ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยางพารา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wojiaogua (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tana113 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มพันธุ์ยางพารา
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น
บรรทัด 20:
 
'''ยางพารา''' เป็นไม้ยืนต้น มีถิ่นกำเนิดบริเวณ[[ลุ่มน้ำแอมะซอน|ลุ่มน้ำ]][[แม่น้ำแอมะซอน|แอมะซอน]] [[ประเทศบราซิล]]และ[[ประเทศเปรู]] [[ทวีปอเมริกาใต้]] โดยชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เกาชู" (cao tchu) แปลว่า ต้นไม้ร้องไห้ จนถึงปี พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) โจเซฟ พรีสต์ลีย์ พบว่ายางสามารถนำมาลบรอยดำของดินสอได้ จึงเรียกว่ายางลบหรือตัวลบ (rubber) ซึ่งเป็นศัพท์ใช้ในประเทศอังกฤษและประเทศเนเธอร์แลนด์เท่านั้น ศูนย์กลางของการเพาะปลูกและซื้อขายยางในอเมริกาใต้แต่ดั้งเดิมอยู่ที่[[รัฐปารา]] (Pará) ของประเทศบราซิล ยางชนิดนี้จึงมีชื่อเรียกว่า ยางพารา<ref>[http://www.reothai.co.th/Para1.htm ประวัติยางพารา โดยองค์การสวนยาง]</ref>
 
== พันธ์ุยางพารา ==
'''หลักในการเลือกใช้พันธุ์ยาง''' เนื่องจากผลผลิตน้ำยางหรือเนื้อไม้ที่ได้จากการปลูกยาง จะมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นกับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธุ์ สภาพแวดล้อม และการปรับตัวของพันธุ์เข้ากับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ ดังนั้นการจะ ตัดสินใจว่าจะเลือกปลูกยางพันธุ์ใดนั้น ควรยึดถือหลักการว่า จะต้องเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสุดและมี ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูก ซึ่งควรมีการพิจารณาตามขั้นตอน ดังนี้
1. พิจารณาว่าพื้นที่ปลูก มีสภาพแวดล้อมใดที่ไม่เหมาะสม เป็นข้อจำกัดที่มีความรุนแรงมาก น้อยเพียงใด สามารถแก้ไขได้หรือไม่ และส่งผลกระทบต่อการให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใด เช่น เป็น พื้นที่ที่มี
การระบาดของโรคใดรุนแรง พื้นที่ที่มีลมแรง หรือพื้นที่มีความลาดชันสูง หน้าดินตื้น
2. พิจารณาลักษณะประจำพันธุ์แต่ละพันธุ์ จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยางของสถาบันวิจัยยาง โดยเฉพาะลักษณะที่อ่อนแอต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นข้อจำกัด แล้วคัดเลือกพันธุ์ที่สามารถปลูกในพื้นที่ นั้น ๆ ได้
3. ลำดับที่ของพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง จากเอกสารคำแนะนำพันธุ์ยาง แล้วเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต สูงสุด ถือว่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ดังกล่าว
 
