ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติทางวัฒนธรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
ต้นทศวรรษ 1960 ฐานะของเหมาในพรรคคอมมิวนิสต์ถูกลดบทบาทลง เขาจึงได้เริ่มรุกกลับในปี 1962 เพื่อ “ปกป้องพรรค” จากในสิ่งที่เขาเชื่อว่าการคืบคลานเข้ามาของทุนนิยม และการต่อต้านสังคมนิยมกำลังเป็นภัยต่อประเทศ ในฐานะนักปฏิวัติที่ผ่านร้อนผ่านหนาวจากสถานการณ์อันเลวร้าย เหมาเชื่อว่าระบบการให้รางวัลแก่ชาวนาตามแนวทางปรับปรุงและฟื้นฟูของเติ้ง เป็นวิธีการฉ้อราษฏร์บังหลวงและเป็นการต่อต้านการปฏิวัติ
 
การต่อสู่ทางความคิดในพรรคนำไปสู่การกวาดล้างพวกที่ถูกเรียกว่า “พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติ” หรือฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดสุดโด่งของเหมา ซึ่งมีตัวแทนคือ [[หลิวซ่าวฉีส้าวฉี]] กับ[[เติ้งเสี่ยวผิง]] เหมากล่าวว่า “ขณะนี้ เพียงมีเนื้อหมูสามกิโลกับบุหรี่ไม่กี่ซอง ก็สามารถทำให้คนขายอุดมการณ์ได้แล้ว จึงมีเพียงการศึกษาแนวทางลัทธิสังคมนิยมเท่านั้น ที่จะยับยั้งลัทธิแก้ได้”
 
โดยต่อมาการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เป็นไปอย่างแพร่หลาย ผู้นำสังคมในยุคนั้นปลูกฝังประชาชนให้ให้ยึดมั่นอย่างเคร่งครัด ใครไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีหน่วยงานสนับสนุนที่สำคัญ คือ พวกกองทัพพิทักษ์แดง ([[ยุวชนแดง|เรดการ์ด]]—Red Guard) หรือก็คือเยาวชนที่ผลิตโดยคอมมูนการเลี้ยงดูนั่นเอง
 
== กลียุคแห่งการปฏิวัติ ==
ปี 1966 คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตัดสินใจแนวทางการปฏิวัติวัฒนธรรม หลังจากที่เหมาเข้าควบคุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จในพรรคได้อีกครั้ง โดยมีผู้สนับสนุนสำคัญคือ จอมพล หลินเปียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ เจียงชิง (ภรรยาของประธานเหมา คนที่สี่ของเหมา ซึ่งเป็นลำดับเลขความหมายไม่ดีในวัฒนธรรมจีน) และเฉินป๋อต๋า การปฏิวัติมีจุดมุ่งหมายเพื่อ “โค่นล้มพวกลัทธิทุนนิยม และวิพากษ์ศิลปวัฒนธรรมที่แบ่งแยกชนชั้น” โดยการปฏิรูปปฏิวัติการศึกษา ปฏิรูปปฏิวัติศิลปวัฒนธรรม และปฏิรูปปฏิวัติทุกอย่างที่ขัดกับแนวทาง [[ลัทธิสังคมนิยมมากซ์]]
 
ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรม คือ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของจีนมาตั้งแต่โบราณต้องถูกทำลาย เช่น โครงกระดูกมนุษย์โบราณ หลุมฝังศพ ป้ายวิญญาณบรรพบุรุษ หนังสือที่เขียนขึ้นไม่ใช่ลัทธิของประธานเหมา วัดวาอารามเครื่องดนตรีโบราณ ศาสนสถาน พระราชวัง กำแพงเมืองจีน รูปปั้นบุคคลที่ประกอบคุณงามความดี งานศิลปะอันประมาณค่ามิได้ต่าง ๆ และทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างครอบครัว เพื่อนบ้าน เพราะไม่สามารถรู้ได้ว่าใครจะเป็นผู้แจ้งให้ทางการรู้เกี่ยวกับละเมิดกฎการปฎิวัติวัฒนธรรม
 
