ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
 
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองชื่อว่า [[เมืองพนม]]หรือ[[เมืองธาตุพนม]] (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายสำนวนนิยมเขียนว่า
พระนม ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ แผนเมืองเวียงจันทน์ ใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า [[พนม]]<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref> ในจารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า [[ธาตุประนม]]<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓ - พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> ในจารึกศิลาเลกบูรณพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า ภนม นับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่บริเวณลุ่มน้ำโขงที่มีอาณาเขตกินไปถึงปากเซบั้งไฟทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาหลังเมืองศรีโคตรบูรและก่อนเมืองมรุกขนครเล็กน้อย ก่อตั้งก่อนรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองในอาณาเขตจังหวัดนครพนม มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม และในตัวเมืองปรากฏโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยศรีโคตรบูร (ทวารวดีอีสาน) สมัยจามปา สมัยขอม และสมัยล้านช้างทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจัดกระจายทั่วไปหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูร (ทวารวดีอีสาน) นั้นค้นพบว่ามีมากกว่า ๘ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมืองและตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบหลักศิลาจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรร่วมสมัยกับยุคทวารวดีที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง จารึกคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา <ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> ในอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เมืองพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาทั้ง ๕ นคร คือหลังจากได้มีการสร้างอูบมุงภูกำพร้าเสร็จแล้ว เจ้าพระยาทั้ง ๕ ได้ให้คนไปนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่างๆ เพื่อเป็นหลักเขตหมาย[[เมืองมงคลในชมพูทวีป]]<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนหลายหมู่บ้าน นับจากยุคแรกเริ่มจนปฏิรูปการปกครองมีจำนวนมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายหมู่บ้านตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางการปกครองที่บ้านธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุตามคติตรีบูรของขอมโบราณ โดยมีวัดหัวเวียงรังสีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง
 
คำว่า พนม มาจากภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]] จารึกบางแห่งเขียนเป็น พระนม (พฺระนม)<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า ปะนม หรือ [[ประนม]] คนท้องถิ่นจึงนิยมออกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับเมืองละคร (เมืองนครพนม) ในสมัยโบราณเรียกบริเวณที่ตั้งศูนย์กลางเมืองแห่งนี้ว่า [[กปณคีรี]] (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) คนทั่วไปออกนามว่า [[ภูกำพร้า]] เมืองพนมเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาธาตุโบราณอันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า [[พระมหาธาตุเจ้าพระนม]]หรือธาตุภูกำพร้า คนทั่วไปออกนามว่า ธาตุปะนม<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> ปัจจุบันคือ [[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า วัดพนม วัดธาตุ หรือวัดพระธาตุ นับถือกันมาแต่โบราณว่าพระมหาธาตุแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า) และชาวลาวเชื่อว่าเป็นพระธาตุเจดีย์แห่งแรกของลาว ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่า ธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว <ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่า ก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายจากการเผานครเวียงจันทน์ของสยามได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอนุวงษ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนตำนานบ้านชะโนดนั้นยกย่องว่า ธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว <ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> ตำนานโบราณของพระพุทธศาสนาในล้านช้างก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม มีความเชื่อว่า ธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า [[ธาตุนกคุ่ม]] (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) <ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ในพื้นตำนานขุนบุรมราชาธิราชของลาวกล่าวว่า เมืองพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนาของสุวรรณภูมิประเทศที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย หลักฐานบางแห่งออกนามเมืองเป็นสร้อยต่อท้ายเมืองมรุกขนครว่า มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี (มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. '''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน'''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref>
บรรทัด 33:
ตำนานโบราณของเมืองธาตุพนมกล่าวว่า ในสมัย[[พระยานันทเสน]]เจ้า[[เมืองศรีโคตรบูร]] (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖ ) พระองค์ทรงแต่งตั้งเจ้า ๓ พี่น้องซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ให้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยแบ่งออกเป็น ๓ กอง ได้แก่ เจ้าแสนเมือง ปกครองกองข้าโอกาสนอกกำแพงพระมหาธาตุ เจ้าเมืองขวา ปกครองกองข้าโอกาสในกำแพงพระมหาธาตุ เจ้าโต่งกว้าง ปกครองกองข้าโอกาสฝั่งซ้ายน้ำโขงตลอดจนปาก[[น้ำเซ]]ไหลตกปาก[[น้ำก่ำ]] เจ้านายทั้ง ๓ พระองค์นี้ ต่อมาได้รับการยกย่องให้เป็น[[มเหศักดิ์]][[หลักเมือง]]ธาตุพนมสืบมาจนถึงปัจจุบัน และนับถือกันกว่าทรงเป็นวิญญาณบรรพบุรุษรุ่นแรกของข้าโอกาสพระธาตุพนม เรียกว่า [[เจ้าเฮือนทั้ง ๓]] หรือ [[เจ้าเฮือน ๓ พระองค์]] ต่อมาในสมัยพระยาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนคร (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) พระองค์ได้แต่งตั้งให้มีนายด้านนายกองรักษาเมืองพนม พร้อมทั้งมอบเงินทองให้เป็นเครื่องตอบแทน ต่อมาเมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในสมัยล้านช้างตอนต้นคือรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-พ.ศ. ๒๐๙๐) เมืองพนมถูกปกครองโดยขุนนางข้าหัตบาสใกล้ชิดของพระเจ้าโพธิสาลราชจากราชสำนักเมืองหลวงพระบางนามว่า [[พันเฮือนหิน]] พร้อมทั้งได้รับพระราชทานบริวารคอยติดตามจำนวนมากให้อีกราว ๓๐ นาย จนเป็นที่ระแวงสงสัยแก่ขุนพันกินเมืองทั้งหลายในแถบนั้น นอกจากนี้พระเจ้าโพธิสาลราชยังตั้ง [[พันชะเอ็ง]] ([[ข้าชะเอ็ง]]) พี่ชายของพันเฮือนหินให้เป็นผู้ช่วยรักษาพระธาตุพนมร่วมกันด้วย <ref>พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), ''อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร) ''. กรุงเทพฯ. ๒๕๓๗.</ref> จากนั้น ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. ๒๐๙๑ - พ.ศ. ๒๑๑๔) พระองค์ได้เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมที่เมืองพนมพร้อมทั้งโปรดเกล้าแต่งตั้ง[[พระยาธาตุพระนม]]ขึ้นเป็นเจ้าโอกาสรักษานครพระมหาธาตุพนม ต่อมาในสมัยหลังพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ [[เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก]]สังฆราชแห่งเวียงจันทน์ได้อพยพผู้คนจากนครเวียงจันทน์บางส่วนมาถวายไว้เป็นข้าพระธาตุพนมจำนวนมาก พร้อมทั้งต่อเติมเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้น ในตำนานบ้านดงนาคำซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกล่าวว่า เจ้าราชครูหลวงได้ตั้งให้พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ๔ รูปปกครองวัดวาอารามทั้ง ๔ ทิศในเขตเมืองพนม เรียกกันต่อมาว่า [[เจ้าด้านทั้ง ๔]] จากนั้นทรงขออนุญาตเจ้านายผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง ให้เป็นผู้นำพาประชาชนจากเวียงจันทน์ออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อให้ข้าโอกาสพระธาตุพนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ [[แสนกลางน้อยศรีมุงคุล]]หัวหน้าข้าโอกาสให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านหมากนาว<ref>เชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันกับอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม แต่เมื่อเทียบศักราชช่วงที่ปกครองแล้วห่างกันมาก</ref> [[แสนพนม]]ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงใน [[แสนนามฮาช]]ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงนอก ทั้งสามท่านยังเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสพระธาตุพนมทั้งสองฝั่งโขงสืบมาจนปัจจุบัน<ref>พระเทพรัตนโมลี, ''เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๘.</ref>
 
ภายหลังการสถาปนาราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์แล้ว (พ.ศ. ๒๒๕๖) เมืองพนมได้กลายเป็นเมืองชายพระราชอาณาเขตหรือ[[เมืองขอบด่าน]] ต่อเขตแดนระหว่าง[[ราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์]]และ[[ราชอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์]] โดยมีเมืองละคร ([[นครพนม]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[เวียงจันทน์]] และมีเมืองบังมุก ([[มุกดาหาร]]) ซึ่งขึ้นกับนคร[[จำปาศักดิ์]] ทั้งสองเมือง เป็นผู้ร่วมกันรักษาดูแลเมืองพนม โดยแบ่งเขตแดนเมืองกันที่หน้าลานพระบรมธาตุเจ้าพนม ทำนองเดียวกันกับพระธาตุศรีสองรักแห่งเมืองด่านซ้าย ซึ่งเป็นเมืองขอบด่านต่อแดนระหว่างราชอาณาจักรศรีสัตนาคนหุตและราชอาณาจักรศรีอยุธยา<ref>http://place.thai-tour.com/loei/dansai/271</ref> ดังนั้นเมืองพนมจึงมีสถานะพิเศษแตกต่างจากหัวเมืองหลายเมืองในแผ่นดิน[[ลาว]]และ[[อีสาน]]<ref>http://www.thatphanom.com/2300.html</ref> อย่างไรก็ตาม โดยราชธรรมเนียมแล้วเจ้าเมืองนครพนมมักมีอำนาจในการแต่งตั้งเจ้านายชั้นสูงมาปกครองเมืองพนม อันเนื่องมาจากเมืองมุกดาหารเป็นหัวเมืองที่มีอำนาจน้อยกว่า ในจารึกลานเงินพระธาตุพนมสมัยปลายรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชหรือสมัยพระยาจันทสีหราช (พระยาเมืองแสน) กล่าวว่าเจ้านครวรกษัตริย์ขัติยราชวงศา (พ.ศ. ๒๒๓๘) ได้สิทธิพระพรนามกรมาให้ [[แสนจันทรานิทธสิทธิมงคลสุนทรอมร]] สันนิษฐานว่าแสนจันทรานิทธผู้นี้คือขุนโอกาสเมืองพนมในสมัยนั้น ต่อมาในสมัยปลายอยุธยา เมืองพนมได้ถูกปกครองโดยกลุ่มตระกูลเจ้านายจากราชวงศ์เวียงจันทน์พระนามว่า [[ขุนเจ้าพระรามราชรามางกูร]]ขุนโอกาส (ราม รามางกูร)]] ซึ่งในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมออกพระนามเต็มว่าพระอาจชญาหลวงเจ้าพระรามราชปราณีสีสุธมฺมราชา สหสฺสาคามเสลามหาพุทฺธปริษทฺทะบัวระบัติ โพธิสตฺวขัตฺติยวรราชวงศา พระหน่อรามาพุทธังกูร เจ้าเอากาสศาสนานครพฺระมหาธาตุเจ้าพฺระนม พิทักษ์บุรมมหาเจติย วิสุทฺธิรตฺตนสถาน คนทั่วไปออกนามว่าเจ้าพ่อขุนรามหรือเจ้าพ่อขุนโอกาส (พ.ศ. ๒๒๙๑ – พ.