'''ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่นำมาใช้เป็นข้อพิจารณาในการเลือกพันธุ์ยาง''' สภาพแวดล้อมของการปลูกยาง จะรวมทั้งการเขตกรรม และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก ซึ่ง การเขตกรรม ตั้งแต่การปลูกถึงการกรีดเก็บเกี่ยวผลผลิตยางนั้น เป็นปัจจัยที่สามารถแก้ไขและ เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อสร้างผลสำเร็จในการปลูกยาง ส่วน สภาพแวดล้อมในพื้นที่ปลูก จัดเป็นปัจจัยบังคับหรือปัจจัยที่ไม่มีโอกาสเลือก แก้ไขและเปลี่ยนแปลง ได้ยาก แต่มีอิทธิพลต่อการให้ผลผลิต ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์ยางจึงต้องนำปัจจัยนี้ มาใช้ในการ พิจารณาการเลือกพันธุ์ยางปลูก ดังนี้
1. ดินและสภาพพื้นที่
ชนิดและสมบัติของดิน ดินแต่ละชนิดจะมีสมบัติทางเคมี และกายภาพที่แตกต่างกัน ทำให้ มีความเหมาะสมต่อการปลูกยางแตกต่างกัน พันธุ์ยางบางพันธุ์ให้ผลผลิตได้ดีในดินที่มี ความอุดมสมบูรณ์สูง แต่เมื่อนำไปปลูกในดินที่มีความอุดมสมบรูณ์ของดินต่ำ ผลผลิต ลดลงหรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของพันธุ์ ในขณะที่บางพันธุ์การให้ผลผลิตไม่ เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมมากนัก ดังนั้นจึงจำต้องรู้ว่าดินที่ปลูกมีความอุดม สมบูรณ์มากน้อยเพียงใดและปรับปรุงได้หรือไม่ ในกรณีที่แก้ไขไม่ได้ควรเลือกพันธุ์ยาง ใดที่เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก เช่น การปลูกยางในสภาพพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นดินเหนียว มี การระบายน้ำเลว ควรเลือกปลูกพันธุ์ยางที่มีทรงพุ่มเล็กหรือปานกลาง ความลึกของหน้าดิน โดยปกติต้นยางต้องการดินที่มีหน้าดินลึกมากกว่า 1 เมตร เพื่อให้ รากสามารถยึดเกาะได้อย่างมั่นคง การปลูกยางในพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น จะทำให้ต้นยาง โค่นล้มง่าย ดังนั้นการปลูกยางในพื้นที่ดังกล่าว ควรจะเลือกพันธุ์ยางที่มีทรงพุ่มเล็กหรือ ปานกลาง แตกกิ่งสมดุลย์ ระดับน้ำใต้ดิน ในสภาพพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง ระดับน้ำใต้ดินควรลึกไม่น้อย กว่า 1 เมตร แต่มียางบางพันธุ์ที่เกษตรกรสามารถเลือกปลูกได้ ความลาดชันของพื้นที่ พันธุ์ยางโดยทั่วไปไม่เหมาะสมที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ลาดชันมาก สูงกว่า 16 องศา เช่น พื้นที่เป็นควนเขา เพราะจะทำให้ต้นยางโน้มเอียง เนื่องจากแตกกิ่ง และทรงพุ่มในระดับสูง ทำให้ต้นยางโค่นล้มได้ง่าย ดังนั้นยางบางพันธุ์จึงไม่เหมาะสม สำหรับปลูกในพื้นที่ลาดชัน แต่มียางบางพันธุ์เหมาะสมหรือพอจะปลูกได้ ในสภาพพื้นที่ ดังกล่าว
2. โรค
ในแต่ละพื้นที่ ชนิดและความรุนแรงในการระบาดของโรค จะแตกต่างกันออกไป ตามสภาวะ ที่เหมาะสมต่อการแพร่กระจาย ดังนั้นก่อนที่จะปลูกยางควรจะศึกษาและพิจารณาดูก่อนว่า มีโรคอะไร ระบาดบ้าง ระบาดอยู่ในระดับรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพื่อที่จะได้ตัดสินใจเลือกพันธุ์ยางที่ต้านทาน โรคนั้นๆได้ถูกต้อง
3. ความรุนแรงของลม
ลมเป็นสาเหตุสำคัญของการฉีกขาด การหักโค่นและถอนรากของต้นยาง ในพื้นที่ปลูกยางที่มี ความแรงของลมมากกว่า 62 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (8 beavfort scale) เป็นระยะเวลาหลายวันในแต่ละปี ถือว่าเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อความเสียหายที่เกิดจากลมได้ แต่โดยทั่วไปแล้ว ในพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทย ความแรงของลมที่เกิดขึ้นตามปกติ จะมีผลทำให้ต้นยางเสียหายเล็กน้อย ยกเว้นพื้นที่ในบางจังหวัดของ ภาคใต้ เช่น ตรัง ภูเก็ต และบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น สุรินทร์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุดรธานี และอุบลราชธานี ที่มีความรุนแรงของลมในระดับปานกลาง อาจจะทำให้ต้นยาง เสียหายได้ ดังนั้นการเลือกพันธุ์ยางปลูกในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เหล่านี้ ต้องพิจารณาเลือกพันธุ์ที่ ต้านทานลมได้ดี
 
