ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kalasee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 52:
วันที่ [[5 เมษายน]] [[พ.ศ. 2538]] คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่ง และ[[มหาวิทยาลัยมหิดล]]ได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี
 
เมื่อวันที่ [[1 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2540]] [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารอำนวยการขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำและความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซึ้งซึ้อที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย
 
วันที่ [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2552]] มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล [[พ.ศ. 2552]] เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล [[พ.ศ. 2550]] จึงได้ออกประกาศให้มหาวิทยาลัยมหิดล แบ่งส่วนงานออกเป็น 2 สำนักงาน 1 วิทยาเขต 17 คณะ 7 สถาบัน 5 วิทยาลัย 1 หอสมุดฯ โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น '''มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี''' นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน <ref> ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/E/169/120.PDF การจัดตั้งส่วงานของมหาวิทยาลัยมหิดล], 16 กันยายน พ.ศ. 2552</ref>