื่อ เพื่อเป็นการลดกระแสการเคารพนับถือและเชิดชูงักฮุยให้เบาบางลง<ref>[http://gotoknow.org/blog/beesman/27113 ทำไมเทพเจ้ากวนอูจึงมีคนรู้จักมากกว่าเทพเจ้าขุนพลงักฮุย]</ref>
 
=== เทพเจ้ากวนอู ===
บรรทัด 151:
=== [[ศาลเจ้ากวนอู]] ===
[[ไฟล์:行天宮正門.JPG|thumb|250px|[[ศาลเจ้ากวนอู]]ในเมือง[[ลัวหยาง]] [[ประเทศจีน]]]]
ปัจจุบันมีวัดและศาลเจ้าของกวนอูจำนวนมากทั้งใน[[ประเทศจีน]] ประเทศไทยและต่างประเทศ ทำให้กวนอูกลายเป็นหนึ่งในเทพเจ้าที่มีวัดและศาลเจ้ามากที่สุด ใน[[ปักกิ่ง|เมืองปักกิ่ง]]สมัย[[ราชวงศ์ชิง]] ในประเทศจีนเคยมีศาลเจ้ากวนอูถึง 116 แห่ง และมีศาลเจ้ากวนอูที่[[ไต้หวัน|ประเทศไต้หวัน]]ถึง 500 แห่ง<ref>[http://www.weloveshopping.com/template/e1/show_article.php?shopid=13843&qid=8797 เทพเจ้ากวนอู เทพเจ้าจีน]</ref> นอกจากนี้กวนอูยังเป็นเทพพิทักษ์ในด้านการค้าขายเช่น การจำนอง, ช่างทอง, ผ้าไหม และผ้าต่วน
 
ในประเทศจีนศาลเจ้ากวนอูตั้งอยู่ที่ลัวหยาง ปัจจุบันกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของจีน ภายในศาลเจ้าประกอบไปด้วยตำหนักสามตำหนัก ตำหนักหลักของศาลเจ้ากวนอูตั้งอยู่ภายใน ระยะทางผ่านจากประตูใหญ่เข้าไปประมาณ 50 เมตร มีสิงโตหินจำนวน 104 ตัวเรียงรายสองข้างทาง ที่บริเวณตำหนักใหญ่ ({{zh-all|大殿}}) มีรูปปั้นกวนอูขนาดใหญ่เพื่อให้ผู้คนที่เคารพนับถือสักการบูชา ตำหนักที่สอง ({{zh-all|二殿}}) หันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของลัวหยาง
บรรทัด 160:
 
=== กวนอูใน[[ลัทธิเต๋า]] ===
กวนอูได้รับการยกย่องให้เป็น ''[[จักรพรรดิเทพกวน]]'' ({{zh-all|t=關聖帝君}}) และเป็นเทพพิทักษ์ตามความเชื่อของลัทธิเต๋า การบูชากวนอูเริ่มต้นใน[[ราชวงศ์ซ่ง]] ตามตำนานเล่าว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1220 ทะเลสาบน้ำเค็มซึ่งในปัจจุบันคือ[[เซี่ยโจว]] ({{zh-all|解州鎮}}) เริ่มที่จะผลิต[[เกลือ]]ไม่ได้ [[จักรพรรดิฮุยจง]]จึงทรงมีรับสั่งให้นักพรตจางจี้เซียน ({{zh-all|張繼先}}) ตรวจหาสาเหตุ ซึ่งได้ทรงรับรายงานว่าเป็นฝีมือของชือโหยว ({{zh-all|蚩尤}}) เทพแห่งสงคราม นักพรตจึงอัญเชิญกวนอูเข้ามาต่อสู้จนเอาชนะชือโหยวและสามารถผลิตเกลือได้ดังเดิม พระจักรพรรดิจึงพระราชทานนามให้กวนอูว่า ''ผู้เป็นอมตะแห่งฉงหนิง'' ({{zh-all|崇寧真君}}) และยกกวนอูให้เป็นเทพในเวลาต่อมา
 
ช่วงต้น[[ราชวงศ์หมิง]] นักพรตจางเจิ้งฉาง ({{zh-all|張正常}}) บันทึกในหนังสือของตนเองในชื่อ ''ฮั่นเทียนซือซื่อเจีย'' ({{zh-all|漢天師世家}}) เพื่อเป็นการยืนยันตำนานนี้ ทุกวันนี้กวนอูได้รับการนับถือมากในลัทธิเต๋า หลายวัดเต๋าอุทิศเพื่อกวนอูโดยเฉพาะวัดจักรพรรดิกวนในเซี่ยโจวที่ได้รับอิทธิพลเต๋าอย่างมาก ทุกวันที่ 24 เดือน 6 ตามหลัก[[จันทรคติ]] ซึ่งตรงกับวันเกิดของกวนอู จะมีขบวนแห่เฉลิมฉลองแด่กวนอูอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ
 
