ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wipawee Boorana (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6968735 สร้างโดย Sry85 (พูดคุย)
ย้อนการแก้ไขของ Wipawee Boorana (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Sry85
บรรทัด 1:
{{สั้นมาก}}
{{ลบ|เหมือนคัดลอกมา}}
{{อย่าเพิ่งลบ}}
'''<big>ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ</big>'''
'''ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ''' ({{lang-en|international relations}}) หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชา[[รัฐศาสตร์]] เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวาง[[นโยบายระหว่างประเทศ]] ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้าน[[การเมือง]] [[เศรษฐกิจ]]
นอกจากนี้เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสาขาที่มีเนื้อหาและขอบเขตที่กว้าง จึงมีผู้ให้คำนิยามคำจำกัดความไว้ดังนี้
คาร์ล ดับเบิ้ลยู ดอยซ์ (Karl W. Deutsch)ได้ให้คำนิยามของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ว่า"ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเปรียบเสมือนเวทีอันประกอบด้วยพฤติกรรมและการกระทำทั้งหลายของรัฐ ที่มีต่อกันโดยปราศจากควบคุมอย่างเพียงพอ" จากคำนิยามดังกล่าว สามารถศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้คือ [[รัฐ]]ในแต่ละรัฐมีความแตกต่างกันทั้งทางด้าน ทรัพยากรมนุษย์ ความเจริญทางเทคโนโลยี อำนาจ และต่างๆอีกมาก โดยเฉพาะประเทศโลกที่สามที่มีการรวมกลุ่มกันเพื่อป้องกันประโยชน์ของตนจากประเทศโลกที่หนึ่ง<ref>ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ.(ม.ป.ป.).(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น).หน้า8</ref>
เค เจ โฮลสติ (K.J.Holsti)ได้ให้คำนิยามของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไว้ว่า ปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละสังคมเกิดขึ้นจากการที่รัฐสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนก็ได้<ref>จุฑาทิพ คล้ายทับทิม.(2553).(หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).หน้า2</ref>
โดยสรุป ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ ความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยน ที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐกับรัฐโดยตรง ตัวแทนของรัฐหรือไม่ใช่ตัวแทนของรัฐและเอกชน เป็นไปได้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆของรัฐที่ต้องการแลกเปลี่ยนและเผยแผ่ไปให้รัฐอื่นๆ เช่น การศึกษา [[วัฒนธรรม]] หรือวัตถุประสงค์ทางด้านการเมือง โดยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปในรูปแบบของการร่วมมือหรือรูปแบบของการขัดแย้ง เพื่อป้องกันสิทธิและรักษาผลประโยชน์ของรัฐ จึงเปรียบเสมือนกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเหรียญสองด้าน
=ขอบเขตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ=
'''ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีเนื้อหาที่กว้างซึ่งขอบเขตเหล่านี้จะครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ'''
 
'''[[หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ทางการเมือง'''ระหว่างประเทศ]]
ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้อิทธิพลและการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ทางการเมือง
 
'''ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ'''
ความสัมพันธ์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เนื่องจากในแต่ละประเทศมีทรัพยากรที่ไม่เท่ากันจึงต้องมีการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ
 
'''ความสัมพันธ์ทางสังคม'''
ความสัมพันธ์ที่มีจุดประสงค์ในการเผยแผ่และแลกเปลี่ยน วัฒนธรรม การศึกษา ศาสนา การท่องเที่ยว เพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นและยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทางการเมืองอีกด้วย
 
'''ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย'''
ความสัมพันธ์ที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความสงบ สร้างแบบแผนให้เกิดขึ้นในสังคม และสร้างการรู้จักเคารพกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยผ่านความสัมพันธ์ทางกฎหมาย
 
'''ความสัมพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี'''
ความสัมพันธ์ที่มีจุดประสงค์ในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนและพัฒนา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างสรรค์นวัตรกรรมเพื่อใช้ในการค้นคว้าวิจัยสิ่งที่สามารถพัฒนาประเทศและตอบสนองความต้องการ<ref>จุฑาทิพ คล้ายทับทิม.(หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).หน้า5-6</ref>
 
=วิวัฒนาการของการศึกษาความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ=
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมตามคำบอกเล่าของ[[อาริสโตเติล]]การเขียนและภาษาในอดีตเป็นสิ่งที่กระทำโดยมนุษย์ที่อาศัยอยู่ จึงมีสันนิษฐานว่าการเขียนในอดีตของมนุษย์มีเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมหรือชุมชนที่มนุษย์อาศัยอยู่หรือสังคมข้างเคียงในบริเวณนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศถูกเขียนขึ้นมาตั้งแต่สมัยสี่พันปีมาแล้ววิวัฒนาการการศึกษาความสัพันธ์ระหว่างประเทศมี 4 ระยะดังนี้
 
