ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเงือก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
เพิ่มหัวข้อ
บรรทัด 36:
'''นกเงือก''' ({{lang-en|Hornbills}}) เป็นนกขนาดใหญ่ ที่อยู่ในวงศ์ Bucerotidae ใน[[Coraciiformes|อันดับนกตะขาบ]] (Coraciiformes) (บางข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลเก่าจะจัดให้อยู่ในอันดับ Bucerotiformes ซึ่งเป็นอันดับเฉพาะของนกเงือกเอง แต่ปัจจุบันนับเป็นชื่อพ้อง โดยนับรวม[[Bucorvus|นกเงือกดิน]]เข้าไปด้วย<ref name="itis"/><ref>Walters, Michael P. (1980). ''Complete Birds of the World''. David & Charles PLC. ISBN 0715376667.</ref>) เป็นนกที่เชื่อว่าถือกำเนิดมานานกว่า 45 ล้านปีมาแล้ว<ref name="นก"/>
 
== ลักษณะ ==
นกเงือก เป็นนกป่าขนาดใหญ่ ที่มีจุดเด่น คือ จะงอยปากหนาที่ใหญ่และมีโหนกทางด้านบนเป็นโพรง ภายในโพรงมีเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ<ref name="นก">[http://student.nu.ac.th/51320756/ho1.html ลักษณะเด่นของนกเงือก]</ref> ส่วนใหญ่ลำตัวมีสีขาวดำหางยาว ปีกกว้างใหญ่ บินได้แข็งแรง เวลาบินจะโบกปีกช้า ๆ กินผลไม้เป็นอาหารหลัก และสัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เป็นอาหารเสริม ทำรังในโพรงไม้ ตัวเมียจะเข้าไปกดไข่ในโพรงโดยใช้โคลนและมูลปิดปากโพรงไว้ เหลือเพียงช่องพอให้ตัวผู้อื่นส่งอาหารเข้าไปได้ เมื่อลูกนกโตพอแล้ว จึงเจาะโพรงออกมา<ref>[http://61.19.202.164/works/birds/L02-30.htm วงศ์นกเงือก]</ref>
 
และจากจะงอยปากและส่วนหัวที่ใหญ่เหมือนโหนกหรือหงอนนั้น ทำให้นกเงือกถูกใช้ในเชิงสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมมาแต่โบราณ โดยใช้ทำเป็นเครื่องประดับของชนเผ่าต่าง ๆ<ref>Hodgson,BH (1833). "Description of the Buceros Homrai of the Himalaya". ''Asiat. Res''. '''18''' (ฉบับที่ 2): 169–188.</ref>
 
== ชนิด ==
พบทั่วโลกมี 55 [[species|ชนิด]]<ref>[http://kpnet3.nectec.or.th/kp8/nrs/nrs702.html นกเงือก]</ref>ใน 14 [[genus|สกุล]] (ดูในตาราง) มีการแพร่กระจายอยู่ในแถบเขตร้อน ของ[[ทวีปแอฟริกา]] และ[[เอเชีย]]
 
== การทำรัง ==
นกเงือกเป็นนกผัวเดียวเมียเดียว มีลักษณะการทำรังที่แปลกจากนกอื่น คือ เมื่อถึงฤดูกาลทำรัง นกคู่ผัวเมียจะพากันหารัง ซึ่งได้แก่ โพรงไม้ตามต้นไม้ใหญ่ เช่น ต้นยาง ที่อยู่ในที่ลับตา เมื่อตัวเมียเข้าไปอยู่ในโพรง จะทำความสะอาดแล้วเริ่มปิดปากโพรง ด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น ดิน เปลือกไม้ ตัวเมียจะขังตัวเองอยู่ภายในเพื่อออกไข่และเลี้ยงลูก
 
== แสดงความอุดมสมบูรณ์ของป่า ==
นกเงือก เป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติได้ประการหนึ่ง เนื่องจากจะอาศัยอยู่ในป่าหรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เนื่องจากนกเงือกเป็นนกขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กินทั้งผลไม้และสัตว์เป็นอาหาร อีกทั้งธรรมชาติในการหากินต้องอาศัยพื้นที่ป่าที่กว้าง<ref name="มติชน">[http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1234975085&grpid=&catid= วันรัก"นกเงือก" สัตว์ที่เป็น "ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของป่าและธรรมชาติ" จากมติชน]</ref> และยังเป็นตัวแพร่กระจายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ในป่าได้อย่างดีอีกด้วย เนื่องจากเป็นนกที่กินผลไม้ชนิดต่าง ๆ ได้ถึง 300 ชนิด และทิ้ง[[เมล็ดพืช|เมล็ด]]ไว้ตามที่ต่าง ๆ<ref name="นก"/>