ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าปิ๋ว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ผู้ใช้แก้หน้าเปลี่ยนทาง
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 23:
ต่อมาภายหลังในแผ่นดินของ[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 3 ได้ทรงพระกรุณาโปรดตั้งองค์ใหญ่ สถาปนาเป็นเจ้าฟ้าพระราชทานพระนามว่า "อาภรณ์" ตั้งแต่นั้นมาจึงเรียกกันว่า "เจ้าฟ้าอาภรณ์" แต่องค์กลางกับองค์ปิ๋วนั้น ทรงพระกรุณาเรียกว่าเจ้าหนูกลางกับเจ้าหนูปิ๋ว เจ้าฟ้าปิ๋วทรงได้รับพระราชทานโสกันต์เมื่อพ.ศ. 2377 มีการสมโภชที่[[พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท]] มีงานมหรสพ 4 วัน<ref>[http://vajirayana.org/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-%E0%B9%92-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%93/%E0%B9%92-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C ชุมนุมพระบรมราชาธิบาย-ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว-ภาคที่-๒-หมวดราชประเพณีโบราณ/๒-ประเพณีลงสรงโสกันต์]</ref>
 
ต่อมาเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดีทรงฝากพระโอรสองค์กลาง "เจ้าฟ้ากลาง" พระชันษาได้ 10 พรรษากับโอรสองค์น้อย "เจ้าฟ้าปิ๋ว" พระชันษา 7 พรรษา ให้[[สุนทรภู่]]ซึ่งขณะนั้นบวชเป็นพระสอนหนังสือในปี พ.ศ. 2372<ref>[http://www.siamnt.net/sunthonphu_literature/html/sunthonphu_history3.php ประวัติ สุนทรภู่] จาก siamnt</ref> พระสุนทรภู่เริ่มถวายพระอักษร แก่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ จนอ่านออกเขียนได้คล่องแล้ว พระสุนทรภู่จึงได้แต่ภาษิตคำกลอนขึ้นถายเจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2373<ref>[http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=33&chap=1&page=t33-1-infodetail02.html สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๓๓ / เรื่องที่ ๑ สุนทรภู่ / ประวัติชีวิต]</ref> ได้แก่ "เพลงยาวถวายโอวาท" นอกจากนี้เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ยังได้ทรงฝากฝังพระราชโอรสทั้ง 3 พระองค์ให้เป็นศิษย์ของเจ้าฟ้ามงกุฎ ([[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 4) ซึ่งขณะนั้นได้ทรงผนวชอยู่[[วัดบวรนิเวศวิหาร]]อีกด้วย ในรัชกาลที่ 3 นี้ เจ้าฟ้าอาภรณ์ได้เริ่มรับราชการโดยได้ทรงช่วยกำกับกรมพระคชมาล และเจ้าฟ้ากลางได้รับราชการในกรมวัง ส่วนเจ้าฟ้าปิ๋วนั้นยังทรงพระเยาว์จึงไม่ได้ทรงรับราชการแต่อย่างใด
 
เจ้าฟ้าปิ๋วสิ้นพระชนม์เมื่อ ปีชวดโทศก จ.ศ. 1202 ซึ่งตรงกับพ.ศ. 2383 ขณะพระชนมายุได้ 19 พรรษา ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]