ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สารประกอบอินทรีย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
แทนที่เนื้อหาด้วย "thumb|right|150px|[[มีเทนเป็นหนึ่งในสารประกอบอิ..."
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Methane-2D-stereo.svg|thumb|right|150px|[[มีเทน]]เป็นหนึ่งในสารประกอบอินทรีย์ที่เรียบง่ายที่สุด]]
*
'''สารประกอบอินทรีย์''' หมายถึง สารประกอบเคมีที่อยู่ในสถานะใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือแก๊ส ที่ประกอบด้วยโมเลกุล[[คาร์บอน]] ยกเว้นสารประกอบบางชนิดที่ไม่จัดว่าเป็นสารประกอบอินทรีย์แม้ว่าจะมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบก็ตาม ตัวอย่างเช่น สารประกอบ[[คาร์ไบน์]], [[คาร์บอเนต]], [[ออกไซด์]]ของคาร์บอนและ[[ไซยาไนด์]] เช่นเดียวกับ[[อัญรูป]]ของคาร์บอน อย่างเช่น [[เพชร]]และ[[แกรไฟต์]] ซึ่งถูกจัดเป็นสารประกอบอนินทรีย์ ความแตกต่างระหว่างสารประกอบคาร์บอนที่เป็นสารประกอบ "อินทรีย์" และ "อนินทรีย์" นั้น ถึงแม้ว่า "จะมีประโยชน์ในการจัดระเบียบวิชา[[เคมี]]อย่างกว้างขวาง... แต่ก็ค่อนข้างไร้เหตุผลอยู่เหมือนกัน"<ref name="text">[[Spencer L. Seager]], Michael R. Slabaugh. ''Chemistry for Today: general, organic, and [[biochemistry]]''. Thomson Brooks/Cole, '''2004''', p. 342. ISBN 0-534-39969-X</ref>
 
[[เคมีอินทรีย์]]เป็นแขนงหนึ่งของ[[วิทยาศาสตร์]]ที่ว่าด้วยทุกแง่มุมของสารประกอบอินทรีย์
 
== ประวัติ ==
แต่เดิม[[การเล่นแร่แปรธาตุ|นักเล่นแร่แปรธาตุ]]ในอดีตและนักวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมาเคยจัดให้สารที่มาจากสิ่งมีชีวิตเป็นสารอินทรีย์ แต่ต่อมา[[ฟรีดริช เวอเลอร์]]สามารถ[[การสังเคราะห์เวอเลอร์|สังเคราะห์ยูเรีย]]ขึ้นจากเกลืออนินทรีย์[[โพแทสเซียมไซยาเนต]]และ[[แอมโมเนียมซัลเฟต]]ได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1828 เดิม[[ยูเรีย]]เคยถูกจัดให้เป็นสารประกอบอินทรีย์ เนื่องจากมันเป็นที่รู้จักกันว่าเกิดขึ้นเฉพาะในปัสสาวะของสิ่งมีชีวิต การทดลองของเวอเลอร์นั้นติดตามมาด้วยเกตสังเคราะห์สารอินทรีย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากสารอินทรีย์ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตใด ๆ
 
ปัจจุบันยังไม่มีการจำกัดเป็นกาก หนังสือเรียนบางเล่มจำกัดความไว้ว่าจะต้องเป็นสารที่มีพันธะ C-H หนึ่งตำแหน่งหรือมากกว่า ส่วนบางเล่มจำกัดความว่า สารประกอบอินทรีย์ทุกชนิดมีพันธะ C-C<ref>{{cite journal
| author = S. A. Benner, K. G. Devine, L. N. Matveeva, D. H. Powell
| year = 2000
| title = The missing organic molecules on Mars
| journal = [[Proceedings of the National Academy of Sciences]]
| volume = 97
| issue = 6
| pages = 2425–2430
| doi = 10.1073/pnas.040539497
| pmid = 10706606
| pmc = 15945
}}</ref> ส่วนหนังสือเล่มอื่นกล่าวว่าหากโมเลกุลของสารใดมีคาร์บอน สารนั้นจะเป็นสารอินทรีย์<ref>Robert T. Morrison, Robert N. Boyd, and Robert K. Boyd, Organic Chemistry, 6th edition (Benjamin Cummings, 1992, ISBN 0-13-643669-2</ref>
 