'''ลักษณะประจำพันธ์ุ''' ลักษณะประจำพันธุ์ที่จะต้องนำมาพิจารณาควบคู่กับสภาพแวดล้อม เพื่อหาความเหมาะสมใน การกำหนดพันธุ์ยางที่จะปลูกมีหลายประการ เช่น
1. ผลผลิต การพิจารณาผลผลิตว่าดีมากน้อยเพียงใดจะพิจารณาเป็นช่วง ตามอายุของการเปิดกรีด แนวโน้มของการเพิ่มและลดในช่วงอายุ และฤดูกาลต่าง ๆ กล่าวคือ ผลผลิตในช่วง 2 ปีแรกหลังเปิดกรีด ซึ่งเป็นช่วงต้นของการเก็บผลผลิตยาง บางพันธุ์ อาจจะให้ผลผลิตต่ำในช่วงแรก แต่ระยะต่อมาให้ผลผลิตสูงได้ ผลผลิตในช่วง 3 –10 ปีหลังเปิดกรีด เป็นช่วงที่ต้นยางให้ผลผลิตได้ดี ถือว่าเป็นช่วงหลัก ในการได้รับผลตอบแทนจากการปลูกยาง ผลผลิตในช่วงผลัดใบ การกรีดยางในช่วงผลัดใบ เป็นช่วงทีมีวันกรีดเต็มที่เนื่องจากไม่มี อุปสรรคจากฝน ควรจะเป็นพันธุ์ที่ผลผลิตลดลงไม่มากนักในช่วงนี้ แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรจะงดกรีดยางในช่วงที่ต้นยางผลิใบอ่อน เพราะจะทำให้กระทบต่อการให้ ผลผลิตและการเจริญเติบโตของต้นยางในระยะต่อมา ผลผลิตเมื่อใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง ควรเป็นพันธุ์ที่เพิ่มผลผลิตได้มากเมื่อมีการใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง
2. การเจริญเติบโตของต้นยาง พันธุ์ยางที่มีการเจริญเติบโตเร็วในระยะก่อนเปิดกรีด ก็หมายถึงว่าจะได้รับผลตอบแทนเร็วขึ้น ส่วนการเจริญเติบโตระยะระหว่างกรีด จะเกี่ยวพันกับการให้ผลผลิตเพิ่มในระยะต่อมา ดังนั้นการ เจริญเติบโต จึงต้องพิจารณาทั้งก่อนและระหว่างกรีด
3. ขนาดของทรงพุ่ม พันธุ์ยางแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะการแตกกิ่งและขนาดทรงพุ่มที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมี ความสัมพันธ์โดยตรงกับการกำหนดระยะปลูก โดยพันธุ์ยางที่มีลักษณะการแตกกิ่งเป็นมุมกว้างและ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่ ไม่ควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้นชิด
4. ความหนาเปลือก เปลือกจัดเป็นส่วนที่สำคัญของต้นยาง เพราะเป็นแหล่งให้ผลผลิตโดยตรง ต้นยางควรมีความ หนาความเหมาะสมที่เหมาะสม ทั้งเปลือกเดิม (เฉลี่ย 6.0 – 6.5 มม. ในระยะเปิดกรีด) และเปลือกงอก ใหม่ สำหรับเปลือกงอกใหม่ ควรพิจารณาความเร็วในการงอกประกอบ (เฉลี่ย 5.7 – 6.2 มม. ในปีกรีด ที่ 3) เนื่องจากมีความสัมพันธ์โดยตรงกับรอยแผลกรีด ตามปกติพันธุ์ยางที่เปลือกบางในเวลากรีดมักจะ เกิดบาดลึกถึงเนื้อไม้ได้ง่าย
5. รอยแผลกรีด การเกิดรอยแผลจากการกรีดยางลึกถึงเนื้อไม้ในยางแต่ละพันธุ์จะแสดงความเสียหายแตกต่าง กัน บางพันธุ์จะแสดงความเสียหายรุนแรง จนไม่สามารถกลับมากรีดซ้ำได้อีก แต่บางพันธุ์อาจจะไม่ รุนแรงมากนัก
6. ความต้านทานโรค โรคที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปลูกยาง คือ โรคใบร่วง ใบจุด เส้นดำ และราสีชมพู ดังนั้นควรเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรคที่ระบาดรุนแรงในพื้นที่ปลูกให้ถูกต้อง ความต้านทานลม ลักษณะทรงพุ่ม และความแข็งแรงของเนื้อไม้ เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสำคัญต่อการต้านทานลม ตามปกติลักษณะทรงพุ่มที่มีขนาดใหญ่ พุ่มใบหนาแน่น และการแตกกิ่งก้านไม่สมดุล จะอ่อนแอต่อ การกรรโชกของลม ที่ทำให้กิ่งฉีกขาด หรือต้นโค่นล้มได้ง่าย
7. การปลูกในพื้นที่จำกัด ในกรณีที่ต้องการปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมบางประการ เช่นพื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่ มีระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ลาดชัน จะต้องเลือกพันธุ์ยางที่สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ที่ไม่ เหมาะสมนี้ได้ เพราะสภาพพื้นที่เหล่านี้จะมีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตโดยตรง
8. การตอบสนองต่อจำนวนต้นปลูกในแปลง ในกรณีที่ต้องการปลูกต้นชิด ซึ่งมีจำนวนต้นหนาแน่นมากกว่าปกติจะต้องไม่มีผลต่อการ เจริญเติบโตและผลผลิตมากนัก แต่ถ้ามีมากก็จะต้องหลีกเลี่ยงพันธุ์ยางที่ไม่ตอบสนองต่อการปลูกต้นชิด
9. อาการเปลือกแห้ง ซึ่งเป็นความผิดปกติทางสรีระวิทยาของต้นยาง ที่หลังจากกรีดมีน้ำยางไหลออกมาเพียง เล็กน้อยหรือไม่ไหลเลย และอาจเกิดกับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิดกรีด โดยเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พันธุ์ ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อมและสภาพดินที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุร่วมกัน เช่น ใช้ระบบกรีดที่มีความถี่สูงกับพันธุ์ยางที่เป็นเปลือก แห้งง่าย
 
