ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Helmy oved (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40:
หลังจากความระส่ำระสายของ[[ราชวงศ์กอญัร]] เปอร์เซียได้ตกอยู่ภายใต้ของมหาอำนาจต่างประเทศ โดยเฉพาะรัสเซียและอังกฤษ<ref name="กัง"/> ตั้งแต่ในรัชสมัยของ[[พระเจ้าชาห์ฟัฎอาลี กอญัร|ฟัฏอาลี ชาห์]] ชาห์องค์ที่สองแห่งราชวงศ์กอญัร ได้ทำสงครามกับรัสเซียถึง 2 ครั้ง และต้องเสียดินแดนแถบเทือกเขาคอเคซัสทั้งหมด<ref name="Hermitage">{{cite web|url=http://www.arthermitage.org/Painting/Battle-Between-Persians-and-Russians.html|title=Battle Between Persians and Russians|publisher=State Hermitage Museum|accessdate=2009-09-19}}</ref> แม้แต่ประเทศอังกฤษมีผลประโยชน์จำนวนมากในเปอร์เซียอย่างการขุดเจาะน้ำมันที่ขุดพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 วัฒนธรรมตะวันตกได้หลั่งไหลเข้าสู่ประเทศจำนวนมาก<ref name="กัง">จักรพันธุ์ กังวาฬ และคนอื่นๆ. หน้า 17</ref> ช่วง[[สงครามโลกครั้งที่ 1]] ([[ค.ศ. 1914]] - [[ค.ศ. 1918|1918]]) เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของเปอร์เซีย เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจของมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศ ทั้ง[[รัสเซีย]], [[อังกฤษ]], [[ออตโตมัน]], [[เยอรมัน]] และ[[สหรัฐอเมริกา]] ทำให้เกิดกระแสต่อต้านที่กว้างขวางของประชาชนชาวเปอร์เซีย เพื่อปกป้องผลประโยชน์และเอกราชของประเทศ<ref name="กัง"/>
 
[[ไฟล์:Mrp1939Mohammad Reza Pahlavi Entering a Military School, Tehran 1938.jpg|thumb|right|150px|พระองค์ขณะดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมาร และศึกษาในโรงเรียนทหารเตหะราน]]
ท่ามกลางความระส่ำระสายทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน จนเมื่อวันที่ [[21 กุมภาพันธ์]] [[ค.ศ. 1921]] [[พระเจ้าชาห์เรซา ปาห์ลาวี|เรซา ข่าน]] ผู้บัญชาการกองพันน้อยคอสแซคได้นำกองทัพบุกเข้าเมืองหลวงได้ยึดอำนาจและทำการ[[รัฐประหาร]]<ref name="กัง"/> หลังการรัฐประหาร[[พระเจ้าชาห์อะหมัด กอญัร|พระเจ้าอะหมัด ชาห์]] กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์กอญัรได้แต่งตั้งนายตะบาตะบาอี เป็นนายกรัฐมนตรี และเรซา ข่าน เป็นนายกรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม<ref name="กัง"/>