ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น การแก้ไขแบบเห็นภาพ
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 16:
'''สาขาวิชานิติศาสตร์''' ได้รับการก่อตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2508 สังกัดอยู่ในภาควิชา[[คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่|รัฐศาสตร์]] [[คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่|คณะสังคมศาสตร์]] เป็นการแบ่งส่วนราชการตามระเบียบบริหารราชการของ[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]] โดยเปิดสอนกระบวนวิชากฎหมายต่าง ๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 24 กระบวนวิชาเอกส่วนหนึ่งของหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และนอกจากนั้นยังเป็นวิชาบังคับพื้นฐานวิชาโท และวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทั้ง[[มหาวิทยาลัยเชียงใหม่]]อีกด้วย
 
คณะนิติศาสตร์ จัดตั้งขึ้นตามมติสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2549 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2549 เป็นคณะลำดับที่ 20 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ง เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 โดยมีความเป็นมาโดยสังเขป ดังนี้
 
'''พ.ศ. 2508''' เริ่มจัดการเรียนการสอนในฐานะสาขาวิชานิติศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยจัดการศึกษาสังกัดภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ โดยเปิดสอนวิชากฎหมายเป็นวิชาเอกสำหรับนักศึกษาภาควิชารัฐศาสตร์ วิชาบังคับพื้นฐานวิชาโทและเลือกสำหรับนักศึกษาทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
'''พ.ศ. 2535''' เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในส่วนภูมิภาคแห่งแรกที่เปิดเรียนการสอนหลักสูตรดังกล่าว อนึ่ง เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 7 (ปีงบประมาณ 2535-2539)
 
'''พ.ศ. 2538''' ดำเนินการจัดตั้งโครงการเพื่อให้บริการวิชาการแก่ชุมชน ภายใต้ชื่อ “โครงการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่ประชาชน”ซึ่งได้ดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
 
'''พ.ศ. 2539''' เริ่มโครงการยกระดับหน่วยจัดการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิต จากสาขาวิชาขึ้นเป็นภาควิชา ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 8 (ปีงบประมาณ 2540-2544)โดยได้ใช้อาคาร 2 ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งสำนักงานโครงการจัดตั้งภาควิชานิติศาสตร์ และได้รับความเห็นชอบจากทบวงมหาวิทยาลัยแต่โครงการดังกล่าวได้ถูกชะลอไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากฐานะการเงิน การคลังและภาวะเศรษฐกิจของประเทศใน พ.ศ. 2540 และแม้ว่าสาขาวิชานิติศาสตร์จะมีฐานะเพียงหน่วยจัดการศึกษาก็ตาม แต่ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาวะที่เกิดขึ้น
 
ต่อมา เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2539 [[เนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์|เนติบัณฑิตยสภา]]ได้รับรองมาตรฐานการศึกษาให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภาได้
 
'''พ.ศ. 2542''' ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาจากเนติบัณฑิตยสภา ส่งผลให้บัณฑิตผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขานิติศาสตร์ สามารถสมัครเป็นสมาชิกประเภทวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภาได้
 
'''พ.ศ. 2546''' ทำการปรับปรุงหลักสูตรนิติศาสตร์บัณฑิตเพื่อสนองต่อความต้องการของสังคม หน่วยงานและองค์กรที่ต้องการบุคลากรทางกฎหมาย และเพิ่มโอกาสในการศึกษาแก่บุคคลที่ต้องการศึกษากฎหมายหลังจากการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่น
 
'''พ.ศ. 2547''' เปิดสอนปริญญาโท หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม ซึ่งก่อให้ความสนใจในสาขาวิชานิติศาสตร์เป็นอันมาก จึงเปิดหลักสูตรเพื่อเป็นการเสนอทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
 
'''พ.ศ. 2549''' สภามหาวิทยาลัยจะอนุมัติให้ฐานะ'''เป็น[[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่|คณะนิติศาสตร์]] เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2549''' สถาปนาคณะนิติศาสตร์ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัว และสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สอดคล้องกับการที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยยังคงใช้อาคาร 2 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นที่ตั้ง คณะนิติศาสตร์
 
'''พ.ศ. 2555''' จัดพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนและบริหาร คณะนิติศาสตร์ โดยพระเทพวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ เจ้าอาวาสวัดบุปผาราม เป็นประธานในพิธีลงเสาเอก พร้อมด้วย รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณะผู้บริหาร คณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ บุคคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าร่วมในพิธี เมื่อวันเสาร์ ที่ 2 มิถุนายน 2555
 
'''พ.ศ. 2557''' อาคารเรียนและบริหาร คณะนิติศาสตร์ ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์และคณะนิติศาสตร์ได้ย้ายสำนักงาน มาเมื่อ เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗ และเริ่มการเรียนการสอน ณ อาคารเรียนและบริหารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
 
