ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติทางวัฒนธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 29:
ประชากรจีนจำนวนหลายล้านคนถูกเบียดเบียน ในการต่อสู้อย่างรุนแรง ระหว่างกลุ่มลัทธิแก้ และกลุ่มปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศ อันทำให้เกิดการละเมิดหลายรูปแบบ รวมถึงการประจานในที่สาธารณะ การกักขังตามอำเภอใจ การทรมาน การก่อกวนอยู่เนือง ๆ และการยึดทรัพย์สินของชาวบ้าน หลายภาคส่วนถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน ส่วนวัตถุมงคลและสิ่งประดิษฐ์ทางประวัติศาสตร์จีนถูกทำลาย สถานที่ทางวัฒนธรรมและศาสนาถูกปล้นพร้อมกับทำให้เสียหาย
 
ประธานเหมาประกาศให้การปฏิวัติทางวัฒนธรรมสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการในปี 2512 แต่ยังมีผลดำเนินไปกระทั่ง [[หลินเปียว]] ตายในปี 2514 หลังเหมาถึงแก่อสัญกรรมและการจับกุม[[แก๊งออฟโฟร์]]ในปี 2519 ทำให้คณะปฏิรูปการปกครอง นำโดย เติ้งเสี่ยวผิง ยุติการปฏิวัติของเหมาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติทางวัฒนธรรมอย่างเด็ดขาด ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2524 คณะกรรมาธิการกลางประกาศคำตัดสินอย่างเป็นทางการ ดังนี้ " 'การปฏิวัติทางวัฒนธรรม' ซึ่งดำเนินตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2509 ถึงเดือนตุลาคม 2519 เป็นสาเหตุของการเสื่อมอย่างรุนแรงที่สุดและเป็นการสูญเสียอย่างหนักที่สุดที่พรรค รัฐและประชาชนเคยประสบมาแล้ว ตั้งแต่มีการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชน"
 
จอมพล เผิงเต๋อไหว นักรบผู้กล้าหาญและขวัญกำลังใจของกองทัพชาวนา ครอบครองแผ่นดินประมาณได้ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศจีนทั้งหมดในสงครามกลางเมือง แต่ถูกลงโทษทางการเมือง ทำให้ถึงแก่อสัญกรรม เพราะ[[เรียงความหมื่นอักษร]]ในช่วงการปฏิวัติวัฒนธรรม<ref>http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2011/04/K10468940/K10468940.html</ref>
บรรทัด 75:
กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจอีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่หันไปแต่งตั้ง หัวกั๊วเฟิง แทน วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคนรวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกโจวเอินไหล ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจัตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุมครั้งนี้ เติ้งถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งทางการเมือง และแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงเป็นรองนายกฯ อันดับหนึ่งแทน
 
กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟังพวกเขาจึงเตรียมที่จะล้มอำนาจการปกครองโดยขบวนการนิสิตนักศึกษาการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่แล้วในวันที่ 6 ตุลาคม หัวกั๊วเฟิง ภายใต้การสนับสนุนของ[[กองทัพปลดปล่อยประชาชน|กองทัพปลดปล่อยปลดแอกประชาชนจีน]]  ก็ชิงลงมือก่อน โดยส่งตำรวจเข้าจับกุมสมาชิกแก๊งสี่คนทั้งหมด การปฏิวัติวัฒนธรรมจึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์
 
== การสิ้นสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ==