ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอประจันตคาม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
'''อำเภอประจันตคาม''' เป็น[[อำเภอ]]หนึ่งของ[[จังหวัดปราจีนบุรี]] มีประวัติดังต่อไปนี้
 
== ประวัติเมืองประจันตคาม ==
 
พ.ศ. 2369 แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) แห่งราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ทรงพยายามกอบกู้เอกราชให้ชาวลาว โดยยกทัพมาตีเมืองนครราชสีมาจนย่อยยับ เมื่อชาวเมืองนครราชสีมารวบรวมกำลังต่อสู้กับกองทัพของสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ แต่งทัพให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) แต่เมื่อครั้งเป็นที่พระยาราชสุภาวดี เป็นแม่ทัพยกไปตีนครหลวงเวียงจันทน์ เมื่อกองทัพสยามเผานครหลวงเวียงจันทน์ได้แล้ว จึงจัดการบังคับอพยพลี้พลและชาวเมืองบางส่วนจากนครหลวงเวียงจันทน์ เมืองมหาชัยกองแก้ว หัวเมืองทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง เมืองสกลนคร และอีกหลายหัวเมืองในภาคอีสานซึ่งแต่เดิมขึ้นกับอาณาจักรล้านช้าง ให้เข้ามาอยู่ในอาณาเขตสยาม ฝ่ายเจ้านายลาว 4 ท่าน คือ ท้าวอุเทนบุตรท้าวสร้อย เพียเมืองแสน ท้าวฟองโอรสพระยาชัยสุนทรเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ และท้าวอินทร์โอรสเจ้าเมืองสกลนคร ซึ่งคุมกำลังพลเป็นนายกองของทัพหัวเมืองที่เจ้าเมืองส่งไปช่วยรบกับทัพสยาม ได้ถูกบังคับให้นำไพร่พลลาวที่ถูกอพยพมาตั้งกองรวมกันอยู่เป็นหมู่บ้านใหญ่ในพื้นที่อำเภอประจันตคามปัจจุบัน ต่อมาท้าวฟองยกไพร่พลแยกไปเลือกพื้นที่ตั้งเป็นเมืองอยู่ที่กบินทร์บุรี ท้าวอินทร์ยกไพร่พลไปตั้งเมืองอยู่ที่พนัสนิคม ฝ่ายท้าวอุเทนได้รวบรวมไพร่พลไปเลือกที่ตั้งเมืองบริเวณดงยางหรือบ้านเมืองเก่าปัจจุบันแล้วตั้งเป็นเมืองขึ้น
พ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท้าวอุเทนขึ้นเป็นที่ '''หลวงภักดีเดชะ''' เจ้าเมืองเมืองประจันตคามองค์แรก
หลวงภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ว่าราชการเมืองได้ 2 ปีเศษ เกิดศึกญวนมาตีเมืองพนมเปญซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยามสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) เป็นแม่ทัพยกไปช่วยเมืองพนมเปญและเกณฑ์ไพร่พลเมืองประจันตคาม เมืองพนัสนิคม และเมืองกบินทร์บุรี รวมเป็นกองทัพหน้าส่วนหนึ่งยกไปสู้รบข้าศึกญวน ทำการรบอยู่ประมาณ 3 ปีเศษ จึงขับไล่ข้าศึกญวนถอยไป เจ้าเมืองทั้ง 3 องค์ มีความดีความชอบในราชการทัพมาก เมื่อกลับมาก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นชั้นพระในราชทินนามเดิมทั้ง 3 องค์ ฝ่ายเจ้าเมืองประจันตคามได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นที่ '''พระภักดีเดชะ''' ต่อมาประมาณ 1 ปี ข้าศึกหวนกลับมาตีเมืองพนมเปญอีก เจ้าเมืองฝ่ายตะวันออกได้รับใบบอกและโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ไพร่พลไปช่วยรบ พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) นำกำลังพลชาวเมืองประจันตคามเข้ากองทัพร่วมกับเจ้าเมืองกบินทร์ ส่วนเจ้าเมืองพนัสนิคมอันเป็นหัวเมืองชายทะเลนัยว่าถูกเกณฑ์เข้าประจำกองทัพเรือในกรุงเทพมหานคร ราชการทัพครั้งนี้พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) เสียทีแก่ข้าศึกสิ้นชีพิตักษัยในที่รบเยี่ยงวีรบุรุษ รวมเวลาปกครองเมืองประจันตคาม 6 ปี และเป็นต้นตระกูล '''เดชสุภา''' แห่งอำเภอประจันตคามในปัจจุบัน
ขณะนั้นเจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์) แม่ทัพ เห็นว่าบุตรพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) มีอายุยังเยาว์ไม่สามารถว่าราชการเมืองได้ จึงแต่งตั้งท้าวอินทร์บุตรพี่สาวพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) ซึ่งขณะนั้นเป็นที่หลวงศักดาสำแดงยกกระบัตรเมืองประจันตคาม ขึ้นรั้งตำแหน่งเจ้าเมือง ให้ท้าวคำน้องท้าวอินทร์ ซึ่งขณะนั้นเป็นที่ขุนอรัญไพรศรี รั้งตำแหน่งปลัดเมือง ควบคุมไพร่พลเมืองประจันตคามทำการรบต่อไป ราชการทัพครั้งที่ 2 รบนานประมาณ 6 ปี จึงมีชัยต่อข้าศึกญวน เมื่อเสร็จศึกหลวงศักดาสำแดง (ท้าวอินทร์) ผู้รั้งตำแหน่งเจ้าเมืองประจันตคามรับบำเหน็จความชอบในที่รบ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระภักดีเดชะเจ้าเมืองประจันตคามองค์ที่ 2 ฝ่ายขุนอรัญไพรศรี (ท้าวคำ) ผู้น้องเจ้าเมืององค์ใหม่ได้เป็นที่หลวงสุรฤทธาปลัดเมือง ส่วนท้าวโทบุตรเจ้าเมืององค์แรก มีอายุและความสามารถพอจะรับราชการได้จึงได้รับบำเหน็จตกทอดจากบิดาเป็นที่ขุนอรัญไพรศรี ต่อมาได้เลื่อนเป็นที่หลวงศักดาสำแดงยกกระบัตร พร้อมกับท้าวสุวรรณบุตรท้าวสุโทหลานพี่สาวท้าวอุเทนได้เป็นที่หลวงศรีวิเศษผู้ช่วยราชการขวา
 
พระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) เจ้าเมืององค์ที่ 2 ว่าราชการเมืองนาน 44 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย หลวงสุรฤทธา (ท้าวคำ) ปลัดเมือง น้องชายเจ้าเมืององค์ที่ 2 เลื่อนเป็นที่พระภักดีเดชะเจ้าเมืององค์ที่ 3 หลวงศักดาสำแดง (ท้าวโท) เป็นที่หลวงสุรฤทธาปลัดเมือง พระภักดีเดชะ (ท้าวคำ) เมื่ออายุมากแล้วว่าราชการอยู่ได้ 6 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย หลวงศรีวิเศษ (ท้าวสุวรรณ) ผู้ช่วยราชการขวา ได้เป็นพระภักดีเดชะเจ้าเมืองประจันตคามองค์ที่ 4 ฝ่ายหลวงสุรฤทธา (ท้าวโท) ปลัดเมือง บุตรพระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) เจ้าเมืององค์แรกเกิดโรคเป็นง่อยไม่สามารถรับราชการได้แล้วขอลาออก จึงให้ท้าวพรหมาขุนคลังบุตรท่านแรกของเจ้าเมืององค์เดิมขึ้นเป็นหลวงสุรฤทธาปลัดเมืองแทน พระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ) ว่าราชการ 13 ปี ก็สิ้นชีพตักษัย ต่อมาในสมัยรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) แห่งราชวงศ์จักรี กำลังทรงดำริปฏิรูปการปกครองหัวเมือง ทรงยุบหัวเมืองเล็ก เช่น เมืองประจันตคาม เมืองกบินทร์บุรี ฯลฯ ลงเป็นอำเภอ จึงยังไม่แต่งตั้งเจ้าเมือง แต่ให้หลวงสุรฤทธา (ท้าวท้าวพรหมา) ปลัดเมืองรั้งราชการ 3 ปี ก็ถึงคราวยุบเมืองประจันตคามลงเป็นอำเภอเรียกว่า อำเภอประจันตคาม ใน พ.ศ. 2448 รวมระยะเวลาตั้งเป็นเมืองประจันตคามได้ 72 ปี
 
'''เมืองประจันตคามมีเจ้าเมืองปกครองตามลำดับ 4 ท่าน ดังนี้'''
 
