ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนเนื้อหาอาจละเมิดลิขสิทธิ์ หรือไม่เป็นสารานุกรม ไม่ใช่? แจ้งที่นี่
บรรทัด 8:
 
== นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ==
วิวัฒนาการการงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ 
จัดเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นตัวจักรสำคัญในการประสานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ ครอบครัวและผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือคนพิการที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ อาทิ ส่งต่อ แหล่งทรัพยากร  เงิน สิ่งของ และสวัสดิการของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรค รักษาพยาบาล /การดำเนินชีวิตหมายเหตุ สวัสดิการของรัฐ  ได้แก่  ปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย  การอาชีพ การศึกษา  ความมั่นคงทางสังคม  การสันทนากร  การบริการทางสังคมอื่น ๆ ตามสิทธิที่ประชาชนคนไทยพึงมี พึงได้ ตามกฎหมาย การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ การฟื้นฟูสมรรถทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม การประสานงานกับสวัสดิการสังคม องค์กรทางการแพทย์และองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ยังต้องพัฒนาศักยภาพคนพิการ ให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ เสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลคนพิการ ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือคนพิการอย่างเหมาะสม เป็นต้น
 
                 วิวัฒนาการการงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์  เริ่มต้นขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2495  ในเวลานั้น องค์การสหประชาติ ได้ส่งตัว นางสาว Eileen  Davidso35n  เข้ามาจัดตั้งสถานสงเคราะห์แม่และเด็กในประเทศไทย  (นงลักษณ์  เอมประดิษฐ์, 2530, น. 6-7) การปฏิบัติงานเน้นหนักที่ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยเป็นหลัก  มีการร่วมมือกันระหว่างองค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติ  ในการส่งทีมแพทย์ พยาบาล  นักสาธารณสุขศาสตร์ และนักสังคมสงเคราะห์ เข้ามาร่วมดำเนินการ   ตลอดระยะเวลา  62 ปี ที่นักสังคมสงเคราะห์  ทำหน้าที่ สนับสนุน  ส่งเสริมประชาชนให้มีสุขภาพดี (promotion) บำบัดรักษาสุขภาพอนามัย (cure) ป้องกันปัญหาสุขภาพ (prevention) และ ฟื้นฟูสุขภาพของประชาชน (rehabilitation)
 
 (นงลักษณ์  เอมประดิษฐ์, 2530, น. 2 และ ฉลวย  จุติกุล, 2544, น. 32-33)      จะเห็นได้ว่างานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นงานที่ทำงานกับประชาชนตั้งแต่ระดับปัจเจกชน ไปจนถึงระดับสังคม 
 
                การทำงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล ระยะเริ่มการปฎิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดส่วนภูมิภาค จนถึงระยะแผนพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่  4 ( พ.ศ.2520-2524)   งานสังคมสงเคราะห์เป็นแผนกงานอิสระขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลไม่ได้สังกัดฝ่ายหรือกลุ่มงานใด ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งฝ่ายเวชกรรมสังคมขึ้นในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป อย่างเป็นทางการ กิจกรรมที่นักสังคมสงเคราะห์ดำเนินการในโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค  ได้แก่ การให้บริการสงเคราะห์ผู้ป่วยเฉพาะราย การพิจารณาค่ารักษาพยาบาล การสัมภาษณ์และสอบประวัติการให้คำปรีกษาแนะนำผู้ป่วยที่มีปัญหาอารมณ์ จิตใจ  แฃะครอบครัวเป็นหลัก      หลัง ปี 2525   การปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ถูกรวมไว้เป็นหนึ่งในงานหนึ่งในโครงสร้างงานฝ่ายเวชกรรมสังคม   มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบและแนวทางในการปฎิบัติงาน จากการให้บริการสนับสนุนการรักษาพยาบาล ไปสู่การผสมผสานบริการไปในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งดำเนินการโดยฝ่ายเวชกรรมสังคม ครอบคลุมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน    เมื่อสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำหนังสือแนวทางการปฎิบัติงานโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดรายละเอียด งานของฝ่ายเวชกรรมสังคม และในส่วนงานสังคมสงเคราะห์ ได้ อธิบายลักษณะงานไว้ว่า   “ งานสังคมสงเคราะห์ ประกอบด้วย การสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว  การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและเอกชน การแนะนำปรึกษาการสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์และสาธารณสุขต่อคู่สมรส ครอบครัวคนพิการ หรือผู้มีปัญหาทางสังคมอื่นๆ” และกำหนดให้นักสังคมสงเคราะห์ให้บริการในงานเวชกรรมฟื้นฟูและงานจิตเวช 
 
