ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผู้ใช้:D.Waraporn/กระบะทราย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กระบะทรายผู้ใช้}} <!-- กรุณาทดลองเขียนหรือร่างบทความใต้บรรทัด...
 
D.Waraporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
==ตัวอย่างการดำเนินงานรัฐสวัสดิการในต่างประเทศ==
มีหลายประเทศที่ได้มีการนำระบบรัฐสวัสดิการมาใช้ ส่วนใหญ่มักพบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งประเทศเหล่านี้จะมีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งและมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูง ได้แก่ประเทศในแถบ[[สแกนดิเนเวีย]] เช่น [[สวีเดน]] [[นอร์เวย์]] [[เดนมาร์ก]] [[ฟินแลนด์]] เป็นต้น และประเทศในแถบ[[ยุโรป]] เช่น [[เยอรมนี]] [[อังกฤษ]] เป็นต้น แต่ประเทศผู้กล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานรัฐสวัสดิการมากที่สุด จนมีหลายประเทศนำไปเป็นแบบจำลองของรัฐสวัสดิการ คือ ประเทศสวีเดน
ประเทศสวีเดน เป็นประเทศที่ถูกกล่าวถึงในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการเป็นรัฐสวัสดิการมากที่สุด โดยสามารถบรรลุตามวัตถุเป้าหมายทางเศรษฐกิจและสังคมในเรื่องความเท่าเทียมและความมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปพร้อมกัน อย่างไรก็ตาม การนำแบบจำลองรัฐสวัสดิการสวีเดนไปเป็นต้นแบบในแต่ละประเทศก็ยังมีข้อจำกัดที่จะต้องคำนึงถึง เนื่องจากประเทศสวีเดนมีโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม เฉพาะเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งนั่นเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้รัฐสวัสดิการประสบผลสำเร็จ โดยผู้ริเริ่มระบบรัฐสวัสดิการสมัยใหม่ในประเทศสวีเดนคือ Alva Myrdal ซึ่งรัฐสวัสดิการนี้จะคุ้มครองตั้งแต่เกิดจนตาย ในช่วงทศวรรษ 1930 กล่าวว่า ปัจจัยที่สนับสนุนให้สวีเดนประสบความสำเร็จในการนำระบบรัฐสวัสดิการมาในประเทศ ได้แก่
# ประชากรในประเทศสวีเดนมีน้อยและมีความเหมือนกัน เนื่องจากสวีเดนไม่เคยอยู่ในยุคของระบบศักดินา และรัฐบาลก็จะถูกนำเสนอในลักษณะของการมีชื่อเสียง และเป็นที่นิยม ดังนั้นประชากรจึงมีความเชื่อและศรัทธาให้ผู้อื่นและรัฐบาลในระดับสูง ประชาชนหรือชาวนาเจ้าของที่ดินจึงคุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่หรืออำนาจของรัฐ และคิดว่ารัฐบาลเป็นส่วนหนึ่งของประชาชน
บรรทัด 49:
<br />
ปัจจุบันประเทศสวีเดนมี GDP ต่อหัวต่ำกว่าประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงเป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน
 
==ตัวอย่างของระบบรัฐสวัสดิการของประเทศสวีเดน==
 
* การศึกษา ในประเทศสวีเดนเรื่องของการศึกษาถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยรัฐจะมีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียนฟรีตั้งแต่ชั้นประถมศึกษากระทั่งจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก โดยไม่มีการคิดค่าหน่วยกิตหรือการเรียกเก็บค่าเทอม ในส่วนของการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยนั้น จะมีการเรียกเก็บเฉพาะ “ค่าบำรุงองค์การนักศึกษา” เท่านั้นที่มีการบังคับ ให้นักศึกษาต้องจ่าย นอกจากนี้ระบบการศึกษาของประเทศสวีเดนยังเน้นการสอนไปที่ความเป็นไปตามระดับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย และนอกจากการเรียนฟรีแล้ว อุปกรณ์ในการเรียนรวมถึงอาหารกลางวันทุกอย่างก็ฟรีทั้งหมดอีกด้วย
* การประกันสุขภาพ รัฐจะมีการช่วยค่ารักษาพยาบาล ช่วยค่าการรักษาสุขภาพฟัน จ่ายค่านอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล จ่ายค่ายา รวมถึงมีการชดเชยรายได้ระหว่างเจ็บป่วยด้วย แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความรัฐจะมีการช่วยจ่ายให้ทั้งหมด 100% ของค่าใช้จ่าย การที่รัฐเข้ามาช่วยนั้นจะมีเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกฎหมายด้วย เช่น การรักษาฟัน กรณีผู้มีอายุต่ำกว่า 17 ปีรักษาฟรีทั้งหมด ส่วนผู้ที่อายุเกิน 17 ปี ต้องมีการจ่ายค่ารักษาส่วนหนึ่ง คือ ถ้ารักษาไม่เกิน 1,000 โครนเนอร์ รัฐจะจ่าย 50% แต่ถ้าเกิน 1,000 โครนเนอร์ รัฐจ่ายให้ 75% ซึ่งอัตราการคิดเงินนี้รัฐบาลจะกำหนดไว้อย่างชัดเจน แพทย์จะคิดเงินเกินกว่าที่กำหนดไม่ได้ แต่อาจคิดต่ำกว่าได้ เป็นต้น