วันที่ 18 สิงหาคม 1966 เหมาเจ๋อตงกับหลิวเปียวได้ปรากฏตัวที่ [[จัตุรัสเทียนอันเหมิน]] พบกับพวกหงเว่ยปิงหรือเรดการ์ด ที่ทยอยมาจากทั่วประเทศจำนวนรวมสิบกว่าล้านคน หลังจากนั้น ทั่วประเทศจีนก็เข้าสู่กลียุค เมื่อพวกเรดการ์ดกระจายไปทั่วสารทิศแจกใบปลิว ติดโปสเตอร์ ป้ายคำขวัญ ตั้งเวทีอภิปราย บางส่วนก็บุกเข้าไปในวัดโบสถ์ พิพิธภัณฑ์สถาน ทำลายวัตถุโบราณ เผางานศิลปะ งานประพันธ์ ตอนหลังก็มีการบุกค้นบ้าน โดยเฉพาะพวกผู้ดีเก่า ปัญญาชน ศิลปินหัวอนุรักษนิยม จะถูกจับแห่ประจาน ทรมาน ตอนหลังแม้แต่พระสงฆ์ แม่ชีและนักบวชก็ไม่เว้น พวกที่มีญาติอยู่ต่างประเทศก็โดนข้อหา “มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ” หลายคนทนรับเหตุการณ์ไม่ได้ก็ถูกทรมานให้ฆ่าตัวตาย
 
ในส่วนของผู้นำในพรรคคอมมิวนิสต์เองก็ใช่ว่าจะได้รับการยกเว้น เติ้งเสี่ยวผิง กับหลิวซ่าวฉีส้าวฉี (ตอนหลังตายในที่คุมขัง) ถูกปลด จอมพล เผิงเต๋อหวาย กับเฮ่อหลง ถูกทรมานจนเสียชีวิตแล้ว ต่อมาวันที่ 22 สิงหาคม ประธานเหมา ประกาศ “ห้ามตำรวจขัดขวางความขบวนการเคลื่อนไหวปฏิวัติของนักศึกษาปฏิวัติ”นิสิตนักศึกษา” และอ้างถึงพลังบริสุทธิ์ของวัยหนุ่มสาว ในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า “แดงสยอง” เฉพาะใน[[ปักกิ่ง]] มีคนถูกฆ่าตายถึง 17001,700 คน และทั่วประเทศมีคนถูกทรมานทางจิตใจอย่างรุนแรงให้ฆ่าตัวตายเอง เพื่อพ้นจากความเจ็บปวดถึง 2 แสนคน จากนั้นวันที่ 5 กันยายน ทางพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศสนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมดสำหรับนักศึกษาและอาจารย์สถาบันการศึกษาที่จะเข้ามาเคลื่อนไหวในปักกิ่ง โดย นายกรัฐมนตรี โจวเอินไหล กระทั่งวันที่ 9 ตุลาคม หลินเปียวกล่าวหาเติ้งเสี่ยวผิงวหา เติ้งเสี่ยวผิง กับ หลิวซ่าวฉีส้าวฉี เป็นตัวแทนของทุนนิยม
 
