ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6633055 โดย 202.29.39.55ด้วยสจห.
Chaiyawats (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6969973 สร้างโดย Tvcccp (พูดคุย)
บรรทัด 1:
 
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''องค์การระหว่างประเทศ''' ({{lang-en|international organisation}}) หมายถึง องค์การที่[[ประเทศ]]หรือ[[รัฐ]]ตั้งแต่สองรัฐขึ้นไปรวมกัน จัดตั้งขึ้น เพื่อเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการดำเนินความ[[ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ|สัมพันธ์ระหว่างประเทศ]] รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและพัฒนากิจกรรมต่างๆเพื่อประโยชน์ทาง[[เศรษฐกิจ]]และ[[สังคม]]ของรัฐสมาชิกและมวลมนุษยชาติ<ref>สมพงศ์ ชูมาก, 2533, '''องค์การระหว่างประเทศ,''' หน้า 151</ref>
 
องค์การระหว่างประเทศเริ่มแรกเกิดจากความร่วมมือของประมุขของประเทศใน[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]]หลัง[[สงครามนโปเลียน]]สิ้นสุดลง เกิดการประชุมคองเกรสแห่ง[[เวียนนา]]  (congress of   vienna 1815)  องค์การระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ต่อมาเมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่  1  ได้ก่อตั้งองค์การสันนบาติชาติขึ้นจัดเป็นองค์การระหว่างประเทศทำงานเฉพาะด้านเป็นส่วนใหญ่ องค์การระหว่างประเทศ ทางด้านสังคมมีบทบาทในการวางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐ วางระเบียบกฎเกณฑในการติดต่อระหว่างประเทศและการให้บริการ ส่วนองค์การระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ ดูแลใหความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจเพื่อแก้ปัญหา องค์การระหว่างประเทศทางการเมือง ทำหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างนานาชาติ<ref>คมสัน ณ รังษี, องค์การระหว่างประเทศ, 2554 เข้าถึงได้จากhttps://krukomsun.wordpress.com/2011/08/22/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/</ref>
 
===== องค์การระหว่างประเทศประเทศเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อประกอบด้วย 4 ประการ ดังนี้<ref name=":0">จุฑาทิพ คล้ายทับทิม, 2553, หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, หน้า 148</ref> =====
1.โลกจะต้องประกอบด้วยรัฐจำนวนหนึ่ง และรัฐเหล่านี้ต้องเป็นหน่วยทางการเมืองที่มีอิสระและมีความเสมอภาค
 
2.ต้องมี[[ปฏิสัมพันธ์]]ระหว่างรัฐ
 
3.รัฐเหล่านี้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากความขัดแย้งในผลประโยชน์ของรัฐ
 
4.รัฐตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีเครื่องมือที่เป็นองค์กรเพื่อสร้างกฎเกณฑ์ในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
 
=== 2.หน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ<ref>สมพงศ์ ชูมาก, 2533, '''องค์การระหว่างประเทศ,''' หน้า 156</ref> ===
1.'''การเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือระหว่างรัฐ''' โดยองค์การระหว่างประเทศรับหน้าที่หลักเป็นที่ประชุมระหว่างรัฐในหัวข้อต่างๆที่มีปัญหาร่วมกัน หรือต้องการมติร่วมกัน และนอกจากนี้องค์การระหว่างประเทศบางองค์การจัดให้มีการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐด้วย
 
2.'''การเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ต่างๆ''' องค์การระหว่างประเทศบางองค์การเป็นการวางกฎเกณฑ์หรือมติร่วมกัน เช่น องค์การอนามัยโลก วางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสุขภาพระหว่างประเทศ
 
3.'''การทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากร''' องค์การระหว่างประเทศหลายบางองค์การ ทำหน้าที่ในการจัดสรรทรัพยากร เช่น ธนาคารโลก จัดสรรเงินทุนกู้ยืมหรือช่วยเหลือให้กับรัฐต่างๆที่จำเป็นต้องใช้
 
4.'''การเพิ่มสมรรถนะทางทหาร''' บางองค์กรก่อตั้งมาด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนสมรรถนะทางทหารของกลุ่มประเทศสมาชิก เช่น นาโต้
 
5.'''การปฏิบัติการรักษา[[สันติภาพ]]''' เช่น [[สหประชาชาติ]]
 
6.'''การส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในด้านต่างๆ''' เช่น ด้านการค้า ด้านเทคโนโลยี
 
=== '''3. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศ''' ===
1. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านสังคม
 
