ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักข่าวกรองกลาง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Few 2468 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล
Few 2468 (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มข้อมูล
บรรทัด 47:
'''สำนักข่าวกรองกลาง''' ({{lang-en|Central Intelligence Agency}}) หรือย่อว่า '''ซีไอเอ''' ({{lang-en|CIA}}) เป็นหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองต่างชาติพลเรือนของ [[รัฐบาลกลางสหรัฐ]] มีหน้าที่รวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติจากทั่วโลก โดยผ่านการข่าวกรองทางมนุษย์ ({{lang-en|Human Intelligence}}) เป็นส่วนใหญ่ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกหลักของชุมชนข่าวกรองสหรัฐ ({{lang-en|U.S. Intelligence Community; IC}}) สำนักข่าวกรองรายงานต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ ({{lang-en|Director of National Intelligence; DNI}}) และจะเน้นไปที่การหาข่าวกรองให้ [[ประธานาธิบดีสหรัฐ]] และ [[คณะรัฐมนตรีสหรัฐ]] เป็นหลัก
 
ไม่เหมือนกับ [[สำนักงานสอบสวนกลาง]] ที่เป็นหน่วยงานราชการความมั่นคงภายใน สำนักข่าวกรองกลางไม่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายและเน้นการรวบรวมข่าวกรองในต่างประเทศ โดยมีข้อจำกัดเฉพาะในการที่จะหาข่าวกรองจากในประเทศ อย่างไรก็ตามสำนักข่าวกรองกลางไม่ได้เป็นแค่หน่วยงานรัฐบาลสหรัฐฯที่เชี่ยวชาญในด้านข่าวกรองทางมนุษย์เท่านั้น มันยังมีหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการระดับชาติในการประสานงานกับหน่วนงานต่างๆที่ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการข่าวกรองทางมนุษย์ทั้งหมด ในชนชุมข่าวกรองสหรัฐฯ ยิ่งไปกว่านั้น สำนักข่าวกรองกลางเป็นหน่วยงานเดียวที่ได้รับอนุญาตโดยกฎหมาย ในการดำเนินการและดูแลการปฏิบัติการณ์แอบแฝงซ่อนเร้น ({{lang-en|Covert Action/Operation}}) โดยคำสั่งประธานาธิบดี สำนักข่าวกรองกลางสามารถคงบคุมอิทธิพลทางการเมืองของต่างประเทศได้โดยผ่านทางแผนกยุทธวิธีของตน อย่างเช่น แผนกปฏิบัติการณ์พิเศษ ({{lang-en|Special Activities Division; SAD}})
 
ก่อนจะมีรัฐบัญญัติการปฏิรูปการข่าวกรองและการป้องกันการก่อการร้าย ({{lang-en|Intelligence Reform and Terrorism Prevention Act}}) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางยังทำหน้าที่ควบคู่ไปกับการเป็นหัวหน้าชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ แต่ปัจจุบันสำนักข่าวกรองถูกจัดระเบียบภายใต้ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ แม้จะมีการถ่ายโอนอำนาจบางส่วนไปยังผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติก็ตาม สำนักข่าวกรองกลางได้มีขนาดเพิ่มขึ้น เป็นผลมาจาก [[วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544]] ในปี พ.ศ. 2556 หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ ได้รายงานว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 สำนักข่าวกรองกลางมีงบประมาณมากที่สุดในบรรดาหน่วยงานของชุมชนข่าวกรอง ซึ่งเกินกว่าการประมาณไว้ก่อนหน้า
 
สำนักข่าวกรองกลางได้ขยายบทบาทของตนเองมากขึ้น ซึ่งนั้นรวมไปถึงการปฏิบัติการณ์กึ่งทหารแบบซ่อนเร้น ({{lang-en|Covert paramilitary operations}}) หนึ่งในแผนกที่ใหญ่ที่สุดของสำนักข่าวกรองกลางคือ ศูนย์ปฏืบัติการณ์ข้อมูล ({{lang-en|Information Operations Center}}) ซึ่งได้เปลี่ยนหน้าที่จากการเน้นการต่อต้านการก่อการร้ายไปเป็นการปฏิบัติการณ์จู่โจมทางไซเบอร์ ในขณะที่สำนักข่าวกรองกลางได้มีความสำเร็จบางส่วนเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งรวมถึงการระบุตำแหน่งของ [[อุซามะฮ์ บิน ลาดิน]] และการมีส่วนร่วมในความสำเร็จของปฏิบัติการณ์เนปจูนสเปียร์ ({{lang-en|Operation Neptune Spear}}) แต่สำนักข่าวกรองกลางเองก็มีข้อโต้เถียงในระเบียบงาน อย่างเช่น การกระทำการวิสามัญและการทรมาณ
 
== หน้าที่ ==
เมื่อสำนักข่าวกรองกลางที่ก่อตั้งขึ้น หน้าที่ของมันก็คือการหาข่าวกรองและวิเคราะห์นโยบาลของต่างประเทศ แต่ปัจจุบันหน้าที่ของสำนักข่าวกรองกลางคือรวบรวม วิเคราะห์ ประเมิน และเผยแพร่ข่าวกรองต่างประเทศ และการดำเนินการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น
 
ตามปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 สำนักข่าวกรองกลางมีลำดับความสำคัญ 5 อย่างคือ:
* การต่อต้านการก่อการร้าย
* การป้องกันการแพร่กระจายของ [[อาวุธนิวเคลียร์]] และ [[อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง]] อื่นๆ
* แจ้งเตือน/รายงาน เหตุการณ์ที่สำคัญในต่างประเทศให้แก่ผู้นำของอเมริกา
* ต่อต้านการข่าวกรองของต่างประเทศ
* การข่าวกรองทางไซเบอร์
 
== โครงสร้างองค์กร ==
สำนักข่าวกรองกลางมีสำนักงานบริหารและ 5 กองอำนวยการหลัก คือ:
* กองอำนวยการนวัตกรรมดิจิตอล
* กองอำนวยการการวิเคราะห์
* กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์
* กองอำนวยการสนับสนุน
* กองอำนวยการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
=== สำนักงานบริหาร ===
ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางรายงานโดยตรงต่อผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ ในทางปฏิบัติแล้วผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลางเป็นเพียงผู้ติดต่อกับผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ [[รัฐสภาสหรัฐ]] และ [[ทำเนียบขาว]] ในขณะที่รองผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารภายในของสำนักข่าวกรองกลาง
 
สำนักงานบริหารยังมีหน้าที่สนับสนุน [[กองทัพสหรัฐ]] ในการให้ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาหรือได้มาจากหน่วยงานข่าวกรองทางทหาร และร่วมมือในการปฏิบัติการณ์ภาคสนาม ผู้อำนวยการบริหารมีหน้าที่คุมการปฏิบัติการณ์ของสำนักข่าวกรองกลางวันต่อวัน แต่ละสาขาของหน่วยงานราชการทางทหารมีผู้อำนวยการเป็นของตนเอง ผู้อำนวยการช่วยว่าการกิจการทางทหารหรือเจ้าหน้าที่ทางทหารอาวุโส มีหน้าที่ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างสำนักข่าวกรองกลางและกองสั่งการการรบร่วม ({{lang-en|Unified Combatant Command; UCC}}) ซี่งเป็นผู้หาข่าวกรองในระดับภูมิภาค/การปฏิบัติการณ์ และใช้ข่าวกรองในระดับชาติที่สำนักข่าวกรองกลางเป็นผู้หา
 
=== กองอำนวยการการวิเคราะห์ ===
กองอำนวยการนี้มี 4 กลุ่มวิเคราะห์ระดับภูมิภาค 6 กลุ่มสำหรับการจัดการปํญหาข้ามชาติ และ 3 กลุ่มที่เน้นไปในเรื่องนโยบาย การรวมรวบและการสนับสนุนบุคลากร โดยมีสำนักงานที่ทุ่มเทกับงานใน [[อิรัก]] , สำนักงานวิเคราะห์ระดับภูมิภาคครอบคลุม [[ตะวันออกใกล้]] และ [[เอเชียใต้]] , สำนักงาน [[ประเทศรัสเซีย]] และ [[ทวีปยุโรป]] , สำนักงาน [[เอเชียแปซิฟิก]] [[ลาตินอเมริกา]] และ [[ทวีปแอฟริกา]]
 
=== กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์ ===
กองอำนวยการการปฏิบัติการณ์มีหน้าที่รวบรวมข่าวกรองต่างประเทศ (โดยส่วนใหญ่มาจากแหล่งข่าวกรองทางมนุษย์ที่เป็นความลับ) และการปฏิบัติการณ์ซ่อนเร้น ชื่อของกองอำนวยการสะท้อนถึงหน้าที่ในการประสานงานในการปฏิบัติการณ์ด้านข่าวกรองทางมนุษย์ระหว่างสำนักข่าวกรองกลางและหน่วยงานอื่นๆภายในชุมชนข่าวกรองสหรัฐฯ ซึ่งมีการปฏิบัติการณืด้านข่าวกรองทางมนุษย์เป็นของตนเอง กองอำนวยการนี้ถูกก่อตั้งขึ้นมาในความพยายามจบปีแห่งการแข่งขันในด้านอิทธิพล ปรัชญาและงบประมาณระหว่าง [[กระทรวงกลาโหมสหรัฐ]] และสำนักข่าวกรองกลาง ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้จัดตั้งหน่วยงานราชการด้านข่าวกรองลับระดับโลก ชือ หน่วยงานราชการลับกลาโหม ({{lang-en|Defense Clandestine Service; DCS}}) ภายใต้องค์กรข่าวกรองกลาโหม ({{lang-en|Defense Intelligence Agency; DIA}})
 
== ประวัติ ==