'''พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก''' สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร ได้จัดทำคำแนะนำพันธุ์ยางแก่เกษตรกรทุก ๆ 4 ปี โดยใช้ ข้อมูลจากผลงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์ยาง เพื่อแนะนำพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลักตั้งแต่ปี 2504 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ยางพารามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ ของประเทศ ทำให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนจากผลผลิตเนื้อไม้เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2546 สถาบันวิจัยยางจึงได้เปลี่ยนแปลงคำแนะนำจากเดิม โดยแบ่งพันธุ์ยางแนะนำเป็น 3 กลุ่ม คือ พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง และพันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตเนื้อ ไม้สูง เพื่อให้เกษตรกรเลือกพันธุ์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการปลูก
 
พันธุ์ยางที่แนะนำให้ปลูก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามวัตถุประสงค์ของการปลูก ดังนี้
กลุ่ม 1 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเป็นหลัก การเลือกปลูกพันธุ์ยางใน กลุ่มนี้ ควรมุ่งเน้นผลผลิตน้ำยาง
กลุ่ม 2 พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ทั้งผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ โดยให้ ผลผลิตน้ำยางสูงและมีการเจริญเติบโตดี ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้น สูง
กลุ่ม 3 พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูงเป็นหลัก มีการเจริญเติบโตดีมาก ลักษณะลำต้นตรง ให้ปริมาตรเนื้อไม้ในส่วนลำต้นสูงมาก ผลผลิตน้ำยางจะอยู่ในระดับต่ำกว่าพันธุ์ยางในกลุ่มที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเป็นพันธุ์ที่จะปลูกเป็นสวนป่าเพื่อการผลิตเนื้อไม้
 