มีหน้าที่และบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาทางสังคม [[วัฒนธรรม]]และมนุษยธรรม อันเนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีเพื่อก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขของมวลมนุษยชาติ บทบาทที่สำคัญ มีดังนี้ วางมาตรฐานการปฏิบัติของรัฐในเรื่องเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐ เช่น [[สิทธิมนุษยชน]] แรงงาน
 
1.1 วางระเบียบกฎเกณฑ์ในการติดต่อระหว่างประเทศขึ้น เพื่อให้สามารถติดต่อกันอย่างสะดวก ราบรื่น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น สหภาพไปรษณียสากล
 
1.2 การให้บริการด้านต่าง ๆ เช่น การให้ข่าวสาร การบรรเทาทุกข์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ การให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัย และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
 
2. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ
 
มีบทบาทมุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของสังคมโลก ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและให้ปฏิบัติตามกติกา โดยมีบทบาทที่สำคัญดังนี้
 
2.1 เป็นตัวกลางทางการเงิน ตลอดจนอำนวยความสะดวกด้านการเงิน
 
2.2 ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่กำลังพัฒนานำไปลงทุนพัฒนาประเทศ มีกองทุนเงินตราต่างประเทศให้สมาชิกกู้ยืมเพื่อแก้ไขปัญหา
 
2.3 วิจัยและวางแผน เพื่อหาวิธีแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของสังคมโลก และให้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้เหมาะสม
 
2.4แนะนำการแก้ไขปัญหาเงินตรา วางระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมูลค่าของเงินตรา
 
2.5ให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมทั้งจัดฝึก อบรม
 
3. บทบาทขององค์การระหว่างประเทศทางด้านการเมือง
 
เป็นบทบาทที่มุ่งเพื่อรักษาสันติภาพและประสานความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดความมั่นคง โดยมีบทบาทที่สำคัญดังนี้
 
3.1 ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพและรักษาความมั่นคงร่วมกัน โดยไม่ใช้กำลังและให้ความสำคัญกับกองกำลังรักษาสันติภาพ ทำหน้าที่รักษาสันติภาพในบริเวณพื้นที่ที่มีข้อพิพาท
 
3.2 ยุติกรณีพิพาทด้วยสันติวิธี โดยวิธีทางการทูต การไกล่เกลี่ย การเจรจา และการประนีประนอม
 
3.3 สนับสนุนให้ดินแดนอาณานิคมได้รับเอกราช ปกครองตนเองด้วยหลักการกำหนดโดยตนเอง
 
3.4 สนับสนุนการลดกำลังอาวุธ และการควบคุมอาวุธ การห้ามทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงร่วมกัน
 
==== องค์การระห­ว่างประเทศจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ====
 
====== 1. องค์การระหว่างประเทศระดับสากล (Universal Level) ======
จะมีสมาชิกจำนวนมากมาจากส่วนต่างๆของโลกและมีขอบเขตและขอบข่ายการปฏิบัติงานกว้างขวาง องค์การระดับสากลยังแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
 
1.1 องค์การที่มีวัตถุประสงค์กว้าง หมายถึงองค์การที่ทำหน้าที่ทุกอย่างทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nation หรือ UN) สันนิบาติชาติ
 
1.2 องค์การที่มีวัตถุประสงค์แคบ เป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่งเป็นสำคัญ เช่นองค์การที่ทำหน้าที่ด้านเศรษฐกิจ เช่น [[องค์การการค้าโลก]] (WTO) องค์กรการเงินระหว่างประเทศ (IMF) สถาบันเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนา (IBRD)
 
====== 2. องค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาค (Regional Level) ======
จะเป็นองค์การระหว่างประเทศที่สมาชิกจะมาจากส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสำคัญ แต่อาจจะมีสมาชิกมาจากนอกภูมิภาคได้ เช่น ซีโต้(SEATO)จะเป็นองค์การในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ แต่มีสหรัฐ ฝรั่งเศส และอังกฤษเป็นสมาชิกด้วย
 
2.1 องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Treaty Organization) สมาชิกก็จะมาจากหลายภูมิภาคซึ่งเป็นองค์การความร่วมมือทางการทหารและความมั่นคงของประเทศสังคมนิยม และใช้องค์การนี้เข้าไปแทรกแซงประเทศสังคมนิยมที่ตีตัวออกห่าง
 
2.2 องค์การระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์กว้าง เช่น องค์การเอกภาพอัฟริกา (OAU) องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS) สันนิบาติอาหรับ (League of Arab-LA) องค์การเหล่านี้จะทำหน้าที่ทั้งทางเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เพราะองค์การเหล่านี้จัดตั้งขึ้นมาในภูมิภาคที่ตกเป็นอาณานิคมยาวนานเมื่อได้เอกราชจึงพยายามจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศเข้ามาช่วยเหลือกัน
 