ศ. ๒๓๗๑) จากนั้นพระโอรสของพระองค์คือ อาชญา[[หลวงกลางน้อยเจ้าพระรามราชปราณีศรีวรมงคล]]มหาพุทธปริษัท (ศรี รามางกูร)]] หรืออาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล ก็ทรงปกครองธาตุพนมต่อจากพระองค์ เจ้านายทั้ง ๒ พระองค์เป็นต้นตระกูล [[รามางกูร]] แห่งอำเภอธาตุพนม และเป็นเชื้อสายของสมเด็จพระเจ้าสิริบุญสารพระมหากษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ รวมทั้งเป็นญาติใกล้ชิดกับเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ด้วย ตระกูลนี้มีอำนาจบทบาทปกครองธาตุพนมสืบได้อีกอย่างน้อย ๔ ชั่วอายุคนและถือเป็นต้นตระกูลเก่าแก่หลายตระกูลของอำเภอธาตุพนมในปัจจุบัน เช่น ตระกูลบุคคละ ประคำมินทร์ [[จันทศ]] มันตะ สารสิทธิ์ ลือชา ทามนตรี ทศศะ พุทธศิริ รัตโนธร ครธน สุมนารถ มนารถ อุทา สายบุญ เป็นต้น ตระกูลเหล่านี้ถือเป็นกลุ่มตระกูลใหญ่ที่มีบทบาททำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในเมืองธาตุพนมและวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เจ้านายและนายกองตลอดจนกรมการเมืองที่ปกครองธาตุพนมในยุคต่อๆ มามักมีความสัมพันธ์เกี่ยวดองทางเครือญาติกับกลุ่มตระกูลนี้ <ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref> อย่างไรก็ตาม ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวถึงจำนวนผู้ปกครองเมืองพนมโดยพิศดารว่า มีขุนโอกาสหรือขุนพนม (บ้างออกนามว่าเจ้าพระนม, เพียพระนม, กวานพนม) ปกครองเมืองพนมมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓๐ องค์จากราชวงศ์ศรีโคตรบูรซึ่งสืบเชื้อสายผ่านทางเจ้าเฮือนทั้ง ๓ พระองค์
 
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๓๔๘-พ.ศ. ๒๓๗๑) เมืองพนมได้เกิดปัญหาการถูกรุกรานจากการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนม อันเนื่องมาจากสยามได้ให้อำนาจเจ้าเมืองนครราชสีมาและเมืองกาฬสินธุ์มาสักเลขข้าพระธาตุพนม จนได้รับความเดือนร้อนวุ่นวายและกลายเป็นหนึ่งในชนวนเหตุสงครามเจ้าอนุวงศ์ด้วย<ref>ทรงพล ศรีจักร์. ''เพ็ชรพื้นเมืองเวียงจันทน์ : พงศาวดารลาวตอนเวียงจันทน์แตก''. กรุงเทพ. ๒๔๗๙. </ref> ปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมนี้ยืดเยื้อยาวนานมาจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเจ้าเมืองทั้ง ๓ คือเมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร และเมืองสกลนครได้แย่งชิงข้าเลขพระธาตุพนมไปเป็นข้าเลขเมืองของตน (พ.ศ. ๒๔๓๒)<ref>เอกสาร ร.๕ ม.๒ (๑๒ ก.) เล่ม ๒๐ ร.ศ. ๑๐๗ หอจดหมายเหตุแห่งชาติ. </ref> เอกสารต่างชาติเรื่องบันทึกการเดินทางในลาว ตรงกับสมัยอาณานิคมฝรั่งเศสของหัวเมืองลาวฝั่งซ้ายกล่าวถึงสาเหตุการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่า เดิมเมืองพนมเป็นเมืองอิสระจากอำนาจรัฐ (ก่อน พ.ศ. ๒๔๒๔) หลังการวิวาทของเจ้านายท้องถิ่นแล้ว ทางธาตุพนมจึงมีการขอความคุ้มครองจากเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร เป็นเหตุให้ข้าพระธาตุพนมจำนวนมากถูกแย่งชิงไปขึ้นกับเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร จนไม่เป็นที่พอใจแก่ประชาชนชาวธาตุพนม และเป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองธาตุพนมไม่สามารถตั้งเจ้าเมืองได้ในชั่วระยะเวลาหนึ่ง พร้อมทั้งไม่สามารถตั้งธาตุพนมให้เป็นเมืองในขอบขัณฑเสมาสยามได้ ต่อมาเจ้านายท้องถิ่นได้พยายามขอความคุ้มครองจากสยามแทน ในพื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนมกล่าวว่า ชนวนการวิวาทครั้งนี้เกิดจากการแย่งชิงกันขึ้นปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมของพระอัคร์บุตร (บุญมี บุคคละ) พระอุปฮาต (เฮือง รามางกูร) และพระปราณีศรีมหาพุทธบริษัท (เมฆ รามางกูร) ซึ่งทั้ง ๓ ต่างเป็นทายาทญาติใกล้ชิดของเจ้านายเดิมผู้ปกครองธาตุพนม<ref>มหาดวง รามางกูร (ท้าวดวง บุคคละ), "พื้นประวัติวงศ์เจ้าเมืองพนม (ประวัติตระกูลรามางกูรแห่งเมืองธาตุพนม)".ม.ป.ท.. ม.ป.ป..</ref>อย่างไรก็ตาม ในอุรังคธาตุฉบับม้วนอานิสงส์ ได้กล่าวถึงปัญหาการแย่งชิงข้าเลกพระธาตุพนมว่ามีมานานตั้งแต่สมัยก่อนเมืองมรุกขนครจะล่มสลายแล้ว ซึ่งสมัยนั้นตรงกับรัชกาลของพระยานิรุฏฐราช เอกสารนี้แสดงให้เห็นว่า การที่เมืองมรุกขนครล่มสลายลงก็เนื่องมาจาก พระยานิรุฏราชเจ้าเมืองมรุกขนครเข้ามาแย่งชิงข้าพระธาตุพนมไปใช้สอยในราชการ<ref>อุดร จันทวัน, "ศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเรื่องอุรังคธาตุนิทาน : ภาษาทางศาสนาและอิทธิพลต่อสังคม".ม.ป.ท.. ๒๕๔๗.</ref>