พันธุ์ยางในแต่ละกลุ่มที่แนะนำ จะแบ่งเป็น 2 ชั้น ตามรายละเอียดของข้อมูล ดังนี้
พันธุ์ยางชั้น 1 แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก พันธุ์ยางในชั้นนี้ได้ผ่านการทดลองและศึกษา ลักษณะต่าง ๆ อย่างละเอียด
พันธุ์ยางชั้น 2 แนะนำให้ปลูกโดยจำกัดเนื้อที่ปลูก ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือ ครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางชั้นนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา ลักษณะบางประการเพิ่มเติม เกษตรกรที่มีความประสงค์จะเลือกปลูกพันธุ์ยางชั้นนี้ ควรรับคำแนะนำจากสถาบันวิจัยยาง
 
'''รายละเอียดพันธุ์ยางที่แนะนำ'''
'''กลุ่ม 1 : พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางสูง'''
 
'''สถาบันวิจัยยาง 251 (RRIT 251)'''
 
'''สถาบันวิจัยยาง 226'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! PB 5/51 x RRIM 600
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย มีขนาดเล็ก ลักษณะลำต้นตรง กิ่งมีขนาดปานกลาง และแตกกิ่งเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ระยะก่อนและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ความสม่ำเสมอของขนาด ลำต้นทั้งแปลงปานกลาง เปลือกเดิมบาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ผลผลิตเนื้อยาง 8 ปีกรีดเฉลี่ย 346 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 37 มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟ ทอปโทราและโรคเส้นดำระดับดี ต้านทานโรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพู ระดับปานกลาง ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้งและต้านทานลมระดับปาน กลาง
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อยางสูง ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรค เส้นดำระดับดี มีจำนวนต้นเปลือกแห้งน้อย
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || ค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคราแป้ง
|-
| พื้นที่แนะนำ ||
ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป และสามารถปลูกได้ใน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง
|}
 
'''BPM 24'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! GT 1 x AVROS 1734
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ ||ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวยตัด ลักษณะลำต้นตรง แตกกิ่งมาก กิ่งมีขนาดปานกลาง มีการทิ้งกิ่งน้อย พุ่มใบค่อนข้างทึบ ทรงพุ่มมีขนาดปานกลางเป็นรูปกรวย เริ่มผลัดใบเร็วและทยอยผลัดใบ
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ระยะก่อนและระหว่างกรีดเจริญเติบโตปานกลาง ความสม่ำเสมอของลำต้น ทั้งแปลงปานกลาง เปลือกเดิมหนามาก เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง เปลือกเรียบและกรีดง่าย ผลผลิตเนื้อยางแห้ง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 335 กิโลกรัมต่อ ไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 41 มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและเส้นดำระดับดี ต้านทาน โรคราแป้ง โรคใบจุดนูนและโรคราสีชมพูระดับปานกลาง ต้านทานลมระดับ ปานกลาง
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อยางสูงมากในระยะแรกของการเปิดกรีด เปลือกหนา เรียบทำให้ กรีดง่าย ความต้านทานโรคส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะโรคใบร่วงที่ เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นดำ
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง|| ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงและต้น ยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย ในระยะยางอ่อนจะแตกกิ่งเล็กๆ จำนวน มาก ลำต้นและกิ่งจะมีรอยแตกน้ำยางไหล และลักษณะนี้จะปรากฏมากขึ้น เมื่อปลูกในสภาพพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำและมีปริมาณฝนน้อย
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรงของโรค ใบร่วงไฟทอปโทราและโรคเส้นดำ และสามารถปลูกได้ใน พื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
|}
 
