ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:D.Waraporn/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
==ตัวอย่างการดำเนินงานรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ==
มีหลายประเทศที่ได้มีการนำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ ส่วนใหญ่มักพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง ได้แก่ประเทศในแถบ[[สแกนดิเนเวีย]] เช่น [[สวีเดน]] [[นอร์เวย์]] [[เดนมาร์ก]] [[ฟินแลนด์]] เป็นต้น และประเทศในแถบ[[ยุโรป]] เช่น [[เยอรมนี]] [[อังกฤษ]] เป็นต้น แต่ประเทศผู้กล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานรัฐสวัสดิการมากที่สุด จนมีหลายประเทศนำไปเป็นแบบจำลองของรัฐสวัสดิการ คือ ประเทศสวีเดน
 
ประเทศสวีเดน เป็นประเทศที่ถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการมากที่สุด โดยสามารถบรรลุตามวัตถุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในเรื่องความเท่าเทียมและความมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การนำแบบจำลองรัฐสวัสดิการสวีเดนไปเป็นต้นแบบในแต่ละประเทศก็ยังมีข้อจำกัดที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประเทศสวีเดนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้รัฐสวัสดิการประสบผลสำเร็จ โดยผู้ริเริ่มระบบรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในประเทศสวีเดนคือ Alva Myrdal ซึ่งรัฐสวัสดิการนี้จะคุ้มครองตั้งแต่เกิดจนตาย ในช่วงทศวรรษ 1930 กล่าวว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้สวีเดนประสบความสำเร็จในการนำระบบรัฐสวัสดิการมาในประเทศ ได้แก่
# ประชากรในประเทศสวีเดนมีน้อยและมีความเหมือนกัน เนื่องจากสวีเดนไม่เคยอยู่ในยุคของระบบศักดินา และรัฐบาลก็จะถูกนำเสนอในลักษณะของการมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยม ดังนั้นประชากรจึงมีความเชื่อและศรัทธาให้ผู้อื่นและรัฐบาลในระดับสูง ประชาชนหรือชาวนาเจ้าของที่ดินจึงคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่หรืออำนาจของรัฐ และคิดว่ารัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน