ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนพล อินทฤทธิ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
== ประวัติ ==
เสือ จบการศึกษาจาก[[มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน|สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ]] และ[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] เข้าสู่วงการเพลงด้วยการตั้งวงดนตรีของตนเองร่วมกับเพื่อน ๆ และญาติ ๆ ในชื่อ เฉียงเหนือ เป็นวงแบ็กอัพรวมถึงร่วมเล่นกับวงอื่นตระเวนเล่นทั่วไปตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>{{cite news|title=## หลายเรื่องที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับ RS Promotion ##|url=http://topicstock.pantip.com/chalermkrung/topicstock/2012/09/C12638079/C12638079.html|work=พันทิปดอตคอม|date=September 11, 2012}}</ref> จากนั้นก็ได้เข้าทำงานในสังกัด [[อาร์เอส|บริษัท อาร์เอส โปรโมชั่น]] (ปัจจุบัน ใช้ชื่อว่า บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)) ในฐานะฝ่ายศิลป์และคอสตูม โดยเป็นผู้ออกแบบปกอัลบั้มชุดที่ 6 ให้กับ[[ฟรุตตี้]] และแต่งเพลงให้กับศิลปินหลายรายในค่าย เช่น ฟรุตตี้
และที่ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ''เก็บตะวัน'' ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวของ[[อิทธิ พลางกูร]] และเพลงนี้ก็ได้กลายมาเป็นเอกลักษณ์ประจำตัวของอิทธิและได้รับความนิยมมาปัจจุบัน รวมถึงแต่งให้กับศิลปินต่างค่ายด้วย เช่น เบิร์ด - เบิร์ด–[[ธงไชย แมคอินไตย์]], [[เทียรี่ เมฆวัฒนา]] จากนั้นจึงเริ่มทำงานเบื้องหลังให้แก่ศิลปินรายต่าง ๆ ของอาร์เอส โดยเป็นโปรดิวเซอร์ แต่งเพลง ทำนอง รวมทั้งเป็นแมวมองด้วย ด้วยการขอโอกาสจากผู้บริหารค่าย<ref>{{cite web|url=https://www.youtube.com/watch?v=VTVp-AV3Y5o|work=[[กิ๊กดู๋ สงครามเพลงเงินล้าน|กิ๊กดู๋สงครามเพลง]]|title=กิ๊กดู๋ : ประชันเงาเสียง เสือ ธนพล [26 พ.ค. 58] (1/4) Full HD แก้ไข|date=2015-05-26}}</ref> ซึ่งศิลปินที่เข้าสู่วงการด้วยการชักชวนของเสือ ได้แก่ [[ไฮ-ร็อก]], [[เอาท์ไซเดอร์]], [[แร็พเตอร์]] เป็นต้น
 
เสือได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในปี [[พ.ศ. 2537]] เมื่อได้ออกอัลบั้มชุดแรกในชีวิตกับทางอาร์เอส ในชื่อชุด ''[[ทีของเสือ]]'' มีเพลงที่ได้รับความนิยม เช่น ''รักคงยังไม่พอ'', ''กระดาษห่อไฟ'', ''ชีวิตหนี้'', ''เรือลำหนึ่ง'', ''18 ฝน'' เป็นต้น และได้เล่น[[คอนเสิร์ต]][[ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต]] ครั้งที่ 2 ในชื่อ ''เสืออำพัน'' ในเดือน[[สิงหาคม]] ปีเดียวกัน ที่[[สนามกีฬากองทัพบก]] ร่วมกับเป้ - เป้–[[อนุวรรตน์สุรัช ทับวัง]] และเจี๊ยบ - เจี๊ยบ–[[พิสุทธิ์ ทรัพย์วิจิตร]] ด้วย
 
ในปี [[พ.ศ. 2541]] เสือได้ย้ายสังกัดไปเซ็นสัญญากับค่ายเมกเกอร์เฮดในเครือแกรมมี่ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (ปัจจุบันคือ [[จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่]]) และได้ออกอัลบั้มชุดที่สอง ชื่อ ''ใจดีสู้เสือ'' มีเพลงที่ได้รับความนิยม คือ ''เศษ'', ''ใจดีสู้เสือ'', ''ดูโง่โง่'', ''มีอะไรยั่งยืน'' เป็นต้น นับเป็นการสูญเสียบุคลากรคนสำคัญของอาร์เอส โปรโมชั่น ครั้งหนึ่งทีเดียว