                   ในปี 2528-2529 เมื่อโครงการพัฒนาระบบริการของสถานบริการและหน่วยงานสาธารณสุขในส่วนภูมิภาค (พบส.) คณะกรรมการพัฒนางานเวชกรรมสังคม ได้จัดทำขอบเขตงานและมาตรฐานกิจกรรมในงานสังคมสงเคราะห์ ของ รพศ/รพท ให้มีการปฎิบัติงานด้านการสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยและครอบครัว การประสานงาน และการให้คำปรึกษาแนะนำ ครอบคลุมทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน ซึ่งใช้เป็นแนวทางการฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ในช่วงนั้น   
 
                  ใน ปี พ.ศ. 2530-2534  ในระยะแผนสาธารณสุขฉบับที่ 6 กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้จัดทำแผนพัฒนาระบบริการเวชกรรมสังคม ซึ่งรวมกิจกรรมการพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ในแผนเดียวกัน ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานพัฒนางานเวชกรรม ซึ่งฝ่ายแผนงานและโครงการ กองโรงพยาบาลภูมิภาค เป็นหน่วยเลขานุการ  และในปี พ.ศ..2531 ระยะที่นายแพทย์ปัญญา สอนคม เป็นผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)  และนายแพทย์ศุภชัย คุนารัตพฤกษ์  เป็นหัวหน้าฝ่ายแผนงานโครงการ     ( ปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้ว)  กองโรงพยาบาลภูมิภาค มีการแต่งตั้งนักสังคมสงเคราะห์จากโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาค จำนวน 10 คน เป็นคณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์”  ทำให้เกิดเกณฑ์มาตรฐานในการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป  นอกจากเกณฑ์มาตรฐานในการทำงาน แล้วคณะทำงานดังกล่าว ยังทำหน้าที่พัฒนา ปรับปรุงงานสังคมสงเคราะห์  มีการจัดประชุมวิชาการประจำปี สร้างระบบสนับสนุนช่วยเหลือ นิเทศงาน ปฐมนิเทศงานให้กับผู้ปฎิบัติงานใหม่ พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล  ได้มีการพัฒนางานอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่นั้นมา (คู่มือการปฎิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป,2538  น.1-5)    
 
                 ปี พ.ศ. 2542 นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนามาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป โดยเริ่มจาก กองโรงพยาบาลภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเนื้อหาสาระสำคัญมาตรฐานและคู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้กำหนดประเภทงานสังคมสงเคราะห์ ไว้ 3 มาตรฐาน ได้แก่ แบ่งออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้
 
                   1)  มาตรฐานงานบริหารสังคมสงเคราะห์  ประกอบด้วย  จัดเตรียมสถานที่สำหรับการให้บริการที่เป็นสัดส่วนเหมาะสม  การจัดทำ/จัดหาเครื่องมือ/อุปกรณ์  การให้บริการสังคมสงเคราะห์  ได้แก่ คู่มือการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์  เครือข่ายการให้บริการสังคมสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ชัดเจนทั้งภาครัฐและเอกชน  การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์  โดยการมีนักสังคมสงเคราะห์ในการปฏิบัติงาน  และมีบุคลากรในงานสังคมสงเคราะห์ที่ผ่าน การอบรมหรือปฐมนิเทศเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ การบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนงานด้านสังคมสงเคราะห์ เกี่ยวกับการจัดให้มีคำอธิบายงาน/จัดทำแผนงานและแผนปฏิบัติซึ่งกำหนดการทำงานที่ชัดเจนรวมทั้งมีการจัดตั้งหรือ บริหารกองทุนสังคมสงเคราะห์ 
 
