ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:D.Waraporn/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 12:
* รัฐต้องมีหลักประกันความเท่าเทียมกันในเรื่องของรายได้ขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็นของแต่ละบุคคล และครอบครัว อีกทั้งรัฐจะต้องสนับสนุนให้มีการกระจายผลผลิตจากการทำงาน
* รัฐต้องจัดหาความมั่นคงทางสังคมให้แก่บุคคลในกรณีต่างๆ เช่น การเจ็บป่วย การชราภาพ การว่างงาน เป็นต้น
* รัฐต้องให้สิทธิแก่พลเมืองอย่างเท่าเทียมกัน ในการที่จะได้รับการบริการทางสังคมอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอด้วยมาตรฐานที่ดี<ref>คำนูณ สิทธิสมาน, “[http://รัฐสวัสดิการทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย” รัฐสวัสดิการทางเลือกใหม่ของการเมืองไทย”] , 2008-07-11, ค้นเมื่อ 2017-03-31</ref><ref>จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร, [http://รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ%20%20มุมมองทางทฤษฎี รัฐสวัสดิการกับสังคมสวัสดิการ มุมมองทางทฤษฎี], ค้นเมื่อ 2017-03-17</ref>
 
==รูปแบบ==
บรรทัด 24:
แบบเสรีนิยมนั้น จะค่อนข้างได้รับการยอมรับในแถบประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ และนโยบายสวัสดิการที่ใช้ก็มักเป็นเพียงการสร้างความรู้สึกมั่นคงพื้นฐานของการมีชีวิตอยู่ในสังคม และจำกัดอยู่เฉพาะในกลุ่มบุคคลที่ถูกพิจารณาและไตร่ตรองแล้วว่ามีความจำเป็นที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจริงเท่านั้น หน่วยราชการจะทุ่มเทความช่วยเหลือไปยังคนงานและคนระดับล่างในสังคม ขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้คนชั้นกลางและคนชั้นสูงได้มีโอกาสตักตวงและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากตลาดแรงงาน
* รัฐสวัสดิการแบบอนุรักษ์นิยม
แบบอนุรักษ์นิยมนั้นจะมีอิทธิพลอยู่ในทวีปยุโรปตอนกลาง ที่โบสถ์และมูลนิธิการกุศลเข้ามาช่วยดูแลเรื่องรักษาพยาบาล และการประกันสังคมช่วยให้เกิดความรู้สึกมั่นคงทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในสังคม แต่รูปแบบลักษณะนี้จะไม่ปฏิเสธการมีช่องว่างระหว่างชนชั้นในสังคม ยึดมั่นต่อค่านิยมเก่าๆ ในครอบครัวที่ตกทอดกันมา รวมทั้งยอมรับอิทธิพลที่มีของ[[ศาสนจักร]]<ref>กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1</ref><ref>แบ๊งค์ งานอรุณโชติ, [http://กลุ่มศึกษารัฐสวัสดิการ%20ตอนที่1:%20รัฐสวัสดิการ%20รูปแบบ%20และตัวกำหนดพัฒนาการ กลุ่มศึกษารัฐสวัสดิการ ตอนที่1: รัฐสวัสดิการ รูปแบบ และตัวกำหนดพัฒนาการ], 2012-11-27,ค้นเมื่อ 2017-03-31</ref><ref>อนุสรณ์ ธรรมใจ, [http://บทบาทของรัฐต่อระบบสวัสดิการสังคมภายใต้สำนักคิดทางเศรษฐกิจการเมืองต่างๆ บทบาทของรัฐต่อระบบสวัสดิการสังคมภายใต้สำนักคิดทางเศรษฐกิจการเมืองต่างๆ], 2013-11-15, ค้นเมื่อ 2017-03-31</ref>
 
==ตัวอย่างการดำเนินงานรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ==
บรรทัด 34:
# ชาวโปรแตสแตนท์ในสวีเดน ยึดมั่นในจริยธรรมและการเผยแพร่จริยธรรมอย่างมาก ทำให้คนสวีเดนต้องปฏิบัติตามหลักจริยธรรม โดยต้องขยันทำงานหนักแม้ว่าภาษีเพิ่มขึ้น
# การทำงานของคนสวีเดนมีประสิทธิผลมาก เนื่องจากประชากรได้รับการศึกษาที่ดี และมีการส่งออกที่เข้มแข็ง
รัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดนเป็นรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากรัฐสวัสดิการในระบบ[[เศรษฐกิจแบบผสม]]ทั่วไป ซึ่งแพร่หลายในประเทศอุตสาหกรรม โดยรัฐสวัสดิการประเทศสวีเดนจัดว่าเป็น “ทางสายกลาง” ระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบ[[ทุนนิยม]] ( Capitalist Economy ) และระบบเศรษฐกิจแบบ[[สังคมนิยม]] ( Socialist Economy ) ซึ่งผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ประเมินว่าเป็นวิธีหนึ่งในการบรรลุเป้าหมายเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคมในระดับสูงที่สุดในโลกโดยที่ไม่ทำให้ผู้ประกอบการรู้สึกอึดอัด<ref>กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1</ref>
 
==ความเป็นมาของรัฐสวัสดิการในประเทศสวีเดน==
บรรทัด 47:
ในช่วงทศวรรษที่ 1990 แบบจำลองรัฐสวัสดิการของสวีเดนเริ่มมีปัญหาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์อุตสาหกรรมหนักเป็นผลให้การระดมทุนทางสังคมลดลง ภาวะเศรษฐกิจถดถอยนี้ทำให้สวีเดนตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมในหลายๆ ปีต่อมา
 
ในปี ค.ศ. 2006 ประเทศสวีเดนมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ซึ่งประเทศสวีเดนยังคงแยกเป็นกลุ่มฝ่ายซ้ายและกลุ่มฝ่ายขวา อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะเป็นรัฐบาลผสมโดยมีพรรคฝ่ายขวาเป็นเสียงข้างมาก แนวโน้มของรัฐบาลก็ยังคงรักษาพื้นฐานของรัฐสวัสดิการด้วยการปรับปรุงบางอย่างเพื่อจะทำให้ลดการว่างงาน และทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อไป ซึ่งไม่มีพรรคการเมืองสำคัญพรรคใดในสวีเดนที่มีนโยบายที่จะค่อย ๆ ยกเลิกรัฐสวัสดิการ เนื่องจากจะทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงทั้งกลุ่ม ที่สนับสนุนพรรคที่นิยมฝ่ายซ้ายและพรรคที่นิยมฝ่ายขวา ปัจจุบันประเทศสวีเดนมี [[GDP]] ต่อหัวต่ำกว่าประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน<ref>กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม, ประเทศไทยกับการก้าวไปสู่…รัฐสวัสดิการ, ครั้งที่ 1, ไซเบอร์ ร็อก เอเยนซี่ กรุ๊ป จำกัด, 2550, 978-974-7894-43-1</ref>
 
==ตัวอย่างของระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดน==
 
* การศึกษา ในประเทศสวีเดนเรื่องของการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยรัฐจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษากระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยไม่มีการคิดค่าหน่วยกิตหรือการเรียกเก็บค่าเทอม ในส่วนของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้น จะมีการเรียกเก็บเฉพาะ “ค่าบำรุงองค์การนักศึกษา” เท่านั้นที่มีการบังคับ ให้นักศึกษาต้องจ่าย นอกจากนี้ระบบการศึกษาของประเทศสวีเดนยังเน้นการสอนไปที่ความเป็นไปตามระดับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย และนอกจากการเรียนฟรีแล้ว อุปกรณ์ในการเรียนรวมถึงอาหารกลางวันทุกอย่างก็ฟรีทั้งหมดอีกด้วย
* การประกันสุขภาพ รัฐจะมีการช่วยค่ารักษาพยาบาล ช่วยค่าการรักษาสุขภาพฟัน จ่ายค่านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จ่ายค่ายา รวมถึงมีการชดเชยรายได้ระหว่างเจ็บป่วยด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความรัฐจะมีการช่วยจ่ายให้ทั้งหมด 100% ของค่าใช้จ่าย การที่รัฐเข้ามาช่วยนั้นจะมีเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมายด้วย เช่น การรักษาฟัน กรณีผู้มีอายุต่ำกว่า 17 ปีรักษาฟรีทั้งหมด ส่วนผู้ที่อายุเกิน 17 ปี ต้องมีการจ่ายค่ารักษาส่วนหนึ่ง คือ ถ้ารักษาไม่เกิน 1,000 [http://โครนเนอร์ โครนเนอร์] รัฐจะจ่าย 50% แต่ถ้าเกิน 1,000 โครนเนอร์ รัฐจ่ายให้ 75% ซึ่งอัตราการคิดเงินนี้รัฐบาลจะกำหนดไว้อย่างชัดเจน แพทย์จะคิดเงินเกินกว่าที่กำหนดไม่ได้ แต่อาจคิดต่ำกว่าได้ เป็นต้น<ref>บุญส่ง ชเลธร, รัฐสวัสดิการสวีเดน, ครั้งที่ 1, บพิธการพิมพ์ จำกัด, 2553, 987-974-345-262-8</ref>
 
==อ้างอิง==