== อวสานของหลินเปียว 1969-1971 ==
ปี 1969 ในที่ประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 เมื่อวันที่ 1 เมษายน หลิวเปียว ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในอำนาจสูงสุดต่อจากเหมา ในขณะที่หลิวซ่าวฉีถูกโค่น
และโจวเอินไหลถูกลดบทบาทลง ในที่ประชุมสมัชชา หลินเปียวกล่าวสดุดีเหมาด้วยคติพจน์เหมา และสนับสนุนการใช้กองกำลังอาวุธ ประณามหลิวซ่าวฉีเป็นพวกต่อต้านการปฏิวัตปฏิวัติ แก้ไขธรรมนูญ(ข้อบังคับ)พรรค ให้ตนเองเป็นผู้สืบทอดอำนาจของเหมาในอนาคต หลังจากนั้น ชื่อของหลิวเปียวกับเหมาเจ๋อตงมักจะปรากฏคู่กันเสมอในที่ต่าง ๆ ในการคัดเลือกผู้นำพรรคใหม่ในครั้งได้ใหม่ ได้คัดเลือก เหมาเจ๋อตง หลิวเปียว เฉินป๋อต๋า โจวเอินไหล และคังเซิน เป็นสมาชิกถาวรคณะกรรมการกลางพรรค ทั้งสี่ในห้าคนเป็นการได้รักษาตำแหน่งตนเองด้วยผลพวงของการปฏิวัติวัฒนธรรม ขณะที่โจวเอินไหลเป็นเพียงคงสถานะตนเอง
 
หลังจากได้รับการยืนยันที่จะได้รับเป็นผู้สืบทอดของเหมา หลิวเปียวจึงขอฟื้นฟูตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ หลังจากที่เหมาได้ยกเลิกไป โดยหลินเปียวมุ่งหวังที่จะเข้ารับรองประธาน โดยมีเหมาเจ๋อตงเป็นประธาน
 
วันที่ 23 สิงหาคม 1970 การประชุมเต็มคณะครั้งที่สองของสมัชชาพรรคครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้นที่หลูซานอีกครั้งหนึ่ง เฉินป๋อต๋า เป็นคนแรกที่ขึ้นกล่าวในที่ประชุม เขาได้กล่าวยกย่องสดุดีเหมาเสียเลิศเลอและตามด้วยการขอฟื้นตำแหน่งประธานประเทศขึ้นมาใหม่ เหมารู้ถึงเบื้องลึกของเฉิน จากนั้นไม่นานเฉินก็ถูกปลดออกจากคณะกรรมการกลางของพรรค และเรื่องนี้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ทั่วประเทศ และเฉินก็ทำให้ เฉินป๋อต๋า กลายเป็นพวกตัวแทนของหลิวซ่าวฉีส้าวฉี ซึ่งเป็นมาร์กซิสจอมปลอมและพวกปลิ้นปล้อนหลอกลวงทางการเมือง
 
การปลดเฉินออกถือเป็นสัญญาณเตือนหลินเปียว แต่หลิวเปียวก็ไม่หยุดที่เรียกร้องให้แต่งตั้งตำแหน่งประธานประเทศ ทางรัฐบาลกลางได้ชี้ให้เหมาเห็นถึงความทะเยอทะยานของหลิวเปียวที่จะขจัดเหมาออกจากอำนาจ การขอเป็นรองประธานก็เพื่อให้เขามีความชอบธรรมที่จะได้ขึ้นเป็นประธานเมื่อเหมาถึงแก่อสัญกรรม
 
เมื่อแผนการล้มเหลว หลินเปียวจึงคิดจะยึดอำนาจด้วยการใช้กำลัง เนื่องจากอำนาจในพรรคของเขานับว่ายิ่งน้อยลง ๆ หลินเปียวได้ร่วมกับลูกชาย หลินลิกั่ว และคนสนิทใกล้ชิดก่อการใน[[เซี่ยงไฮ้]] โดยวางแผนใช้กองทัพอากาศทิ้งระเบิดปูพรม เมื่อยึดอำนาจสำเร็จก็จัดการจับกุมพวกฝ่ายตรงข้ามและเขาก็ก้าวสู่อำนาจสูงสุด ดังที่เขาได้กล่าวในเอกสารชื่อ “[[อู่ชิยี่กงเฉินจี้ย่าว”เฉินจี้ย่าว]]” ไว้ว่า “การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจครั้งใหม่เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราไม่สามารถยึดอำนาจการนำปฏิวัติสำเร็จ อำนาจก็จะตกไปอยู่ในมือของคนอื่น”
 
