ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาแอฟริกันไทเกอร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
เป็นปลากินเนื้อทั้งหมด มีรูปร่างโดยรวมคือ ลำตัวเพรียวยาวเหมือน[[ตอร์ปิโด]] เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีเงินแวววาว และที่ชิ้นเกล็ดจะมีจุดสีเข้ม ทำให้เห็นเป็นลายพาดตามยาวไปตามแนวข้างลำตัวเหนือ[[เส้นข้างลำตัว]] ทำให้มองดูคล้ายลายของ[[เสือลายพาดกลอน]] อันเป็นที่มาของชื่อ นอกจากแถบดังกล่าวแล้วส่วนที่ไม่ใช่แถบจะมีสีออกสีเงิน, สีขาว และสีเทา ขณะที่บางตัวอาจมีเหลือบสีฟ้า, สีเขียว, สีส้ม หรือสีเหลืองอ่อนผสมอยู่ด้วย ปลาในสกุลนี้จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ทั้งหมด ครีบหลังจะอยู่ในระดับเดียวกับ ครีบท้องอาจจะอยู่ข้างหน้าเล็กน้อย ภายในปากมีฟันหนึ่งชุดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนและเป็นจุดเด่น ซึ่งฟันแต่ละซี่ตั้งอยู่ในเบ้า ระหว่างฟันซี่อื่น ๆ บนขากรรไกร และจะแลเห็นได้ตลอดเวลาแม้แต่เมื่อปิดปากสนิท ขากรรไกรมีความแข็งแรงและทรงพลังมาก อีกทั้งสามารถยืดขยายได้กว้างเพราะมีจุดยึดกับมุมปากอยู่ถึงสองจุด ตาจะถูกคลุมโดยเปลือกตาเกือบทั้งหมด ครีบหางเว้าลึกเป็นสองแฉก
 
พบในลุ่ม[[แม่น้ำคองโก]] ซึ่งเป็นแม่น้ำที่ไหลเชี่ยวมากใน[[แอฟริกากลาง|ทวีปแอฟริกาตอนกลาง]] เป็นปลาล่าเหยื่อที่ล่าได้อย่างรวดเร็ว ดุดัน ไม่แพ้[[ปลาปิรันยา]]ในลุ่ม[[แม่น้ำอเมซอน]] ใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] แต่ไม่นิยมล่ารวมเป็นฝูง เป็นปลาที่กินพวกเดียวกันเองเป็นอาหาร <ref>สุดยอดสารคดีสุดสัปดาห์, "มนต์เสน่ห์สวรรค์บนดิน (TRAVELOGUE EARTH)" ทางช่อง 7: อาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม 2560</ref> และเคยมีรายงานว่าทำร้ายมนุษย์ได้อีกด้วย โดยที่ชาวพื้นเมืองแอฟริกาได้เรียกปลาสกุลนี้ใน[[ภาษาลิงกาลา]]ว่า '''เอ็มเบ็งกะ''' (Mbenga) หรือ '''อิงเกวส''' (Ndweshi)<ref>Pack of Teeth, "River Monsters" ทางดิสคัพเวอรีแชนแนล, สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 29 ธันวาคม 2555</ref> และมีความเชื่อว่าการที่มันล่าและทำร้ายมนุษย์เพราะมีวิญญาณที่ชั่วร้ายสิงสถิตอยู่<ref>[{{cite web|url=http://www.youtube.com/watch?v=k9vUW0z5PRs |title=''River Monsters - Demon Fish'' by|work= [[Animal Planet]]]}}</ref>
 
มีทั้งหมด 5 ชนิด โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ''[[ปลาไทเกอร์โกไลแอต|H. goliath]]'' ที่มีความยาวที่สุดได้ถึง 6 [[ฟุต]] และมีน้ำหนักถึง 100 [[ปอนด์ (หน่วยมวล)|ปอนด์]]<ref>[{{cite web|url=http://www.angelfire.com/biz/piranha038/hydrocynus.html|title= AFRICAN TIGER FISH genus ''Hydrocynus'']|work=angelfire}}</ref>
 
*''[[Hydrocynus brevis|H. brevis]]'' <small>([[Albert Günther|Günther]], [[ค.ศ. 1864|1864]]) </small>