'''RRIM 600'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! Tjir 1 x PB 86
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวอมเหลือง ลักษณะฉัตรใบเป็นรูปกรวย มี ขนาดเล็ก ในระยะ 2 ปีแรกต้นยางจะมีลักษณะลำต้นตรง แต่เรียวเล็ก การ แตกกิ่งช้า ลักษณะการแตกกิ่งเป็นมุมแหลม กิ่งที่แตกค่อนข้างยาว ทรงพุ่มมี ขนาดปานกลางเป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบเร็ว
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ในระยะก่อนเปิดกรีดและระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิม บาง เปลือกงอกใหม่หนาปานกลาง ผลผลิตระยะแรกอยู่ในระดับปานกลาง แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในปีต่อมา ให้ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 289 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและ โรคเส้นดำ ต้านทานโรคราแป้งและโรคใบจุดนูนระดับปานกลาง อ่อนแอต่อ โรคราสีชมพู ต้านทานลมระดับปานกลาง
|-
| ลักษณะดีเด่น || การปรับตัวและให้ผลผลิตได้ดีในเกือบทุกพื้นที่ ทนทานต่อการกรีดถี่ได้ มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และมีจำนวนต้นแสดงอาการเปลือกแห้งน้อย
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || อ่อนแอมากต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำ และอ่อนแอ ต่อโรคราสีชมพู เปลือกเดิมบาง
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโท รา เส้นดำ และโรคราสีชมพูระบาดรุนแรง พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง
|}
 
'''กลุ่ม 2 : พันธุ์ยางผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง'''
'''PB 235'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! PB5/51 x PB S/78
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียว ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ระยะยางอ่อน แตกกิ่งเร็ว พุ่มใบค่อนข้างทึบ ลักษณะลำต้นตรงดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก เมื่ออายุมากทิ้งกิ่งมาก เหลือกิ่งขนาดกลาง 4 – 5 กิ่งในระดับสูง ทำให้พุ่มใบ บาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบช้าและทยอยผลัดใบ
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดีในทุกพื้นที่ และระหว่างกรีดการ เจริญเติบโตปานกลาง เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บางผลผลิต เนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 330 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อย ละ 37 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.30 ลูกบาศก์ เมตรต่อต้น และ 0.41 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.75 22.34 และ 28.09 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งค่อนข้างมาก ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคเส้นดำระดับปานกลาง อ่อนแอ มากต่อโรคราแป้งและโรคใบจุดนูน ต้านทานโรคราสีชมพูระดับดี และ ต้านทานลมระดับปานกลาง
|-
| ลักษณะดีเด่น || ให้ผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโตดีมากในทุกพื้นที่ และ ต้านทานต่อโรคราสีชมพูระดับดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || อ่อนแอมากต่อโรคราแป้ง และ โรคใบจุดนูน ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีด ติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลงและต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ ง่าย
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง
|}
 
'''PB 255'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! PB 5/51 x PB 32/36
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียวอ่อน ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ลักษณะลำต้นตรง ระยะยางอ่อนแตกกิ่งเร็ว กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก พุ่มใบ ทึบ ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปกลม เริ่มผลัดใบค่อนข้างช้า
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปาน กลาง เปลือกเดิมและเปลือกงอกใหม่หนา ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีดเฉลี่ย 318 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 46 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.39 ลูกบาศก็เมตรต่อต้น คิดเป็น 6.26 21.57 และ 27.24 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจาก เชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ต้านทานโรคราแป้ง และ โรคเส้นดำระดับปานกลาง ต้านทานลมระดับค่อนข้างดี
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง เปลือกหนานิ่มกรีดง่าย และต้านทานลม ค่อนข้างดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || อ่อนแอต่อโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคใบจุดนูน และโรคราสี ชมพู ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ผลผลิตลดลง และต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งได้ง่าย
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ทั้งในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น และพื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง ยกเว้นพื้นที่ที่มีโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ใบ จุดนูน และโรคราสีชมพู ระบาดรุนแรง
|}
 
'''PB 260'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! PB 5/51 x PB 49
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง การแตกกิ่งสมดุลยดี กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก พุ่มใบทึบ อายุมากทิ้ง กิ่งด้านล่าง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง ทรงพุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปรี เริ่มผลัดใบ ค่อนข้างช้า
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดี และระหว่างกรีดการเจริญเติบโตปาน กลาง เปลือกเดิมหนาปานกลาง เปลือกงอกใหม่บาง ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีด เฉลี่ย 322 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 32 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.26 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.36 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 19.90 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 25.53 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคเส้น ดำในระดับปานกลาง ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู ต้านทานต่อลมในระดับ ค่อนข้างดี
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง ต้านทานดีต่อโรคราสีชมพู และต้านทานลม ค่อนข้างดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || ไม่แนะนำการกรีดที่มีวันกรีดติดต่อกัน เพราะจะทำให้ต้นยางแสดงอาการ เปลือกแห้งได้ง่าย
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป
|}
 
