ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Depanom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22:
== ประวัติศาสตร์ ==
 
อำเภอธาตุพนมเดิมมีฐานะเป็นเมืองชื่อว่า [[เมืองพนม]]หรือ[[เมืองธาตุพนม]] (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) ในพื้นอุรังคธาตุหลายสำนวนนิยมเขียนว่า
อำเภอธาตุพนมเดิมเรียกว่า [[เมืองพนม]]หรือ[[เมืองธาตุพนม]] (ภาษาอังกฤษ : M. Penom,<ref>ง้าวแถน ถนิมแก้ว. ''สงครามพันปีระหว่างลาวกับแกว''. ม.ป.ท.. ๒๕๔๒.</ref> Muong Peunom,<ref>E. Lefevre. ''Travels in Laos''. Bangkok. ม.ป.ป..</ref> Moeuong Dhatou Penom<ref>เอเจียน แอมอนิเย. ''บันทึกการเดินทางในลาวภาคสอง พ.ศ. ๒๔๔๐''. เชียงใหม่. ๒๕๔๑.</ref>) พระนม ในพงศาวดารย่อเมืองเวียงจันทน์ แผนเมืองเวียงจันทน์ ใบลานพงศาวดารเมืองมุกดาหาร และพงศาวดารล้านช้างออกนามเมืองว่า [[พนม]]<ref>องค์การค้าของคุรุสภา. ''ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๔ (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ (ต่อ)-๗๑) เรื่องเมืองนครจำปาศักดิ์ (ต่อ) พงศาวดารละแวก''. ม.ป.ท.. ๒๕๑๒.</ref> ในจารึกฐาปนาอูบสำริดเมืองจันทปุระของพ่อออกขนานโคษออกนามว่า [[ธาตุประนม]]<ref>ศิริวรรณ์ กาญจนโหติ. ''การสร้างคำในศิลาจารึกอีสาน ช่วง พ.ศ. ๒๐๗๓ - พ.ศ. ๒๔๖๖''. ม.ป.ท. ๒๕๓๒.</ref> ในจารึกศิลาเลกบูรณพระธาตุพนม พ.ศ. ๒๔๔๔ ออกนามว่า ภนม นับเป็นเมืองโบราณเก่าแก่บริเวณลุ่มน้ำโขงที่มีอาณาเขตกินไปถึงปากเซบั้งไฟทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาหลังเมืองศรีโคตรบูรและก่อนเมืองมรุกขนครเล็กน้อย ก่อตั้งก่อนรัชกาลพระเจ้าฟ้างุ้มมหาราชแห่งล้านช้าง (ก่อน พ.ศ. ๑๘๙๖) ก่อตั้งก่อนเมืองนครพนมและเมืองมุกดาหาร นับเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาหัวเมืองในอาณาเขตจังหวัดนครพนม มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์บริเวณตำบลกุดฉิม และในตัวเมืองปรากฏโบราณวัตถุในอารยธรรมหินตั้ง นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยศรีโคตรบูร (ทวารวดีอีสาน) และสมัยจามปา สมัยขอม และสมัยล้านช้างทั้งในตัวเมืองและปริมณฑลกระจัดกระจายทั่วไปหลายแห่ง เฉพาะหลักฐานสมัยศรีโคตรบูร (ทวารวดีอีสาน) นั้นค้นพบว่ามีมากกว่า ๘ แห่ง ทั้งในตัวเมือง รอบตัวเมืองและตำบลใกล้เคียง นักโบราณคดีเชื่อว่าเมืองแห่งนี้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่สำคัญแห่งหนึ่งของดินแดนสุวรรณภูมิและภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากมีการค้นพบหลักศิลาจารึกใบเสมายุคศรีโคตรบูรร่วมสมัยกับยุคทวารวดีที่วัดศิลามงคล ตำบลพระกลางทุ่ง จารึกคาถา [[เย ธมฺมา]] เช่นเดียวกับที่ปรากฏในนครปฐม อู่ทอง และซับจำปา <ref>www.retc.ac.th/v3/programe/roiet57.pdf</ref> ในอุรังคธาตุนิทานกล่าวว่า เมืองพนมถูกก่อตั้งขึ้นโดยเจ้าพระยาทั้ง ๕ นคร คือหลังจากได้มีการสร้างอูบมุงภูกำพร้าเสร็จแล้ว เจ้าพระยาทั้ง ๕ ได้ให้คนไปนำหลักหิน หินรูปอัสสมุขี หินรูปม้าวลาหก และหินรูปม้าอาซาไนมาปักไว้ตามทิศต่างๆ เพื่อเป็นหลักเขตหมาย[[เมืองมงคลในชมพูทวีป]]<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคะทาด : นิทานอุรังคธาตุ ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> เมืองพนมประกอบด้วยหมู่บ้านข้าโอกาสจำนวนหลายหมู่บ้าน นับจากยุคแรกเริ่มจนปฏิรูปการปกครองมีจำนวนมากกว่า ๓๐ หมู่บ้าน หลายหมู่บ้านตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่มีศูนย์กลางการปกครองที่บ้านธาตุพนมซึ่งตั้งอยู่ที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขง ภายในตัวเมืองมีกำแพง ๓ ชั้นล้อมรอบเวียงพระธาตุตามคติตรีบูรของขอมโบราณ โดยมีวัดหัวเวียงรังสีตั้งอยู่ทิศหัวเมือง
 
