ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปัจเจกพุทธเจ้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้ายมาจากปัจเจกพุทธเจ้า
Lipikara (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''พระปัจเจกพุทธเจ้า''' ({{lang-pi|ปจฺเจกพุทฺธ}}; {{lang-sa|ปฺรตฺเยกพุทฺธ}}) เป็น[[พระพุทธเจ้า]]ประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณท่านตรัสรู้แล้วเกิดอัปโปสุกกธรรม คือ ไม่ขวนขวายที่จะแสดงธรรม ยินดีอยู่[[วิเวก]]ตามลำพัง จึงประจำอยู่แต่ในป่า นาน ๆ จึงจะเข้าเมืองเพื่อ[[บิณฑบาต]]สักครั้ง
 
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 [[อสงไขย]]แสน[[กัป]]<ref>[http://etipitaka.com/read/thaimm/50/18/ ไม่ต่ำกว่านั้น แม้ในสัทธา และวิริยาธิกะ เลยกำหนดไปกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินไปกว่าอสงไขย ๓,มาใน ''พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม'' เล่มที่ ๕๐ หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๘]</ref> และตรัสรู้[[อริยสัจ 4]] ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]] แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้น[[ศาสนาพุทธ]] และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
ใน[[ปรมัตถโชติกา]] อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของพระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้)<ref>ในชั้นที่ลึกซึ้ง ว่า หมายถึง พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่อาจกระทำพุทธพยากรณ์ด้วยกาล และด้วยกรณีย์กิจในเหตุนั้นๆ{{อ้างอิง}}</ref> ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ท่าน จะอุบัติขึ้นในช่วงพุทธันดร กล่าวคือ เป็นช่วงเวลาที่โลกว่างจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ จึงไม่ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น)<ref>การนับเวลาประสูติกาล ให้นับในประเพณีที่นับวันประสูติด้วยการนับเวลาตั้งแต่ระยะกาลแห่งแรกปฏิสนธิ ซึ่งมีมาทั้งในอินเดียโบราณ และทั้งประเพณีจีน{{อ้างอิง}}</ref>
 
พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละองค์พระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ [[พราหมณ์]] หรือคหบดี<ref>พระปัจเจกโพธิสัตว์อภิเษกพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจากทุกๆสาขาอาชีพถึงเป็นนายพรานก็มี แต่ความมีปรากฏมาในสมัยโบราณชั้นอรรถกถา ด้วยนัยที่ได้กล่าวแต่หลักฐานในชั้นแรกๆก่อน ใจความข้อนี้ถึงได้เลือนๆไป จนถึงกะว่าไม่มีก็มีในผู้ที่ถือเข้าเฉพาะหลักในสำนักที่ไม่ถือและไม่นับบทธรรมที่มาในอรรถกถา ฉะนั้นจึงพอแต่อ้างอิงไว้เป็นแต่เพียงข้อสังเกตุฯ ว่าพระชาติเมื่อจะอภิเษกด้วยพระปัจเจกธรรมถึงด้วยพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งนั้น ดังนั้นมีมาด้วยทุกแห่ง และอาจเป็นได้จากทุกๆอาชีพ ดังพอปรากฏหลักฐาน(มาในอรรถกถา)บ้าง ดังนี้ <br>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/jataka.php?i=271155 พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายช่างกัลบก]<br> [http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1961 พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธิสัตว์พระชาตินกยูงทอง]<br> [http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1542 พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ]<br></ref>แต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่เขาภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งใน[[ป่าหิมพานต์]]หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ
 
คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ
 
พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขา[[เขาคันธมาทน์|คันธมาทน์]]อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตร<ref>*เหตุ[หมายถึงการได้เป็นผู้สั่งสอนตามปรากฏใน''พจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์'']<br>ว่า มีในที่ถูกตั้งเป็นอาจารย์ ๔ อย่าง คือ <br> ๑) บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา <br> ๒) อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท <br> ๓) นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย <br> ๔) อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม </ref>ในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขา<ref>หมายถึงในเบญจคีรีบรรพต ๕ ยอดภูเขา แต่ภูเขา ๑ในห้าแห่งภูเขานั้น เรียกว่า “คิลิ” ซึ่งหมายถึงที่มีมาใน''อิสิคิลิสูตร'' แล้วนั้น<br>[http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=3647&Z=3723 เรื่องเคยมีมาแล้ว เรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า,พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - ข้อที่ ๒๔๙ ถึง ๒๕๑ ใน อิสิคิลิสูตรที่ ๖]</ref>แห่ง[[ฤๅษี]](หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า)
ปัจเจกพุทธเจ้ามีเป็นจำนวนมาก ดังเช่นบางตำนานว่า ท่านอยู่กันที่[[เขาคันธมาทน์]]ประมาณ 500 รูป เพราะไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะบ่อยนัก และไม่แสดงธรรม พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อไปด้วย
 
พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า '''"ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"'''
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* [http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=147&Z=289 ปัจเจกพุทธาปทาน], ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