เมื่อการยึดอำนาจไม่สำเร็จ ข่าวลือเกี่ยวกับการลอบสังหารเหมาเกิดขึ้นมาไม่ขาดระยะ ลือกันตั้งแต่เหมาถูกฆ่าบนขบวนรถไฟในปักกิ่ง การบุกเข้าไปลอบสังหารถึงที่พัก โดยคนใกล้ชิดของหลินเปียว หลังวันที่ 11 กันยายน หลินเปียวก็ไม่เคยปรากฏให้เห็นในที่สาธารณะอีก ในขณะที่ผู้ใกล้ชิดของหลินเปียวที่หนีไปทางฮ่องกงถูกจับกุมทั้งหมด วันที่ 13 หลินเปียวขึ้นเครื่องบินเตรียมหนีไป[[สหภาพโซเวียต]] แต่เครื่องบินไปตกใน[[เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน|มองโกเลียใน]] ไม่มีผู้ใดรอดชีวิต ในวันเดียวกันทางปักกิ่งเรียกประชุมด่วนเกี่ยวกับเรื่องของหลินเปียว จนถึงวันที่ 14 กันยายน ข่าวหลินเปียวเสียชีวิตจากเครื่องบินตกจึงทราบถึงทางรัฐบาลที่ปักกิ่ง ในวันที่ 1 ตุลาคม 1971 ทางการจีนประกาศ[[งดจัดฉลองวันชาติที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน]] เพราะเกรงว่ากองทัพที่ภักดีต่อ หลินเปียว จะก่อการยึดอำนาจ เนื่องจากจะมีการขนอาวุธสงครามเข้ามาฉลองในปักกิ่ง และสืบสวนสอบสวนขบวนการยึดอำนาจด้วยการใช้กำลังของหลินเปียว
 
== แก๊งสี่คน 1971-1976 ==
หลังการเสียชีวิตของหลินเปียว เหมายังมองไม่เห็นผู้สืบทอดอำนาจ จึงได้ย้ายหวางหงเหวิน จากเซี่ยงไฮ้มาปักกิ่งในเดือนกันยายน 1972 และได้เป็นคณะกรรมการกลางของพรรคในอันดับสองรองจากโจวเอินไหล เหมือนหมายมั่นจะให้เป็นผู้สืบทอด ในขณะเดียวกันเติ้งเสี่ยวผิง ก็ได้กลับคืนสู่อำนาจอีกครั้งภายในความช่วยเหลือของโจวเอินไหล จากผลกระทบในการแย่งชิงอำนาจของหลินเปียว ทำให้เหมาไม่อาจที่จะไม่พึ่งพาโจวเอินไหลกับเติ้งเสี่ยวผิง แต่เหมาก็ไม่คิดจะถ่ายโอนอำนาจให้เติ้ง แต่ถ้าเทียบกำลังอำนาจ “ฝ่ายซ้ายจัด” ของฝ่ายตนแล้ว เหมาก็ยังไม่ค่อยชอบ “ฝ่ายขวา”ซ้ายกลาง” ของเติ้งนักเติ้ง
 
กรกฎาคม 1973 เหมาวิพากษ์ว่าทั้งกั๊วหมิงต่าง[[ก๊กมินตั๋ง]]กับหลินเปียวล้วนแต่เป็นพวกฝักใฝ่[[ลัทธิขงจื๊อ|ลัทธิขงจื้อ]] จากนั้น มกราคม 1974 เจียงชิงพร้อมพวกซึ่งเป็นพวกฝักใฝ่เหมาเจ๋อตงที่แท้จริง ก็เริ่มเคลื่อนไหว “วิพากษ์หลินวิจารณ์ข่ง” โดยมีเป้าหมายอยู่ที่โจวเอินไหล เนื่องจากโจวเป็นคู่แข่งคนสำคัญทางการเมืองหลังจากหลินเปียวเสียชีวิต แต่ความเคลื่อนไหวนี้ก็ไม่ได้รับความสนใจมากนัก
 