# พระภักดีเดชะ (ท้าวอุเทน) เป็นเจ้าเมือง 6 ปี
# พระภักดีเดชะ (ท้าวอินทร์) บุตรพี่สาวท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมือง 44 ปี
# พระภักดีเดชะ (ท้าวคำ) บุตรพี่สาวท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมือง 6 ปี
# พระภักดีเดชะ (ท้าวสุวรรณ) หลานท้าวอุเทนเป็นเจ้าเมืองอยู่ 13 ปี <ref>เขียนและพิมพ์โดยนายสามหมาย ฉัตรทอง</ref>
 
== รายพระนามและนามผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอประจันตคาม ==
 
ในสมัยรัชการพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ได้ริเริ่มให้มีการจัดรูปการปกครองส่วนภูมิภาคแบบยุโรป ในรูปมณฑลเทศาภิบาลขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๑ โดยมีหน่วยการปกครองเรียงลำดับ จากใหญ่ไปหาเล็ก ดังนี้
มณฑล – เมือง (จังหวัด) – อำเภอ – ตำบล – หมู่บ้าน
 
'''เมืองประจันตคาม หัวเมืองจัตวาได้ถูกยุบเป็นอำเภอในปี พ.ศ. ๒๔๔๘ แล้วจึงเริ่มมีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอตามลำดับดังนี้'''
 