=== กวนอูใน[[ศาสนาพุทธ|พุทธศาสนา]] ===
ตามแนวคิดของชาว[[พุทธ]]ใน[[จีน]] กวนอูได้รับการยกย่องให้เป็น ''[[พระสังฆารามโพธิสัตว์]]'' ({{zh-all|t=伽藍菩薩}}: ''แคนำผู่สัก'') หมายถึงผู้พิทักษ์ธรรมของชาวพุทธ โดยคำว่า ''สังฆาราม'' ใน[[ภาษาสันสกฤต]]หมายถึงสวน[[ชุมชน[[และหมายถึง[[วัด]] ดังนั้น ''[[พระสังฆาราม]]'' จึงหมายถึงผู้พิทักษ์[[พระรัตนตรัย]]นั่นเอง ดังนั้นกวนอูจึงเป็นตัวแทนของเทพผู้พิทักษ์ โดยวัดและสวนที่ตั้งรูปปั้นกวนอูนั้น รูปปั้นของกวนอูมักจะถูกวางไว้ ณ ส่วนไกลด้านซ้ายของ[[พระอุโบสถ]] คู่กับ ''[[พระเวทโพธิสัตว์]]'' ({{zh-all|t=韋馱菩薩}}: ''อุ่ยท้อผู่สัก'', ตรงกับพระสกันทะหรือ[[พระขันธกุมาร]]ของ[[ฮินดู]])
 
ตามตำนานชาว[[พุทธ]] ในปี [[พ.ศ. 1135]] กวนอูได้ประกาศตนเป็น[[พุทธมามกะ]]ต่อหน้าจื้ออี่ ({{zh-all|智顗}}) ผู้ก่อตั้ง[[นิกายสัทธรรมปุณฑริก]] ว่ากันว่าขณะนั้นจื้ออี่นั่งสมาธิอยู่ที่เขาจวนหยกสัน{{nowrap|ยฺวี่เฉฺวียน}} ({{zh-all|玉泉山}}) และตื่นจากสมาธิเพราะการปรากฏตัวของกวนอู กวนอูขอให้จื้ออี่สอนหลักธรรมให้ตนแล้วปวารณาตนขอรับ[[ศีลห้า]] จึงกลายเป็นที่กล่าวขานกันว่ากวนอูปวารณาตนเป็นผู้พิทักษ์พุทธศาสนาและเป็นผู้ช่วยเหลือจื้ออี่ก่อตั้งวัด{{nowrap|ยฺวี่เฉฺวียน}} ({{zh-all|玉泉寺}}) จนปรากฏตราบจนทุกวันนี้
 
ในวรรณกรรมสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้บรรยายไว้ว่าภายหลังจากที่กวนอูเสียชีวิตได้กลายเป็นอสุรกายที่เต็มไปด้วยความพยาบาทลิบองอยู่ในภูเขา และได้ไปปรากฏร่างต่อ[[พระ|หลวงจีน]]เภาเจ๋ง ({{zh-all|普淨}}) บนยอดเขาจวนหยกสัน({{zh-all|玉泉山}}) เพื่อเรียกร้องให้นำศีรษะตนเองกลับคืนมา จากการเทศนาของหลวงจีนเภาเจ๋งที่กล่าวว่า ''"กงเกวียนกำเกวียน ตัวฆ่าเขาเขาฆ่าตัว เมื่อท่านฆ่างันเหลียง บุนทิวแลนายด่านห้าตำบลเสีย ใครมาทวงศีรษะแก่ท่านบ้าง ครั้งนี้ท่านเสียทีแก่ข้าศึกถึงแก่ความตายแล้ว ท่านมาร้องทวงศีรษะแก่ใครเล่า"''<ref name="อสุรกายกวนอู">อสุรกายกวนอู, สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เล่ม 2, เจ้าพระยาพระคลัง (หน) , สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, พ.ศ. 2544, หน้า 316</ref> ทำให้กวนอูได้ซาบซึ้งในรสพระธรรมและปวารณาตนเป็นผู้พิทักษ์[[ศาสนาพุทธ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/กวนอู"