'''RRIC 110'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! LCB1320 X RRIC 7
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ลักษณะลำต้นตรง ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก พุ่มใบทึบ อายุ มากทิ้งกิ่งด้านล่าง เหลือกิ่งขนาดใหญ่ 2 – 3 กิ่ง ทำให้พุ่มใบค่อนข้างบาง ทรง พุ่มมีขนาดใหญ่เป็นรูปพัด เริ่มผลัดใบช้า
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || ในระยะก่อนเปิดกรีดการเจริญเติบโตดีมาก และระหว่างกรีดการเจริญเติบโต ปานกลาง เปลือกเดิมหนาและเปลือกงอกใหม่บาง ผลผลิตเนื้อยาง 10 ปีกรีด เฉลี่ย 324 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี สูงกว่าพันธุ์ RRIM 600 ร้อยละ 27 ในช่วงอายุ 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วนลำต้น 0.29 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.40 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 21.86 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่และ 27.55 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ มีจำนวนต้นเปลือกแห้งปานกลาง ต้านทาน โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี ต้านทานต่อโรคราแป้ง โรคใบ จุดนูน โรคเส้นดำ และโรคราสีชมพูในระดับปานกลาง ต้านทานลมในระดับ ปานกลาง
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง การเจริญเติบโตดีมากในระยะก่อนเปิดกรีดต้น ยางทำให้เปิดกรีดได้เร็ว ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || เปลือกบาง และน้ำยางเมื่อนำไปทำเป็นยางแผ่นดิบสีค่อนข้างคล้ำ
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นในพื้นที่ลาดชัน พื้นที่ที่มีหน้าดินตื้น พื้นที่ที่มี ระดับน้ำใต้ดินสูง และพื้นที่ลมแรง
|}
 
'''กลุ่ม 3 : พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง'''
 
'''ฉะเชิงเทรา 50'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! RRIC 110 ill.
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมปลายใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปกรวย ในช่วงยาง อ่อนแตกกิ่งขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก การแตกกิ่งอยู่ในระดับสูง ลักษณะการแตกกิ่งสมดุล รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม ทรงพุ่มขนาด ค่อนข้างใหญ่ เริ่มผลัดใบเร็ว
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || การเจริญเติบโตดีมาก ในช่วงอายุ 6 ปี มีปริมาตรไม้ในส่วนท่อนซุง 0.11 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.76 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ต้านทานโรคใบร่วงที่ เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราและโรคราแป้งระดับปานกลาง ต้านทานโรคใบจุด นูนระดับดี
|-
| ลักษณะดีเด่น || ผลผลิตเนื้อไม้สูง ต้านทานโรคใบจุดนูนระดับดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || -
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป
|}
 
'''BPM 1'''
{| class="wikitable"
|-
! แม่ - พ่อพันธุ์ !! AVROS 163 x AVROS 308
|-
| ลักษณะประจำพันธุ์ || ใบมีรูปร่างป้อมกลางใบ สีเขียวเข้ม ฉัตรใบลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลม ในช่วงยางอ่อนแตกกิ่งระดับต่ำ การแตกกิ่งสมดุลย กิ่งมีขนาดเล็กจำนวนมาก ทรงพุ่มเป็นรูปกรวย พุ่มใบทึบ เมื่ออายุมากทิ้งกิ่งเหลือกิ่งขนาดใหญ่ 3 – 5 กิ่ง ในระดับสูง ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง รูปทรงลำต้นตรง มีลักษณะกลม เริ่มผลัดใบ เร็ว
|-
| ลักษณะทางการเกษตร || การเจริญเติบโตดีมาก ในช่วงอายุ 6 ปี 15 ปี และ 20 ปี ให้ผลผลิตเนื้อไม้ส่วน ลำต้น 0.10 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น 0.31 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น และ 0.43 ลูกบาศก์เมตรต่อต้น คิดเป็น 7.12 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ 22.91 ลูกบาศก์ต่อไร่ และ 28.73 ลูกบาศก็เมตรต่อไร่ตามลำดับ ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อ ไฟทอปโทราระดับดี ต้านทานต่อโรคราแป้ง โรคใบจุดนูน และโรคราสีชมพู ระดับปานกลาง และต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
|-
| ลักษณะดีเด่น || การเจริญเติบโตดีมาก ต้านทานโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทราระดับดี และต้านทานลมในระดับค่อนข้างดี
|-
| ข้อจำกัด/ข้อควรระวัง || -
|-
| พื้นที่แนะนำ || ปลูกได้ในพื้นที่ทั่วไป ยกเว้นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ
|}
 