'''ระยะแรก'''
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเป็นช่วงระหว่างและก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การศึกษาในระยะนี้เป็นการศึกษาโดย[[นักประวัติศาสตร์]]ทางการเมือง(Diplomatic Historian)เพียงด้านเดียว ระยะแรกของการศึกษานี้ถือเป็นยุคทองของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ว่าได้เพราะเป็นการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์อย่างจริงจัง จึงทำให้ผลการศึกษามีความแม่นยำและตรงกับความเป็นจริงโดยมีการคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงน้อยที่สุด การศึกษาในระยะแรกเป็นการวิเคราะห์เชิงพรรณนา(Descriptive analysis)ซึ่งเป็นการมุ่งศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เพื่อทราบความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น
 
'''ระยะที่สอง'''
เกิดขึ้นภายในระยะเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนถึงสงคารมโลกครั้งที่สอง ในระยะที่สองนี้นักวิชาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นศึกษาเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้น โดยไม่ได้พิจารณามากนัก และศึกษาปัญหาทางการเมืองซึ่งจะส่งผลถึงการทำสงครามและการรักษาสันติภาพระหว่างประเทศสมาคมที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้เกิดขึ้นหลายแห่งในระยะนี้ เช่น "The Royal Institute of International Affairs ในกรุงลอนดอน The Council of Foreign Relation sand The Foreign Policy Association ในกรุงนิวยอร์ก สมาคมดังกล่าวได้ตีพิมพ์หนังสือและเผยแพร่บทความวิชาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่งมีการศึกษาประวัติศาสตร์ทางการทูตของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงมีการสนใจการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้น โดยมีการเพิ่มวิชาเรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในมหาวิทยาลัยฝั่งอเมริกาและยุโรปโดยเฉพาะในอเมริกาที่ให้ความสำคัญกับอิทธิพลทางการเมือง
 
'''ระยะที่สาม'''
ยังอยูาในช่วงระยะเวลาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองเป็นระยะที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางการศึกษาระหว่างประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการศึกษาฑูตและกงสุล เป็นการศึกษาควบคู่ไปกับกฎหมายระหว่างประเทศและการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ เช่น การจัดตั้งสันนิบาตชาติ การวิจัยและแนวคิดเรื่องดุลอำนาจ(Balance of power)ซึ่งเคยได้รับความนิยมในอดีต มีแนนวคิดและความเชื่อว่าประชาคมโลกจำเป็นต้องมีสถาบันและองค์การเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความร้ายแรงระดับโลก ในขณะเดียวกันนั้นยังต้องรักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลกไว้ด้วย
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้นักวิชาการแสวงหาองค์การที่มีจุดประสงค์ในการรักษาความสงบของโลกและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก การกระทำของนักวิชาการไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอและยังทำลายสิ่งที่เป็นหลักและยึดถือไว้ ทำให้นักวิชาการกลายเป็นนักปฏิรูป ที่ไม่เพียงใช้หลักความจริงในการศึกษาแต่กลับใช้อารมณ์และความเพ้อฝันเป็นหลัก ว่าองค์การที่คิดไว้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่คำนึงถึงหลักความจริงในขณะนั้น นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปมีความรู้มากขึ้นและเห็นว่าการศึกษาที่ใช้วิธีเก่าๆเป็นวิธีที่ล้าสมัยและไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป อีกทั้งการศึกษาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในเรื่องแบบมากกว่าเนื้อหาที่ไม่ได้มีการเปิดกว้างและศึกษาเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆทำให้วงการศึกษามีลักษณะที่แคบและไม่ทันสมัย การพัฒนาศึกษาแนวคิดทฤษฎี มีอุปสรรคขาดความเชื่อมั่นและถือว่าระยะที่สามเป็นยุคเสื่อมของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ว่าได้
 
'''ระยะที่สี่'''
ระยะหลังสงครามโลกจนถึงปัจจุบัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องการเมืองจึงทำให้การศึกษากำลังและอิทธิพลต่างได้รับความสนใจไปด้วย การศึกษาเทคนิคและพฤติกรรมของแต่ละรัฐ ตลอดจนการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐ ที่เป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ที่จะใช้ในการทำสงครามในขณะนั้นรวมไปถึงการเกิดสงครามเย็นระหว่างโลกตะวันตกและรัสเซียทำให้นักวิชาการมุ่งความสนใจมาที่การศึกษาศิลปะของสงครามมากขึ้น ในการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศในระยะที่สามที่นักวิชาการส่วนใหญ่เน้นศึกษาไปที่แบบและเนื้อหาเพียงเท่านั้นจึงได้ปรับการศึกษาใหม่ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการเมือง และยังมีการค้นคว้าการแสวงหาอำนาจและความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างชาติ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง การพัฒนาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มีการใช้หลักและวิธีการในสาขาวิชาต่างๆมาเป็นแบบในการศึกษาอีกด้วย โดยนักวิชาการจะเลือกหลักและวิธีการจากสาขานั้นๆมาปรับใช้ให้เข้ากับการศึกษาวิจัยเหมาะสมกับการศึกษานั้นๆ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่มีขอบเขตกว้างและซับซ้อนดังนั้นนักวิชาการเลยใช้การผสมผสานความรู้ในหลายๆสาขาวิชาเพื่อให้สามารถเข้าใจและลำดับเหตุการณ์ได้ถูกต้อง
 
ในปัจจุบันการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมุ่งวิจัยและใช้หลักสถิติเข้ามาเพื่อเก็บข้อมูลและทดสอบซึ่งการศึกษาวิธีนี้เป็นการศึกษาที่ทำให้มีทฤษฎีใหม่ๆและการเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ ข้อมูลมีการคลาดเคลื่อนน้อยลง การศึกษาเปิดกว้างและมีการใช้หลักของวิชาต่างๆมาเป็นแบบในการศึกษาอีกด้วยการศึกษาที่มีความสนใจมากขึ้นก็ทำให้มีข้อมูลในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป หนังสือที่เกิดจากการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้การศึกษาในยุคต่อไปเป็นไปด้วยความสะดวก รวมไปถึงการผสมผสานการศึกษากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น<ref>ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ.(ม.ป.ป.).(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น).หน้า12-19</ref>
=ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ=
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ ความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐกับรัฐ มีลักษณะคล้ายเหรียญสองด้าน
 
'''ความสัมพันธ์อย่างทางการหรือไม่เป็นทางการ'''
ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีรูปแบบเป็นทางการ คือ การเจริญสัมพันธ์หรือการเป็นสมาชิกในองค์กรต่างๆโดยรัฐหรือบุคคลภายในองค์กรของรัฐที่เป็นผู้ได้รับมอบหมายในการกระทำ เช่น การประชุมสุดยอดผู้นำ การเจรจาระหว่างรัฐ ส่วนลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีรูปแบบไม่เป็นทางการ คือ ความสัมพันธ์ที่เกิดจากองค์กรภายนอกของรัฐและเอกชน ส่วนใหญ่จะเป็นการกระทำที่มุ่งเน้นไปทางด้านการบ่อนทำลายหรือขบวนการก่อการร้าย<ref>วราภรณ์ จุลปานนท์.(2551).(ทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).หน้า28</ref>
 
'''ความสัมพันธ์ในลักษณณะที่เกิดจากความร่วมมือหรือขัดแย้ง'''
ลักษณะความสัมพันธ์ที่เกิดจากการร่วมมือ เช่น การเป็นพันธมิตรระหว่างการทำสงคราม การเจริญความสัมพันธ์ทางด้านการฑูต ลักษณะความสัมพันธ์ที่เกิดจากการขัดแย้ง การต่อต้านทางศาสนา การก่อการร้ายระดับโลก เช่น องค์การอัลเดคา ขบวนการปลดพยัคทมิฬ
 
'''ความสัมพันธ์ในลักษณะเข้มข้นรุนแรงหรือห่างเหิน'''
จากลักษณะความสัมพันธ์ในรูปแบบของความร่วมมือหรือขัดแย้งดังที่ได้กล่าวมานั้น อาจมีลักษณะที่เข้มข้น เช่น การร่วมมือในการเป็นสมาชิกทางการค้า การทำลายความมั่นคงของอีกรัฐหนึ่ง การกีดกันทางการค้า หรือรูปแบบการห่างเหิน เช่น การเจริญความสัมพันธ์ทางการฑูตที่ไม่แน่นแฟ้นกระทำพอเป็นพิธี การเผยแพร่วัฒนธรรมของอีกประเทศหนึ่งเพียงเล็กน้อย
ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเสมือนกับเหรียญสองด้านที่ได้กล่าวมาข้างต้นและเห็นได้ชัดว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นมีทั้งด้านลบและด้านบวก<ref>จุฑาทิพ คล้ายทับทิม.(2553).(หลักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ).หน้า5</ref>