นอกจากนี้ ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่ 9 สาขาวิชานิติศาสตร์ ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวยอร์ก ที่บัฟฟาโล (State University of New York at Buffalo หรือ UB) เปิดสอนหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (น.ม.) ในปีการศึกษา 2547 เป็นปีแรกแล้ว โดยความร่วมมือกับ State University of New York at Buffalo หรือ UB จึงได้จัดทำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิตที่มีทั้งองค์ประกอบด้านความรู้ทาง นิติศาสตร์ที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพกฎหมาย และองค์ประกอบด้านการศึกษาปัญหากฎหมายกับสังคม เพื่อให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพ มีทัศนะที่กว้าง และมีความพร้อมที่จะออกไปรับใช้สังคม ทั้งนี้ อาจารย์จาก UB ซึ่งเป็นแกนหลักของกลุ่มนักกฎหมาย “Law and Society” จะมาช่วยสอนในบางกระบวนวิชารวมทั้งกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางกฎหมาย และจะร่วมควบคุมวิทยานิพนธ์และงานค้นคว้าอิสระของนักศึกษาร่วมกับอาจารย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับนักศึกษาที่มีความพร้อมด้านภาษาและงบ ประมาณ ให้สามารถที่จะใช้เวลาช่วงหนึ่งของการศึกษาหลักสูตรนี้ประมาณ 6 – 12 เดือน เพื่อศึกษาบางกระบวนวิชาในหลักสูตร LL.M. ของ UB ได้ โดยจะให้มีการถ่ายโอนหน่วยกิตได้ระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และ UB ซึ่งในกรณีที่นักศึกษาเลือกแนวทางที่สองนี้ นักศึกษาที่จบการศึกษาจะมีหน่วยกิตสะสมครบ 24 หน่วยกิตตามหลักสูตร LL.M. ของ UB และ 39 หน่วยกิตตามหลักสูตร LL.M. ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และจะได้รับ 2 ปริญญา คือ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิตของ UB <br /> ซึ่งปัจจุบันคณะนิติศาสตร์มีคณาจารย์ ซึ่งล้วนเป็นผู้มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ พร้อมให้ความรู้แก่นักศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังได้ผลิตผลงานทางวิชาการออกมาสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่อง
บรรทัด 150:
== เกียรติยศและความภาคภูมิใจ ==
*[[พ.ศ. 2551]] นายฐิรพัฒน์ เที่ยงกมล นักศึกษาระดับปริญญาตรี รหัสประจำตัวนักศึกษา 4820522 นายธนกฤต เปี่ยมมงคล นักศึกษาระดับปริญญาตรี รหัสประจำตัวนักศึกษา 48205535 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 การแข่งขันการต่อสู้คดีสิ่งแวดล้อมในศาลจำลอง เนื่องในงานจุฬาฯวิชาการ 2551
*[[พ.ศ. 2552]] นายกนกศิลป์ เข็มจินดา นักศึกษาระดับปริญญาตรี รหัสประจำตัวนักศึกษา 502010001 ได้รับการคัดเลือกเข้ารับทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงที่กำลังศึกษาอยู่ใน สถาบันการศึกษาในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 หน่วยที่ 5009 ตามความต้องการของกรมสรรพากร
*[[พ.ศ. 2553]] นส.พรศิริ ประคองธรรม นักศึกษาระดับปริญญาตรี รหัสประจำตัวนักศึกษา 502010045 และ นส.สุทธาสินี ประพุทธ์พิทยา รหัสประจำตัวนักศึกษา 502010074 ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศที่ 2 ในการแข่งขันตอบปัญหาสิทธิมนุษยชนระดับอุดมศึกษา จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ร่วมกับ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
*[[พ.ศ. 2553]] นายสุริยา แสงแก้วฝั้น นักศึกษาระดับปริญญาตรี รหัสประจำตัวนักศึกษา 532010071 ได้รับรางวัลคนเล็กหัวใจใหญ่ ในงานคนค้นฅนอวอร์ด ครั้ง ที่ 2
*[[พ.ศ. 2553]] นส.ปณิดา ตุวานนท์ นักศึกษาปริญญาโท รหัส 4784185 ได้รับรางวัล วิทยานิพนธ์ดีเด่น ระดับปริญญาโท ประจำปีการศึกษา 2553 จากวิทยานิพนธ์เรื่อง "ผลกระทบของการให้ความคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธ์พิช พ.ศ. 2542 ต่อเกษตรกรไทย : ศึกษากรณีข้าวโพด มะเขือเทศ และกล้วยไม้"
*[[พ.ศ. 2554]] นส.ประทินทิพย์ วิรุณพันธ์ นส.ณัฐชยา พจนาอารีย์วงศ์ และนายพีรพัฒน์ อนันตสมบูรณ์ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ในการแข่งตอบปัญหากฎหมายภาษีอากรจากศาลภาษีอากรกลาง
*[[พ.ศ. 2554]] นส.ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ และนายจตุรงค์ ศรีโชติ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายระดับอุดมศึกษาเนื่องในวันรพี ณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์