# หลวงภักดีเดชะ (เยื้อน บุณยสมิต) ๑๙ ต.ค.๒๔๔๙ – ๑ ส.ค.๒๔๕๑
# หลวงนิกรบริรักษ์ (แปลก) ๒๙ ส.ค.๒๔๕๑ – ๑๐ มิ.ย.๒๔๕๒
# ขุนบุพราษฎร์อำรุง (แปลก ทัศนียากร) ๑๐ มิ,ย.๒๔๕๒ – ๑ พ.ย.๒๔๕๖
# หม่อมเจ้าธงชัย ศิริพันธ์ ๑ พ.ย.๒๔๕๖ –๘ พ,ย.๒๔๕๘
# ร.อ.อ.หลวงอุไรไทยธุราการ (ชื่น ทังสุนันท์) ๘ พ.ย. ๒๔๕๘ – ๑ ต.ค.๒๔๕๙
# ร.ต.อ.ขุนประจำจันทะเขตต์ (ชาตรี หิรัญชาตรี) ๑ ต.ค.๒๔๕๙ – ๑๔ ส.ค.๒๔๖๒
# ขุนสรรค์ประสาสน์ (โต๊ะ วิเศษสุวรรณ) ๑ ก.ย.๒๔๖๒ – ๑๗ พ.ย.๒๔๖๕
# ร.อ.ต. สวัสดิ์ พักเกษตริน ๑๗ พ.ย.๒๔๖๕ – ๒๒ พ.ย. ๒๔๖๖
# ร.ต.อ.บรรจง ทองสวัสดิ์ ๗ ต.ค.๒๔๖๗ – ๒ ก.ค.๒๔๗๐
# ร.ต.อ.ขุนเกษมวิสัยการ (แฉล้ม ณ นคร) ๒ ก.ค.๒๔๗๐ – ๖ ก.ค.๒๔๗๒
# ร.อ.อ.หลวงสารักษ์สุรการ (พฤติ เตชะคุปต์) ๖ ก.ย.๒๔๗๒ – ๑๐ มิ.ย.๒๔๗๔
# ร.อ.อ.หลวงโยธีพิทักษ์ (โปร่ง สาทิศกุล) ๑๐ มิ.ย.๒๔๗๔ – ๒๒ มี.ค.๒๔๗๖
# ขุนจัยสรสิทธิ์ (ทองอยู่ จัยสิทธิ์) ๒๔ ม.ค.๒๔๗๖ – ๑ เม.ย.๒๔๘๐
# นายชื้น จารุจินดา ๗ เม.ย.๒๔๘๐ – ๗ เม.ย.๒๔๘๑
# นายเปีย ศิวะบุณ ๗ เม.ย.๒๔๘๑ – ๑ ธ.ค.๒๔๘๒
# นายเฉลิม ยุชานนท์ ๑ ธ.ค.๒๔๘๒ – ๑ มิ.ย.๒๔๘๔
# นายชัยชาญ (เสนาะ) ยุวบูรณ์ ๑ มิ.ย.๒๔๘๔ – ๓๐ ก.ค.๒๔๘๔
# นายเสถียร กู้ประเสริฐ ๑ ส.ค.๒๔๘๔ – ๑ มิ.ย.๒๔๘๕
# นายบำรุง นิมนาทนนท์ ๑ มิ.ย.๒๔๘๕ – ๓ ก.ย.๒๔๘๕
# นายละเมียด หงส์ประภาส ๔ ก.ย.๒๔๘๕ – ๓๐ พ.ย.๒๔๘๖
# นายประสิทธิ์ สงวนน้อย ๑ ธ.ค.๒๔๘๖ – ๑๓ ก.ย.๒๔๙๑
# นายประทีป รามสูตร ๑๓ ก.ย.๒๔๙๑ – ๑ ก.ค.๒๔๙๕
# นายอำนาจ เปรมบุตร ๑ ส.ค.๒๔๙๕ – ๑ มิ.ย.๒๔๙๖
# นายประเวศ วิริยารมภ์ ๑๔ ก.ค.๒๔๙๖ – ๑๖ ก.ค.๒๕๐๐
# นายผดุง พงศ์สิฏานนท์ ๒๖ ส.ค.๒๕๐๐ – ๑๗ มิ.ย.๒๕๐๙
# นายพิเชษฎ์ ฤดีชื่น ๕ ก.ค.๒๕๐๙ – ๑ มิ.ย.๒๕๑๔
# นายประภัสสร์ มัณฑุสินธุ์ ๑ ก.ค.๒๕๑๔ – ๑๘ ก.ค.๒๕๑๖
# นายชาญ กุยยกานนท์ ๑๘ ก.ค.๒๕๑๖ – ๘ ม.ค.๒๕๑๙
# นายปรีชา รักษ์คิด ๑๐ ม.ค.๒๕๑๙ – ๑๓ ก.ค.๒๕๑๙
# นายกวี เทศสวัสดิ์ ๑๔ ก.ค.๒๕๑๙ – ๒๔ พ.ย.๒๕๒๒
# ร้อยเอก ประจักษ์ มาสุวัตร ๔ ธ.ค.๒๕๒๒ – ๑๑ ม.ค.๒๕๒๓
# นายวิทยา อุยะเสถียร๑๒ พ.ค.๒๕๒๓ – ๒๐ ส.ค.๒๕๒๓
# นายจำลอง เทพบรรยง ๓๐ ส.ค.๒๕๒๓ – ๗ ก.ค.๒๕๒๕
# นายสุนทร มากบุญ ๑๒ ก.ค.๒๕๒๕ – ๖ ต.ค.๒๕๒๙
# นายสมหมาย ฉัตรทอง ๖ ต.ค.๒๕๒๙ – ๒ ธ.ค.๒๕๓๑
# นายวิจิตร โสดานิล ๒ ธ.ค.๒๕๓๑ – ๒ ก.ค.๒๕๓๓
# นายวันชัย ฤกษ์อร่าม ๒ ก.ค.๒๕๓๓ – ๑๕ ม.ค.๒๕๓๗
# นายวิฑูรย์ นาคะเสถียร ๑๗ ม.ค.๒๕๓๗ – ๑ พ.ย.๒๕๔๑
# นายช่วงชัย เปาอินทร์ ๒ พ.ย.๒๔๔๑ – ๒๐ พ.ย.๒๕๔๓
# นายประจักษ์จิตต์ อภิวาท ๒๐ พ.ย.๒๔๔๓ – ๑ พ.ย.๒๔๔๗
# นายวิรัต อสัมภินานนท์ ๑ พ.ย.๒๔๔๗ – ๒๔ ม.ค.๒๕๕๓
# นายวิทยา สโรบล ๒๒ ก.พ.๒๕๕๓ – ๑๗ พ.คง๒๕๕๔
# นายธวัฒน์ชัย ม่วงทอง ๑๘ พ.ค.๒๕๕๔ – ๓๐ ก.ย.๒๕๕๗
# นายพิพิธ ภาระบุญ ๒๖ ม.ค.๒๕๕๘ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๕๙
# นายปิยะพันธ์ นาคะเสถียร ๗ ค.ค. ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน
== ที่ตั้งและอาณาเขต ==
อำเภอประจันตคาม ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดการบ้านเมืองทุกสิ่ง...ได้ยกบ้านขึ้นเป็นเมืองก็หลายตำบลเมืองมหาดไทย บ้านกบแจะยกขึ้นเป็นเมืองประจันตคาม ตคามปัจจุบันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
* '''ทิศเหนือ''' ติดต่อกับ[[อำเภอปากช่อง]]และ[[อำเภอวังน้ำเขียว]] ([[จังหวัดนครราชสีมา]])
* '''ทิศตะวันออก''' ติดต่อกับ[[อำเภอนาดี]]และ[[อำเภอกบินทร์บุรี]]