                   2)  มาตรฐานงานด้านวิชาการ  ประกอบด้วย การจัดทำทะเบียน/บันทึก การให้บริการสังคมสงเคราะห์  การจัดทำรายงานการนำเสนอข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์   การจัดทำวิเคราะห์ข้อมูลงานสังคมสงเคราะห์     การเผยแพร่ วิชาการ ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน
 
                   3 ) มาตรฐานงานด้านบริการ ประกอบด้วย   ประกอบด้วย 6 งาน คือ 1. งานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม 2. งานเฝ้าระวังปัญหาทางสังคม 3. งานส่งเสริมและฟืนฟูสมรรถภาพทางสังคม 4. งานจัดการและพัฒนาทรัพยากรทางสังคม 5. งานสังคมสงเคราะห์ชุมชน 6. งานสวัสดิการสาธารณสุข จึงทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ริเริ่มสร้างเครื่องมือในงานงานตรวจวินิจฉัยและงานบำบัดทางสังคม ขึ้นเป็นครั้งแรกเรียกว่า “แบบบันทึกผู้รับบริการสังคมสงเคราะห์ (สค.1)” และแบบรายงานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป (สค.3) และมีการนำไปทดลองใช้กับโรงพยาบาลในสังกัดกองโรงพยาบาลภูมิภาค สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
 
                  ปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ส่งผลให้เกิดการปฏิรูประบบราชการของกระทรวงสาธารณสุขและหลักประกันสุขภาพของประชาชน โดยปรับโครงสร้างการบริหารราชการส่วนกลาง กองโรงพยาบาลภูมิภาคได้ปรับเป็น สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และช่วงเวลานั้น ได้มีการออกกฎหมายใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้แก่ พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 พ.ร.บ. ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546  พ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546  พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ  พ.ศ. 2546 พ.ร.บ. ส่งเสริมการและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 และพ.ร.บ. สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เป็นต้น จากสถานการณ์ดังกล่าว นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้รวมตัวกันพัฒนา “แนวทางการดำเนินงานสวัสดิการสังคม เพื่อรองรับการปฏิรูประบบราชการและหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” จึงส่งผลให้คณะทำงานพัฒนางานสังคมสงเคราะห์ โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้มีการนำ บัญชีปัญหาทางสังคม (social problem list) มาใช้ในประเมินการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานงานสวัสดิการสังคมในมาตรฐานที่ 1 การวินิจฉัยและบำบัดทางสังคม (2546,น. 114)
 
                  ปี  พศ .2547   เกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย  ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547  เกิดความสูญเสียอย่างเอนกนันท์ต่อประเทศชาติ นักวิชาการทุกกลุ่ม ได้ตื่นตัวเกิดการเรียนรู้ถึงการพัฒนาการบริหารจัดการเมื่อเกิดภัยพิบัติ ในงานครั้งนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทีมงานหลายทีมงานลงไปช่วยปฎิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย  นักสังคมสงเคราะห์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เป็นบุคลากรอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้เข้าไปร่วมทำงานเพื่อร่วมทำงานเพื่อจัดบริการทางสังคมให้ประชาชนผู้ประสบภัยสีนามึ  หลังจากการทำงาน กลุ่มนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ถอดบทเรียนการทำงานและสร้างคู่มือการทำงานและแนวทางการทำงานในเหตุการณ์วิกฤติขึ้น  ในปี 2549   โดยได้รับสนับสนุนจาก กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ  กรมสุขภาพ และองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนได้ศึกษา เรียนรู้ และทำความเข้าใจ เพื่อช่วยให้การจัดบริการสังคมในเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมรองรับเหตุการณ์ภัยพิบัติที่มีโอกาสขึ้นในทุกพื้นที่ในประเทศไทย 
 
                  ปี  พศ.2551 – ๒๕๕๘     กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ โดยสำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพและคณะกรรมการพัฒนางานสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ได้จัดหนังสือคู่มือแนวทางการทำงาน ในสถานการณ์ทางด้านด้านสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่หน่วยงานสวัสดิการสังคม อยู่ภายใต้กำกับดูแลของกลุ่มภารกิจสนับสนุนบริการสุขภาพ  ทำหนังสือคู่มือเพื่อทวบทวนองค์ความรู้ สถานการณ์แนวโน้ม นโยบายและแผนงานที่สำคัญ แนวทางการให้บริการและการพัฒนางานคุณภาพงานสวัสดิการสังคม 
 
ลักษณะงานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
 
                    งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ เป็นสาขาหนึ่งของสังคมสงเคราะห์ ทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพในโรงพยบาล ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวถูกเรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ หรือ           นักสังคมสงเคราะห์ทางคลินิก ซึ่งเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือสาขาที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์รับรอง   เป็นงานที่มุ่งให้เกิดการดูแลทางสังคม  อารมณ์ และจิตใจ    (Psycho – Social  Care)  ของผู้ป่วย  ครอบครัว ชุมชน      การทำงานสังคมสงเคราะห์มีกลุ่มผู้ป่วยหลากหลาย มีปัญหาและความต้องการที่ต่างกัน งานสังคมสงเคราะห์ เป็นงาน ที่ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจในการทำงาน ที่เชื่อมโยงทีมผู้รักษา กับผู้ป่วยกับครอบครัวและระบบสภาวะแวดล้อม เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงทรัพยากร ประสานหน่วยงานอื่นในการแสวงหาและจัดบริการสวัสดิการที่เหมาะสมมาใช้ นำไปสู่การลดผลกระทบของปัญหาทางสังคมที่มีต่อผู้ป่วยและครอบครัว และสนับสนุน ผลักดันให้ผู้ป่วยคืนสู่ครอบครัวและสังคม สามารถใช้ชีวิตปกติในครอบครัว สังคมได้ 
 
              ลักษณะงานและความยุ่งยากซับซ้อนของาน สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ต้องใช้ความรู้และความสามารถในเชิงบริการ บริหาร วิชาการ   เพื่อให้มีการปฏิบัติตามนโยบายของทุกระดับ ได้อย่างตรงตามเป้าหมายและให้บุคลากรมีความสุขในการทำงาน ตลอดจนกระตุ้นให้มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
 
และ เป็นงานบริการที่มีความยุ่งยากและซับซ้อน กลุ่มเป้าหมายมีปัญหาทางสังคมมากกว่า ๑ ปัญหาและต้องใช้ความรู้และทักษะความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพเฉพาะ การปฏิบัติงานเป็นการช่วยเหลือผู้ป่วย และครอบครัวที่เผชิญกับแรงกดดัน (Stress) จากการเจ็บป่วย และสภาพการเจ็บป่วยนั้นมีผลให้เกิดความกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันและบุคคลรอบข้าง ดังนั้นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ทั้งนี้งานบริการสวัสดิการสังคม (Social Welfare  Services) เป็นบริการที่จัดโดยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ  ภายในและภายนอกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งมีระเบียบและข้อจำกัดในแต่องค์กรและหน่วยงาน ทำให้เป็นปัจจัยที่เอื้อและอุปสรรคในการช่วยเหลือผู้ป่วยและครอบครัว
 
               งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์เป็นงานบริการสังคมสงเคราะห์ด้านสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับปัญหาสังคม จิตใจและสภาพแวดล้อมของผู้ป่วยและครอบครัว ส่งผลให้บริการสุขภาพครอบคลุมทุกมิติ ดังนั้นต้องมีการปฏิบัติงานร่วมกันกับทีมบริการสุขภาพในแต่ละวิชาชีพ หลายสาขา การสื่อสารต้องละเอียดครบถ้วนแม่นยำ มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วย
 
                งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ด้านกฎหมาย  ซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับตามกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญและมีผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพที่งานสังคมสงเคราะห์ร่วมดำเนินการ  เช่น พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖  พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖  พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐  พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐  พ.ร.บ.สุขภาพจิต ๒๕๕๑  พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  พ.ศ. ๒๕๕๑   พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. ๒๕๓๕   พ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน  พ.ศ. ๒๕๓๗  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖  พรบ. ''ค่าตอบแทน''ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จําเลย''ในคดีอาญา''พ.ศ. ๒๕59  พรบ.''การป้องกัน''และแก้ไขปัญหา''การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น''. พ.ศ. ๒๕๕๙. '' ''  ฯลฯ
 
บทบาท นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
 
  บทบาทต่อผู้รับบริการและครอบครัว
 
      มีบทบาทในการแก้ไข ป้องกันปัญหาทางสังคมที่เชื่อมโยงกับภาวะการเจ็บป่วย  และสุขภาพ
 
อนามัย  ฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม  พัฒนาศักยภาพของผู้รับบริการ  ครอบครัว ให้สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ สาธารณสุข  และสวัสดิการทางสังคม
 
 บทบาทต่อหน่วยงาน  มีบทบาทหน้าที่ 3 ระดับคือ
 
-  ระดับฝ่าย/กลุ่มงานมีบทบาทในการวางแผนให้บริการและพัฒนาวิชาการ
 
-  ระดับโรงพยาบาล มีบทบาทในการร่วมวางแผนและปฏิบัติตามนโยบายของโรงพยาบาล
 
-  ระดับสถาบัน/กรม มีบทบาทในการรับและสนองนโยบายที่กำหนด        
 
           บทบาทต่อชุมชนและสังคม  มีบทบาทในการแก้ไข  ป้องกัน ปัญหาทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของชุมชนรวมทั้งมีบทบาทในการประสานทรัพยากรทั้งใน  และนอกชุมชนมาใช้เพื่อช่วยให้ชุมชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้
 
         บทบาทต่อการพัฒนาวิชาชีพ       มีบทบาทในการพัฒนาเทคโนโลยีทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม มีประสิทธิภาพและทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางสังคมให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
จัด              นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์เป็นส่วนหนึ่งของในทีม ผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัด เป็นตัวจักรสำคัญในการผู้ประสานงานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ ครอบครัวและผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือคนพิการที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ อาทิ ส่งต่อ แหล่งทรัพยากร  เงิน สิ่งของ และสวัสดิการของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรค รักษาพยาบาล /การดำเนินชีวิตหมายเหตุ สวัสดิการของรัฐ  ได้แก่  ปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย  การอาชีพ การศึกษา  ความมั่นคงทางสังคม  การสันทนากร  การบริการทางสังคมอื่น ๆ ตามสิทธิที่ประชาชนคนไทยพึงมี พึงได้ ตามกฎหมาย การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ การฟื้นฟูสมรรถทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม การประสานงานกับสวัสดิการสังคม องค์กรทางการแพทย์และองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ยังต้องพัฒนาศักยภาพคนพิการผู้ป่วย   ให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ ทั้งนี้ยังเสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลคนพิการ ผู้ป่วย  ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือคนพิการผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เป็นต้น
 
งานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จัดเป็นงานที่สำคัญ และไม่ค่อยมีผู้รับรู้บทบาทเท่าใดนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆในการเชื่อมโยง"ภายในองค์กรการแพทย์"กับ"องค์กรภายนอก" เปรียบเสมือน “ผู้ปิดทองหลังพระ” นักสังคมสงเคราะห์ไม่ได้ถูกกล่าวขานในฐานะ “ผู้มีพระคุณ” แต่มักจะอยู่ในฐานะ “เพื่อน” หรือ “พี่-น้อง” มากกว่า ปรัชญาของการสังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือผู้รับบริการให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ Help them to help themselves