ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูหัวกะโหลก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 31:
อดีตเคยถูกจัดให้เป็นงูเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ใน[[genus|สกุล]] ''Homalopsis''<ref>{{ITIS|id=700430|taxon=''Homalopsis''}}</ref> แต่ปัจจุบันได้มีการจำแนกออกใหม่เป็น 5 ชนิด<ref>{{aut|John C. Murphy, Harold K. Voris, B.H.C.K. Murthy, Joshua Traub & Christina Cumberbatch.}} 2012: The masked water snakes of the genus ''Homalopsis'' Kuhl & van Hasselt, 1822 (Squamata, Serpentes, Homalopsidae), with the description of a new species. [[ISSN 1175-5326|''Zootaxa'']], '''3208''': 1–26. [http://mapress.com/zootaxa/2012/f/z03208p026f.pdf Preview]</ref>
 
== ลักษณะ ==
งูหัวกะโหลก เป็นสัตว์ชนิดแรก ๆ ชนิดหนึ่งที่ได้รับการ[[อนุกรมวิธาน]] มีลวดลายสีน้ำตาลอ่อนที่ส่วนหัวแลคล้ายหัวกะโหลก อันเป็นที่มาของชื่อเรียก มีรูจมูกที่อยู่ด้านบนของส่วนหัวเพื่อสะดวกในการหายใจเมื่อขึ้นมาจาก[[น้ำ]] เกล็ดที่ท้องมีพัฒนาการดี สามารถทำให้เลื้อยบนบกได้อย่างคล่องแคล่ว
 
มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ในชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำ แม้กระทั่งตอนออกลูก ลูกงูแรกเกิดมีลายเหมือนตัวเต็มวัย แต่จะมีความต่างของสีมากกว่าโดยส่วนที่เป็นสีอ่อนในงูแรกเกิดมักเป็นสีชมพู เมื่อโตขึ้นสีจะเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ในงูขนาดใหญ่แทบจะไม่เห็นลายบนตัว
 
== ถิ่นที่อยู่ ==
พบกระจายพันธุ์ใน[[เอเชียใต้]]และ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]]ในแหล่งน้ำ สำหรับใน[[ประเทศไทย]] งูหัวกะโหลกมักจะอาศัยตามแหล่งน้ำนิ่ง น้ำไม่ไหลเชี่ยว ต่างกับพื้นที่[[ภาคใต้]]ที่มักจะอาศัยอยู่ใน[[ลำธาร]]หรือโตรกธารน้ำไหล โดยจะหลบตัวอยู่ตามซอกหินเพื่อไม่ให้กระแสน้ำพัดพาไป หากิน[[สัตว์น้ำ]]และ[[สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ]]เช่น [[ปลา]], [[กบ]] เป็นอาหาร โดยพฤติกรรมการล่าเหยื่อมีทั้งแบบซ่อนอยู่นิ่ง ๆ ให้เหยื่อเข้ามาหาเอง และบุกจู่โจมเหยื่อเอง
 
== พฤติกรรม ==
เป็นงูที่มีนิสัยไม่ดุร้าย มีพิษที่อ่อนมาก ไม่ปรากฏว่าทำร้ายมนุษย์ได้ ผู้ที่โดนกัดจะมีแผลเพียงเลือดออกเท่านั้น จึงนิยมเลี้ยงกันเป็น[[สัตว์เลี้ยง]]สำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน นอกจากนี้แล้ว งูหัวกะโหลกยังใช้ประโยชน์จากหนังบนหัวในเชิงอุตสาหกรรมเครื่องหนัง อีกด้วย<ref>{{aut|มนตรี สุมณฑา}}, ''งูหัวกะโหลก หรืองูเหลือมอ้อ (Homalopsis buccata (Linneaus, 1758))'' คอลัมน์ Exotic Pets หน้า 152-155 นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 21 ปีที่ 2: [[มีนาคม]] [[ค.ศ. 2012]]</ref> ที่เวียดนาม มีเกษตรกรรายหนึ่งได้เลี้ยงงูหัวกะโหลกเพื่อส่งขาย ทำรายได้ดี โดยมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 80,000–100,000 ด่ง (3.8–4.7 ดอลลาร์) ต่อกิโลกรัม ในงูตัวเล็กน้ำหนัก 80–100 กรัม หรือราว 1 ขีด<ref>{{cite web|url=http://www.manager.co.th/Indochina/ViewNews.aspx?NewsID=9570000119071|title= ชี้ช่องรวย.. เลี้ยงงูขายฟันกำไรปีละล้านไม่ยาก เกษตรกรเวียดนามไม่หวงวิชา|date=16 October 2014|accessdate=4 December 2014|publisher=ผู้จัดการออนไลน์}}</ref>