คำว่า พนม มาจากภาษา[[เขมร]] แปลว่า [[ภูเขา]] จารึกบางแห่งเขียนเป็น พระนม (พฺระนม)<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169 </ref> ชาว[[ลาว]]ออกสำเนียงว่า ปะนม หรือ [[ประนม]] คนท้องถิ่นจึงนิยมออกนามเมืองว่า เมืองปะนม คู่กับเมืองละคร (เมืองนครพนม) ในสมัยโบราณเรียกบริเวณที่ตั้งศูนย์กลางเมืองแห่งนี้ว่า [[กปณคีรี]] (ภูเพียงกำพร้าเข็ญใจ) คนทั่วไปออกนามว่า [[ภูกำพร้า]] เมืองพนมเป็นที่ตั้งของพระบรมมหาธาตุโบราณอันเก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ชื่อว่า [[พระมหาธาตุเจ้าพระนม]]หรือธาตุภูกำพร้า คนทั่วไปออกนามว่า ธาตุปะนม<ref>อุดร จันทวัน. ''นิทานอุรังคธาตุ : ฉบับลาว''. ขอนแก่น. ๒๕๔๗.</ref> ปัจจุบันคือ [[พระธาตุพนม]] [[วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร]] ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า วัดพนม วัดธาตุ หรือวัดพระธาตุ นับถือกันมาแต่โบราณว่าพระมหาธาตุแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระอุรังคธาตุ (อรกธาตุหรือธาตุหัวอกของพระพุทธเจ้า) และชาวลาวเชื่อว่าเป็นพระธาตุเจดีย์แห่งแรกของลาว ในเอกสารพื้นเวียงจันทน์ยกย่องว่า ธาตุพนมคือ[[หลักโลก]]ของชาวลาว <ref>เอกสารพื้นเวียงจันทน์กล่าวว่า ก่อนราชวงศ์เวียงจันทน์จะล่มสลายจากการเผานครเวียงจันทน์ของสยามได้เกิดนิมิตอาเภทขึ้นคือ ยอดพระธาตุพนมหักลง ต่อมาสมเด็จพระเจ้าอนุวงษ์ได้เสด็จมายกยอดฉัตรขึ้นใหม่ จำนวนชั้นมี ๗ ชั้นเท่าของเดิม ภายหลังเมื่อสยามปกครองธาตุพนมแล้วจึงเปลี่ยนยอดฉัตรลงเหลือ ๕ ชั้นในปัจจุบัน</ref> ส่วนตำนานบ้านชะโนดนั้นยกย่องว่า ธาตุพนมคือ[[เสใหญ่]] (หลักเมือง) ของลาว <ref>เส หมายถึง เสาหลักหรือหลักเมือง</ref> ตำนานโบราณของพระพุทธศาสนาในล้านช้างก่อนการเข้ามาของพระพุทธศาสนาธรรมยุติกนิกายจากสยาม มีความเชื่อว่า ธาตุพนมคือสถานที่ประสูติและบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพระยานกคุ่มไฟ ทำให้ธาตุพนมมีอีกนามหนึ่งว่า [[ธาตุนกคุ่ม]] (พระวฏฺฏกธาตุนกคุ่ม) <ref>https://www.youtube.com/watch?v=DzuVAq-c6ng</ref> ในพื้นตำนานขุนบุรมราชาธิราชของลาวกล่าวว่า เมืองพนมเป็นเมืองสำคัญ ๑ ใน ๗ หัวเมืองทางศาสนาของสุวรรณภูมิประเทศที่ได้รับการประดิษฐานพระบรมธาตุก่อนหัวเมืองทั้งหลาย หลักฐานบางแห่งออกนามเมืองเป็นสร้อยต่อท้ายเมืองมรุกขนครว่า มะรุกขะนะคอน บํวอนพะนม ปะถมมะเจดี (มรุกขนคร บวรพนม ประถมเจดีย์)<ref>ดำรง พ. ทัมมิกะมุนี. '''พระพุทธศาสนาในประเทศลาว : ศึกษาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน'''. กรุงเทพ. : สุขภาพใจ. ๒๕๕๓. น. ๔๐.</ref>
 
ในคัมภีร์อุรังคธาตุได้กล่าวถึงสถานะของเมืองพนมว่าเป็น[[พุทธศาสนานคร]] หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองพนมจึงถูกเรียกว่า [[ศาสนานครนิทาน]] ดังนั้น ในจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองนี้ว่า [[ศาสนาพระนม]] สถานะการเป็นพุทธนครของเมืองพนมนั้น<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> หมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์หรือเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางศาสนา ศูนย์กลางทางจิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่างๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า เมืองเมกกะของลาว เมืองพนมเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]โบราณ และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเป็นเมือง[[กัลปนา]]แด่พระมหาธาตุเจ้าพระนม อีกนัยหนึ่งเรียกว่า เมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทาน หรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป ในจารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามผู้ปกครองธาตุพนมว่า [[ขุนโอกาส]] (ขุนเอากฺลาษฺ) <ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนม สถานะเช่นนี้เทียบได้กับบรรดาศักดิ์ของขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน [[ขุนโขลน]]<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> หรือเจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]]หรือเมืองสุนาปรันตประเทศ หัวเมืองชั้นจัตวาของฝ่ายสยาม<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref> และสามารถเทียบได้กับบรรดาศักดิ์[[โขลญพล]] (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระหรือเมืองลพบุรี ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> ลักษณะการปกครองเช่นนี้ยังพบว่าปรากฏอยู่ในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่งคือ เทียบได้กับสถานะของกวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองชนู เมืองที่ถูกแบ่งเขตกัลปนาแถบถ้ำสุวรรณคูหาในจังหวัดหนองบัวลำภู สมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> ในเอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่า ขุนโอกาสเมืองพนมนั้นเป็นเครือญาติใกล้ชิดกันกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างนั้นมีมากกว่าเจ้าเมืองในแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง