ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Wipawee Boorana (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 32:
 
'''ระยะที่สาม'''
ยังอยูาในช่วงระยะเวลาสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสองเป็นระยะที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางการศึกษาระหว่างประเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยมีการศึกษาฑูตและกงสุล เป็นการศึกษาควบคู่ไปกับกฎหมายระหว่างประเทศและการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศ เช่น การจัดตั้งสันนิบาตชาติ การวิจัยและแนวคิดเรื่องดุลอำนาจ(Balance of power)ซึ่งเคยได้รับความนิยมในอดีต มีแนนวคิดและความเชื่อว่าประชาคมโลกจำเป็นต้องมีสถาบันและองค์การเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความร้ายแรงระดับโลก ในขณะเดียวกันนั้นยังต้องรักษาสันติภาพและความมั่นคงของโลกไว้ด้วย
จากแนวคิดดังกล่าวทำให้นักวิชาการแสวงหาองค์การที่มีจุดประสงค์ในการรักษาความสงบของโลกและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในโลก การกระทำของนักวิชาการไม่มีความน่าเชื่อถือมากพอและยังทำลายสิ่งที่เป็นหลักและยึดถือไว้ ทำให้นักวิชาการกลายเป็นนักปฏิรูป ที่ไม่เพียงใช้หลักความจริงในการศึกษาแต่กลับใช้อารมณ์และความเพ้อฝันเป็นหลัก ว่าองค์การที่คิดไว้นั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงโดยไม่คำนึงถึงหลักความจริงในขณะนั้น นอกจากนี้ประชาชนทั่วไปมีความรู้มากขึ้นและเห็นว่าการศึกษาที่ใช้วิธีเก่าๆเป็นวิธีที่ล้าสมัยและไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไป อีกทั้งการศึกษาส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญในเรื่องแบบมากกว่าเนื้อหาที่ไม่ได้มีการเปิดกว้างและศึกษาเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆทำให้วงการศึกษามีลักษณะที่แคบและไม่ทันสมัย การพัฒนาศึกษาแนวคิดทฤษฎี มีอุปสรรคขาดความเชื่อมั่นและถือว่าระยะที่สามเป็นยุคเสื่อมของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ว่าได้
 
'''ระยะที่สี่'''
ระยะหลังสงครามโลกจนถึงปัจจุบัน การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นตามลำดับ นักวิชาการหันมาให้ความสนใจในการศึกษาเรื่องการเมืองจึงทำให้การศึกษากำลังและอิทธิพลต่างได้รับความสนใจไปด้วย การศึกษาเทคนิคและพฤติกรรมของแต่ละรัฐ ตลอดจนการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐ ที่เป็นผลมาจากสงครามโลกครั้งที่สองที่มีการสร้างอาวุธนิวเคลียร์ที่จะใช้ในการทำสงครามในขณะนั้นรวมไปถึงการเกิดสงครามเย็นระหว่างโลกตะวันตกและรัสเซียทำให้นักวิชาการมุ่งความสนใจมาที่การศึกษาศิลปะของสงครามมากขึ้น ในการศึกษากฎหมายระหว่างประเทศในระยะที่สามที่นักวิชาการส่วนใหญ่เน้นศึกษาไปที่แบบและเนื้อหาเพียงเท่านั้นจึงได้ปรับการศึกษาใหม่ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการเมือง และยังมีการค้นคว้าการแสวงหาอำนาจและความขัดแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ระหว่างชาติ ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง การพัฒนาการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้มีการใช้หลักและวิธีการในสาขาวิชาต่างๆมาเป็นแบบในการศึกษาอีกด้วย โดยนักวิชาการจะเลือกหลักและวิธีการจากสาขานั้นๆมาปรับใช้ให้เข้ากับการศึกษาวิจัยเหมาะสมกับการศึกษานั้นๆ การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่มีขอบเขตกว้างและซับซ้อนดังนั้นนักวิชาการเลยใช้การผสมผสานความรู้ในหลายๆสาขาวิชาเพื่อให้สามารถเข้าใจและลำดับเหตุการณ์ได้ถูกต้อง
 
ในปัจจุบันการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมุ่งวิจัยและใช้หลักสถิติเข้ามาเพื่อเก็บข้อมูลและทดสอบซึ่งการศึกษาวิธีนี้เป็นการศึกษาที่ทำให้มีทฤษฎีใหม่ๆและการเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบ ข้อมูลมีการคลาดเคลื่อนน้อยลง การศึกษาเปิดกว้างและมีการใช้หลักของวิชาต่างๆมาเป็นแบบในการศึกษาอีกด้วยการศึกษาที่มีความสนใจมากขึ้นก็ทำให้มีข้อมูลในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อไป หนังสือที่เกิดจากการศึกษาก็จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้การศึกษาในยุคต่อไปเป็นไปด้วยความสะดวก รวมไปถึงการผสมผสานการศึกษากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้น<ref>ศิโรตม์ ภาคสุวรรณ.(ม.ป.ป.).(ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเบื้องต้น).หน้า12-19</ref>