==== ทฤษฎีบูรณาการ (Integration Theory)<ref name=":0" /> ====
บูรณาการ หมายถึงการให้รัฐทั้งหลายมร่วมมือกันเพื่อแสวงหาความมั่นคง สันติภาพและความร่วมมือในด้านต่างๆ
 
ทฤษฎีบูรณาการ ประกอบด้วย 4 แนวทาง คือ<ref>John T.Rourke and Mark A.Boyer,International Politics on the Work Stage,(New York : McGraw-Hill,2006),p.162.</ref>
 
1.แนวทางสหพันธรัฐนิยม (Federalism)เป็นการรวมตัวทางการเมืองในเชิงนิตินัยของรัฐตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยยินยอมมอบอำนาจบางส่วนให้หน่วยงานกลางหรือรัฐบาลกลาง เช่น อำนาจในการป้องกันประเทศ อำนาจในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
 
2.แนวทางพหุนิยม (Pluralism)การมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือการติดต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐที่ใกล้ชิดกันจนเกิดความรู้สึกเป็นมิตรจนถึงระดับที่ต่างก็เห็นประโยชน์ร่วมกัน
 
3.แนวทางภารกิจนิยม (Functionalism) เดวิด มิทรานี (David mitrany) ผู้ริเริ่มแนวทางภารกิจนิยมได้เสนอแนวคิด ที่มีชื่อว่า The Walking peace System คือการรวมตัวทำภาระกิจที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองทำให้รัฐทำงานด้วยกันได้ดีขึ้น หากประสบผลสำเร็จก็จะทำให้แต่ละชาติร่วมมือกันใกล้ชิดยิ่งขึ้น
 
4.แนวทางภารกิจนิยมใหม่ (์Neo Functionalism) แนวทางภารกิจนิยมใหม่ไม่เชื่อว่าการรวมตัวทำภารกิจที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการเมืองจะทำให้รัฐทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น ในทางตรงข้ามกันกลับเชื่อว่าการจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศ และมีการปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศร่วมกันจะก่อให้เกิดบูรณาการที่แท้จริงซึ่งก็คือเกิดอำอาจเหนือรัฐ
 
==== บูรณาการทางเศรษฐกิจ ====
การร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจับันได้นำไปสู่การรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Economic Integration)ในภูมิภาคต่างๆ บูรณาการหรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อเจรจาผสมผสานความคิดและนโยบายต่างๆ Bela Balassa ได้เสนอขั้นตอนของบูรณาการทางเศรษฐกิจ โดยแบ่งออก 5 ขั้นตอนดังนี้
 
1.[[เขตการค้าเสรี]](Free Trade Area) การบูรณาการทางเศรษฐกิจขั้นตอนแรกโดยสมาชิกทำการตกลงกันในการขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น การไม่เก็บหรือลดภาษี
 
2.สหภาพศุลกากร(Customs Union)การบูรณาการทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นโดยการรวมตัวกันขจัดอุปสรรคการค้าโดยไม่มีการเก็บภาษี ไม่มีการจำจัดโควต้าสินค้า
 
3.ตลาดร่วม (Common Market)การบูรณาการทางเศรษฐกิจที่นอกจากจะขจัดอุปสรรคทางการค้า และมีนโยบายการค้าที่เหมือนกันแล้ว ตลาดร่วมยังสนับสนุนให้สินค้าและปัจจัยการผลิตอื่นๆได้แก่ เงินทุน แรงงาน บริการ สามารถเคลื่อนย้ายระหว่างกันได้อย่างเสรี ในกลุ่มประเทศสมาชิก
 
4.สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union)การบูรณาการทางเศรษฐกิจเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น มีการผสานนโยบายทางเศรษฐกิจและการเงินระหว่างประเทศสมาชิก เช่น สหภาพยุโรป
 
5.สหภาพทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ หรือ [[สหภาพเหนือชาติ]] (Total Ecomomic Union or Supranational Union)การบูรณาการทางเศรษฐกิจขั้นสูงสุดที่ครอบคลุมตั้งแต่การขจัดอุปสรรคทางการค้า ดำเนินนโยบายที่เหมือนกันภายในกลุ่ม มีการตกลงอัตราภาษีต่อประเทศนอกกลุ่มร่วมกัน มีความเสรีทางสินค้า มีนโยบายเศรษฐกิจอันเดียวกัน ประเทศสมาชิกยอมสละอำนาจอธิปไตยของตนให้สภาพเหนือชาติมาเป็นผู้กำหนดนโยบายแทน<ref>สมพงศ์ ชูมาก, 2544, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน, หน้า 151</ref>
 
== องค์กรหลักระหว่างประเทศในเครือสหประชาชาติ ==