ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำไย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Robotkung (คุย | ส่วนร่วม)
Robotkung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 47:
*** ''ลำไยอีแห้ว-ยอดแดง'' มีใบอ่อนสีแดง เมล็ดมีขนาดปานกลาง
*** ''ลำไยอีแห้ว-ยอดเขียว'' เมื่อแตกใบอ่อนมียอดสีเขียว ผลกลมใหญ่, หัวเบี้ยว เนื้อกรอบแต่ไม่หวาน
*** '''ลำไยอีเหลือง''' มีทรงพุ่มค่อนข้างกลม ออกผลดก กิ่งเปราะหักง่ายเมื่อมีผลดก ผลค่อนข้างกลมมีเนื้อสีขาวนวล เมล็ดกลม
*** '''ลำไยพวงทอง''' เป็นพันธุ์ที่ช่อดอกขนาดใหญ่กว้าง ผลทรงค่อนข้างกลมและเบี้ยวเล็กน้อย ผิวสีน้ำตาลมีกระสีน้ำตาล เนื้อหนา กรอบ สีขาวครีม รสหวาน เมล็ดขนาดปานกลางและแบน ปลูกมากในภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม, สมุทรสาคร สันนิฐานว่ากลายพันธุ์จากเมล็ดมาจากลำไยกระโหลกและลำไยอีดอ
*** '''ลำไยเพชรสาครทวาย''' สามารถออกดอกมากกว่าหนึ่งครั้งต่อปี มีใบขนาดเล็ก เรียวแหลม ออกดอกและให้ผลผลิตปีละ 2 รุ่น คือรุ่นแรกออกดอกราวเดือนธันวาคม-มกราคม และเก็บผลได้ประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน, รุ่นที่สองออกดอกราวเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เก็บเกี่ยวผลได้ในเดือนธันวาคม-มกราคม ผลกลม เปลือกบาง เนื้อมีสีขาวฉ่ำน้ำ
*** '''ลำไยปู่มาตีนโค้ง''' มีผลสวย ผลมีขนาดใหญ่สีเขียว ให้ผลดก แต่คุณภาพและรสชาดไม่ดี มีกลิ่นคาว เป็นสายพันธุ์ที่ไม่นิยมปลูกจึงหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์สูง มักพบในสวนลำไยรุ่นเก่าๆ
 
* '''2. ลำไยกระดูก หรือลำไยพื้นเมือง''' เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ 13.75% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อยเพราะไม่นิยมปลูก เนื่องจากไม่มีราคา มีหลายสายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
บรรทัด 62:
* '''6. ลำไยขาว''' เป็นลำไยพันธุ์โบราณหายาก ในครั้งหนึ่งเชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ.2554 ได้มีการตามหาและตอนกิ่งขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง ผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว เนื้อสีขาวใส เมล็ดลีบ รสหวาน <ref>เศรษฐมันต์ กาญจนกุล. ''ลำไยขาว'' ใน ผลไม้ในเมืองไทย. กทม. เศรษฐศิลป์. 2555 หน้า 104 - 105</ref>
 
และยังมีลำอีกอยากหลายชนิดที่ยังไม่ถูกจำแนก เช่น ลำไยใบหยก, ลำไยอีสร้อย, ลำไยตอหลวง, ลำไยเพรชน้ำเอก, ลำไยพวงเพชรบ้านแพ้ว เป็นต้น ฯลฯ
 
== ประโยชน์ของลำไย ==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลำไย"