ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสแควร์วัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
DMS WIKI (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
 
==ประวัติ==
ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินผืนเดิมของโรงภาพยนตร์สยามที่ได้รับความเสียหายจาก[[การสลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ พฤษภาคม พ.ศ. 2553|เหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์]] เมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับสัญญาเช่าที่ดินของโรงภาพยนตร์สยามหมดลง สำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงไม่ขอต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิม และนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ความสูง 8 ชั้นแทน โดยมีสำนักงานสถาปนิกกรุงเทพ (OBA) เป็นสถาปนิกหลักของโครงการ ร่วมกับคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมิตร โอบายะวาทย์
 
ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้รับการออกแบบเป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 อาคารวางขนานกัน เว้นพื้นที่เปิดตรงกลางเป็นทางลาดยาว จากชั้น 3 ลงไปชั้น 1 และมีทางเดินเชื่อมถึงกันระหว่างอาคารวางตลอดโครงการ ซึ่งศูนย์การค้าแห่งนี้เปิดทำการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 แต่หลังจากเปิดทำการได้ไม่กี่วันกลับ ก็มีเสียงติวิจารณ์ในทางลบมากเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระบายอากาศภายในโครงการ การจัดการกับฝน การวางผังการสัญจรภายในโครงการที่บังคับให้เดินเป็นวงกลม ซึ่งขัดกับความต้องการของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถึงปัญหาใหญ่ที่สุดคือการระบบบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียของโครงการ จนเป็นเหตุให้เกิดก๊าซไข่เน่า ([[ไฮโดรเจนซัลไฟด์]]) ขึ้นภายในบริเวณชั้น B และ LG ซึ่งเป็นพื้นที่แบบปิด ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้เช่าในพื้นที่ และทำให้สินค้าของร้านค้าเช่าบางรายเกิดความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งภายหลังสำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศปิดปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลาสองเดือนเพื่อจัดการกับระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งเสียหายหลังเปิดให้บริการ และวางท่อระบายอากาศ เพื่อลดความชื้นและระบายก๊าซที่เกิดขึ้นออกจากโครงการ ปัญหานี้ทำให้ผู้เช่าร้านค้าบอกเลิกสัญญาและทำให้สูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก ก่อนจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557{{อ้างอิง}}
 
== การจัดสรรพื้นที่ ==
บรรทัด 24:
* [[เฮลโลคิตตี|เฮลโลคิตตี คาเฟ่]]
* เดอะ สไตล์ บาย [[โตโยต้า]]
* อีฟแอนด์บอย ดิ อันเดอร์กราวนด์
* เลเซอร์ สไตรค์
* นารายา และลาลามา โดย นารายา
* [[เคแบงก์สยามพิฆเนศ|โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ]]
* สวนเกษตรลอยฟ้าสยามกรีนสกาย
นอกจากนี้ยังมีลานกิจกรรมฮอไรซอนฮอลล์ (ในอาคาร) ฟลอราฮอลล์ (นอกอาคารฝั่งสยามสแควร์ซอย 7) และซีโลฮอลล์ ทางเชื่อมไปยัง[[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|รถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[สถานีสยาม]]