ออกไซด์อย่างง่ายของคาร์บอนกับไซยาไนต์ เช่นเดียวกับอัญรูปของคาร์บอนและเฮไลด์คาร์บอนอย่างง่ายและซัลไฟต์ ซึ่งมักจะถูกจัดให้เป็นสารอนินทรีย์
 
กล่าวโดยสรุป คือ สารประกอบคาร์บอนส่วนใหญ่เป็นสารอินทรีย์และสารประกอบส่วนใหญ่ที่มีพันธะ C-H เป็นสารอินทรีย์เช่นกัน แต่ไม่จำเป็นว่าสารประกอบอินทรีย์จะต้องมีพันธะ C-H เสมอไป อย่างเช่น ยูเรีย
 
== การจำแนกประเภท ==
สารประกอบอินทรีย์สามารถจำแนกได้หลายวิธี การจำแนกแบบหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ สารประกอบธรรมชาติกับสารประกอบสังเคราะห์ สารประกอบอินทรีย์ยังสามารถจำแนกประเภทหรือแยกย่อยจากการมีเฮเทโรอะตอม นั่นคือ สารประกอบโลหะอินทรีย์ ซึ่งมีพันธะระหว่างคาร์บอนกับโลหะและสารประกอบฟอสฟอรัสอินทรีย์ ซึ่งมีพันธะระหว่างคาร์บอนกับฟอสฟอรัส
 
การจำแนกประเภทอีกแบบหนึ่งนั้น แบ่งตามขนาดของสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งใช้แยกระหว่างโมเลกุลเล็กกับ[[พอลิเมอร์]]
 
=== สารประกอบธรรมชาติ ===
[[สารประกอบธรรมชาติ]] หมายความถึง สารประกอบที่ผลิตขึ้นจากพืชหรือสัตว์ สารประกอบจำนวนมากยังคงถูกสกัดจากแหล่งธรรมชาติ เนื่องจากสารประกอบเหล่านี้จะแพงกว่ามากหากผลิตขึ้นโดยมนุษย์ ตัวอย่างเช่น น้ำตาลส่วนใหญ่ อัลคาลอยด์และเทอร์ปินอยด์บางชนิด สารอาหารบางชนิด เช่น [[วิตามินบี12]] และโดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติเหล่านี้ที่มีโมเลกุลซับซ้อนขนาดใหญ่มักจะพบในความเข้มข้นพอสมควรในสิ่งมีชวิต
สารประกอบอื่นที่มีความสำคัญอย่างยิ่งใน[[ชีวโมเลกุล]] คือ [[แอนติเจน]], [[คาร์โบไฮเดรต]], [[เอ็นไซม์]], [[ฮอร์โมน]], [[ลิพิต]]และ[[กรดไขมัน]], [[สารสื่อประสาท]], [[กรดนิวคลีอิก]], [[โปรตีน]], [[เพปไทด์]]และ[[กรดอะมิโน]], [[เลกติน]], [[วิตามิน]]และ[[ไขมัน|ไขมันและน้ำมัน]]
 
=== สารประกอบสังเคราะห์ ===
สารประกอบที่ถูกจัดเตรียมขึ้นโดยการทำปฏิกิริยากับสารประกอบอื่นจะถูกเรียกว่า "สารประกอบสังเคราะห์" สารประกอบเหล่านี้อาจเป็นสารประกอบที่พบอยู่แล้วในพืชหรือสัตว์ (สารประกอบกึ่งสังเคราะห์) หรือสารที่ไม่พบตามธรรมชาติก็ได้ พอลิเมอร์ส่วนใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงพลาสติกและยาง เป็นสารประกอบอินทรีย์สังเคราะห์หรือกึ่งสังเคราะห์
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.colby.edu/chemistry/cmp/cmp.html Organic Compounds Database] {{en icon}}
 
[[หมวดหมู่:สารประกอบอินทรีย์| ]]