'''พันธุ์ยางพาราในภาคใต้'''
*ภาคใต้เขตฝั่งตะวันตก ได้แก่จังหวัดระนอง ภูเก็ต พังงา ส่วนใหญ่ของจังหวัดกระบี่ ตอน เหนือของจังหวัดตรัง และทางตอนใต้ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,000 – 5,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 161 – 227 วันต่อปี อาจจะมีลมแรงที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อต้นยางในบางพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการเลือกพันธุ์ยางเพื่อปลูกใน เขตนี้ คือโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา โรคเส้นดำ และโรคใบจุดนูน ที่โดยส่วนใหญ่เกิดกับต้นยางอายุน้อย
*พันธุ์ยางที่แนะนำ กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226 BPM 24
*กลุ่ม 2 PB 235 PB 260 RRIC 110
*ภาคใต้เขตตอนกลาง ได้แก่ จังหวัดชุมพร พื้นที่ทางด้านตะวันออกและส่วนกลางของจังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ด้านตะวันออกของจังหวัดกระบี่ ตรัง (ยกเว้นทางตอนเหนือ) พัทลุง สงขลา (ยกเว้นบริเวณชายแดนที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย) พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 1,800 – 2,600 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 159 – 174 วันต่อปี เป็นเขตที่ไม่มีข้อจำกัด ในการเลือก พันธุ์ยาง สามารถปลูกได้ทุกพันธุ์ที่แนะนำ
*ภาคใต้เขตตอนใต้ ได้แก่จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ยกเว้นบริเวณที่อยู่ติดเขต ชายแดนของประเทศมาเลเซีย) พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝน ระหว่าง 2,000 – 3,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 159 – 174 วันต่อปี เขตนี้อาจมีปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอป โทรา โรคเส้นดำ และโรคจุดนูนในบางปีที่มีปริมาณน้ำฝนมาก และบางพื้นที่ในจังหวัดยะลา และ นราธิวาสอาจมีปัญหาเนื่องจากสภาพลมแรง
*พันธุ์ยางที่แนะนำ กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251 สถาบันวิจัยยาง 226 BPM 24
กลุ่ม 2 PB 235 PB 260
หมายเหตุ บางพื้นที่ในจังหวัดยะลา และนราธิวาส ที่มีลมแรงไม่ควรปลูกยางพันธุ์ สถาบันวิจัย ยาง 251
*ภาคใต้เขตชายแดน ได้แก่จังหวัดสตูล บางส่วนของจังหวัดสงขลา ยะลา นราธิวาส และบริเวณ ชายแดนที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย พื้นที่ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 2,500 – 3,000 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตก 165 – 175 วันต่อปี มีการระบาดของโรคราสีชมพู โรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา และโรคเส้นดำ
*พันธุ์ยางที่แนะนำ กลุ่ม 1 สถาบันวิจัยยาง 251 BPM 24 RRIC 110
กลุ่ม 2 PB 260
 
 
== การกรีดยาง ==
เส้น 51 ⟶ 255:
 
== อ้างอิง ==
{{http://www.arda.or.th/kasetinfo/south/para/controller/01-02.php}}
{{รายการอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ยาง|พ]]