ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกียวกูองโฮโซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8:
 
เพื่อบรรเทาความสับสนที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในตอนสรุปของพระราชดำรัส ผู้ประกาศวิทยุได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าพระราชดำรัสของสมเด็จพระจักรพรรดิหมายความว่าญี่ปุ่นกำลังจะยอมจำนน ตามข้อมูลของนักหนังสือพิมพ์ชาวฝรั่งเศส โรเบิร์ต กิลเลน ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในโตเกียว ณ ขณะนั้น หลังจากผู้ประกาศได้สรุปพระราชดำรัสแล้ว ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากได้กลับไปยังบ้านหรือสำนักงานธุรกิจของตนเองเป็นเวลาหลายชั่วโมงเพื่อที่จะซึมซับและไตร่ตรองความสำคัญของประกาศนั้นอย่างเงียบ ๆ<ref>Guillain, Robert, ''I Saw Tokyo Burning: An Eyewitness Narrative from Pearl Harbor to Hiroshima'', Jove Publications, 1982.</ref>
 
หลังการออกอากาศบันทึกพระสุรเสียงทรงมีพระราชดำรัสดังกล่าว แผ่นบันทึกเสียงที่ใช้ในการออกอากาศได้สูญหายไปท่ามกลางความโกลาหลหลังการประกาศยอมจำนน แต่ช่างเทคนิคคนหนึ่งของสถานีวิทยุได้แอบทำสำเนาไว้อย่างลับ ซึ่งต่อมาได้ถูกส่งมอบให้หน่วยงานของฝ่ายผู้ยึดครองญี่ปุ่น และเป็นต้นฉบับของสำเนาเสียงที่ปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้<ref>2007年(平成19年)9月18日放送 『鶴瓶のニッポン武勇伝 言わずに死ねるかっ!!我が家のスゴイ人GP』</ref>
 
== ใจความสำคัญ ==