ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 46:
ในด้านการต่างประเทศ มีการส่งราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับ[[ประเทศจีน]]ถึงสี่ครั้ง ทำให้การค้าขายระหว่าง[[สยาม]]กับจีน ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในปี [[พ.ศ. 2244]] เกิดความวุ่นวายใน[[ประเทศกัมพูชา]] อันเนื่องจากการแย่งราชสมบัติกันระหว่าง[[นักเสด็จ]]กับ[[นักแก้วฟ้าสะจอง]] นักเสด็จขอเข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ส่วนพระแก้วฟ้านักสะจองผู้เป็นอนุชาฝักใฝ่อยู่กับฝ่าย[[ญวน]] ซึ่งพยายามแผ่อำนาจเข้าไปในเขมร พระองค์ได้ส่งกองทัพกรุงศรีอยุธยาเข้าไปถึงเมือง[[อุดงมีชัย]] ราชธานีของเขมร และได้เกลี้ยกล่อมให้[[นักแก้วฟ้าสะจอง]]กลับมาอ่อนน้อมต่ออยุธยา เขมรจึงมีฐานะเป็น[[ประเทศราช]]ของอาณาจักรเช่นแต่ก่อน
 
ในช่วงรัชสมัยนี้ มิชชันนารีคาทอลิก คือ มุขนายกพระสังฆราช [[หลุยส์ ลาโน]] ได้พิมพ์เผยแพร่หนังสือชื่อ “ปุจฉาวิสัชนา” มีเนื้อหาเปรียบเทียบศาสนาคริสต์ – ศาสนาพุทธ ชี้ให้เห็นความเหนือกว่าของศาสนาคริสต์ ดูหมิ่นพุทธศาสนา ทันทีหนังสือเล่มนี้ถูกเผยแพร่เป็นครั้งแรกก็สร้างความไม่พอใจให้กับราชการไทย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระทรงเรียกบาทหลวง 3 คนขึ้นศาลไต่สวน ที่สุดมีพระราชโองการห้ามไม่ให้ใช้ภาษาไทยในการเผยแพร่ศาสนา ห้ามคนไทย มอญ และลาวเข้ารีตศาสนาคริสต์ และห้ามมิให้มิชชันนารีติเตียนศาสนาของคนไทย มิชชันนารีที่ไม่ปฏิบัติตามจะถูกเฆี่ยนแล้วเนรเทศ<ref>''แก่นแท้ศาสนาคริสต์ที่หายไป'', หน้า 120</ref>
 
== พระราชโอรส-ธิดา ==