ตุลาคม 1974 โจวเอินไหลป่วยหนักเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ภารกิจทั้งหมดจึงมอบหมายให้เติ้ง ในฐานะรองนายกฯเป็นคนรับผิดชอบแทน เติ้งดำเนินตามนโยบาย “สี่ทันสมัย” ของโจวเอินไหล (สี่ทันสมัย คือ ความทันสมัยด้านเกษตร ด้านอุตสาหกรรม ด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และด้านการทหาร) ต่อมา กันยายน 1975 เหมาล้มป่วยเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลอีกคน
 
== สิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรม ปี 1976 ==
เป็นปีที่สำคัญสำหรับการปฏิวัติวัฒนธรรม วันที่ 8 มกราคม โจวเอินไหลเสียชีวิตด้วยโรง[[มะเร็ง|โรคมะเร็ง]] ในวันต่อมาประชาชนต่างหลั่งไหลในไปที่อนุเสาวรีย์อนุสาวรีย์วีรชนใจกลางจัตุรัส มหาศาลาประชาคมด้านทิศตะวันตกของจัตุรัสเทียนอันเหมิน เพื่อไว้อาลัยแก่โจวเอินไหล วันที่ 15 เป็นวันจัดงานศพของโจวเอินไหล เติ้งเสี่ยวผิงโดย เติ้งเสี่ยวผิง เป็นผู้กล่าวไว้อาลัยอย่างเป็นทางการ
 
กุมภาพันธ์ กลุ่มแก๊งสี่คนออกมาโจมตีเติ้งเสี่ยวผิง ซึ่งเป็นคู่แข่งที่เหลืออยู่เพียงคนเดียวอีกครั้ง โดยได้รับไฟเขียวจากเหมา เติ้งถูกลดอำนาจอีกครั้ง แต่เหมาก็ไม่ได้แต่งตั้งใครจากกลุ่มสี่คนเข้ารับตำแหน่งแทน แต่หันไปแต่งตั้ง หัวกั๊วเฟิงแทนกั๊วเฟิง แทน วันที่ 4 เมษายน วันชิงเม้ง ตามประเพณีจีน ประชาชนประมาณสองล้านคนรวมตัวกันที่จัตุรัสเทียนอันเหมินเพื่อรำลึกโจวเอินไหล ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มสนับสนุนเติ้งเสี่ยวผิง และโจมตีแก๊งสี่คนปรากฏภายในจัตุรัส เอกสารต่อต้านกลุ่มสี่กลุ่มเผยแพร่ออกมาจำนวนมาก กลุ่มแก๊งสี่คนจึงสั่งให้ตำรวจเข้าไปสลายการชุมนุม แก๊งสี่คนโจมตีเติ้งเสี่ยวผิงเป็นผู้วางแผนอยู่เบื้องหลังสำหรับการชุมนุมครั้งนี้ เติ้งถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งทางการเมือง และแต่งตั้งหัวกั๊วเฟิงเป็นรองนายกฯ อันดับหนึ่งแทน
 
กันยายน 1976 เหมาถึงแก่อสัญกรรม แก๊งสี่คนเห็นหัวกั๊วเฟิงไม่ยอมเชื่อฟังพวกเขาจึงเตรียมที่จะล้มหัวอำนาจการปกครองโดยขบวนการนิสิตนักศึกษาการปฏิวัติวัฒนธรรม แต่แล้ววันที่ [[เหตุการณ์ 6 ตุลา|6 ตุลาคม 2519]] หัวกั๊วเฟิง ภายใต้การสนับสนุนของ[[กองทัพปลดปล่อยประชาชน|กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน]]  ก็ชิงลงมือก่อน โดยส่งตำรวจเข้าจับกุมสมาชิกแก๊งสี่คนทั้งหมด การปฏิวัติวัฒนธรรมจึงปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์
 
== การสิ้นสุดของการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ==