เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomas Walt (คุย | ส่วนร่วม)
Thomas Walt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 91:
 
===การติดเชื้อในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน===
การศึกษาโดย[[การวิเคราะห์อภิมาน]] (Meta-analysis) จากข้อมูลต่างๆที่ได้จาก[[การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม|การศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม]] (Randomized controlled trials; RCTs) หลายการศึกษา พบว่า ไลเนโซลิดมีประสิทธิภาพมากกว่ายาปฏิชีวนะกลุ่มไกลโคเปปไทด์ (Glycopeptide antibiotics) อย่าง[[แวนโคมัยซิน]]และ[[ไทโคพลานิน]] รวมไปถึงยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้า-แลคแตม (β-lactam antibiotics) ในการรักษาการติดเชื้อในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อนที่มีสาเหตุมาจาก[[แบคทีเรียกรัมบวก|เชื้อแบคทีเรียกรัมบวก]]<ref name=Falagas2008>{{cite journal |authors=Falagas ME, Siempos II, Vardakas KZ |title=Linezolid versus glycopeptide or beta-lactam for treatment of Gram-positive bacterial infections: meta-analysis of randomised controlled trials |journal=Lancet Infectious Diseases |volume=8 |issue=1 |pages=53–66 |date=January 2008 |pmid=18156089 |doi=10.1016/S1473-3099(07)70312-2 |issn=1473-3099}} Structured abstract with quality assessment available at [http://www.crd.york.ac.uk/CRDWeb/ShowRecord.asp?ID=12008005415 DARE].</ref> และมีการศึกษาขนาดเล็กหลายการศึกษาที่ให้ผลการศึกษายืนยันถึงประสิทธิภาพของไลเนโซลิตในการรักษาภาวะติด[[แบคทีเรียกรัมบวก|เชื้อแบคทีเรียกรัมบวก]]ที่รุนแรงทุกชนิดที่เหนือกว่า[[ไทโคพลานิน]]<ref name=Tascini>{{cite journal |authors=Tascini C, Gemignani G, Doria R, etal |title=Linezolid treatment for gram-positive infections: a retrospective comparison with teicoplanin |journal=Journal of Chemotherapy |volume=21 |issue=3 |pages=311–6 |date=June 2009 |pmid=19567352 |issn=1120-009X |doi=10.1179/joc.2009.21.3.311}}</ref>
 
ในการรักษาแผลติดเชื้อที่เท้าจากโรคเบาหวาน (diabetic foot infections) นั้น การใช้ไลเนโซลิดจะมีราคาต้นทุนน้อยกว่าแต่กลับมีประสิทธิภาพในการรักษามากกว่า[[แวนโคมัยซิน]]<ref name=Chow>{{cite journal |authors=Chow I, Lemos EV, Einarson TR |title=Management and prevention of diabetic foot ulcers and infections: a health economic review |journal=PharmacoEconomics |volume=26 |issue=12 |pages=1019–35 |year=2008 |pmid=19014203 |doi=10.2165/0019053-200826120-00005 |issn=1170-7690}}</ref> ในปี ค.ศ. 2004 ผลการศึกษาของ[[การทดลองแบบเปิด |การศึกษาแบบเปิด]] (Open-label study) พบว่า ไลเนโซลิดมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ[[แอมพิซิลลิน/ซัลแบคแตม]] (Ampicillin/sulbactam) และ[[อะม็อกซีซิลลิน/กรดคลาวูลานิค]] (Amoxicillin/clavulanic acid) และมีประสิทธิภาพการรักษาเหนือกกว่าเป็นอย่างมากในการรักษาผู้ป่วยแผลติดเชื้อที่เท้าจากโรคเบาหวานที่ไม่มีกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) ร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม การใช้ไลเนโซลิดนั้นมีอัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ<ref name=Lipsky>{{cite journal |authors=Lipsky BA, Itani K, Norden C |title=Treating foot infections in diabetic patients: a randomized, multicenter, open-label trial of linezolid versus ampicillin-sulbactam/amoxicillin-clavulanate |journal=Clinical Infectious Diseases |volume=38 |issue=1 |pages=17–24 |date=January 2004 |pmid=14679443 |doi=10.1086/380449 |issn=1058-4838}}</ref><ref name=Pigrau>{{cite journal | last1 = Pigrau | first1 = C | last2 = Almirante | first2 = B |title = Oxazolidinones, glucopéptidos y lipopéptidos cíclicos | trans_title=Oxazolidinones, glycopeptides and cyclic lipopeptides |language=Spanish|journal=Enfermedades Infecciosas y Microbiología Clínica |volume=27 |issue=4 |pages=236–46 |date=April 2009 |pmid=19406516 |url=http://www.elsevier.es/sites/default/files/elsevier/pdf/28/28v27n04a13136682pdf001.pdf |doi=10.1016/j.eimc.2009.02.004}}</ref> อย่างไรก็ตาม การศึกษาแบบ[[การวิเคราะห์อภิมาน]]ในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งใช้ผลลัพธ์ที่ได้จาก[[การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม|การศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม]]จำนวน 18 การศึกษามาวิเคราะห์ พบว่า การใช้ไลเนโซลิดสำหรับข้อบ่งใช้นี้นั้นเกิดความล้มเหลวในการรักษาได้ไม่แตกต่างไปจากยาปฏิชีวนะชนิดอื่น ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีภาวะกระดูกอักเสบติดเชื้อร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม<ref name=Vardakas>{{cite journal |authors=Vardakas KZ, Horianopoulou M, Falagas ME |title=Factors associated with treatment failure in patients with diabetic foot infections: An analysis of data from randomized controlled trials |journal=Diabetes Research and Clinical Practice |volume=80 |issue=3 |pages=344–51 |date=June 2008 |pmid=18291550 |doi=10.1016/j.diabres.2008.01.009 |issn=0168-8227}}</ref>
 
ทั้งนี้ นักวิจัยบางท่านได้ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า ควรใช้ยาปฏิชีวนะชนิดอื่นที่มีราคาถูกกว่าและมีต้นทุนประสิทธิผลสูง 2 ชนิดร่วมกันก่อน เช่น [[ไตรเมโธพริม/ซัลฟาเมธอกซาโซล]] (Trimethoprim/sulfamethoxazole) กับ[[ไรแฟมพิซิน]] หรือ[[คลินดามัยซิน]] อย่างใดอย่างหนึ่ง ก่อนที่จะมีการใช้ไลเนโซลิดในการรักษาการติดเชื้อในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน โดยอิงตามผลการทดสอบความไวของเชื้อสาเหตุต่อยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ<ref name=Pigrau/><ref>{{cite journal |authors=Grammatikos A, Falagas ME |title=Linezolid for the treatment of skin and soft tissue infection |journal=Expert Review of Dermatology |volume=3 |issue=5 |pages=539–48 |year=2008 |doi=10.1586/17469872.3.5.539}}</ref>
 
==อ้างอิง==