ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรืองโรจน์ มหาศรานนท์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
2T (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 16:
ในเหตุการณ์การ[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549|รัฐประหารในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549]] พลเอกเรืองโรจน์ถูกแต่งตั้งโดยประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ของ พันตำรวจโท[[ทักษิณ ชินวัตร]] ให้เป็นผู้อำนวยการควบคุมสถานการณ์ แต่ทว่าคำสั่งนี้ไม่อาจปฏิบัติได้ เนื่องจากกองกำลังของ[[คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข]] (คปค.) ได้ควบคุมสถานการณ์ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดไว้ได้แล้ว ต่อมา พลเอกเรืองโรจน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานที่ปรึกษาของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และดำรงตำแหน่งนี้จนเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549
 
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 หลังจากที่ประชุมสมาชิกเดิมของ[[พรรคไทยรักไทย]] มีมติให้ ส.ส.เก่าของพรรค สมัครเป็นสมาชิก[[พรรคพลังประชาชน]] เพื่อดำเนินการทางการเมืองต่อไป พลเอกเรืองโรจน์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคด้วย และได้รับเลือกเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชนด้วยเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
 
พลเอกเรืองโรจน์สมรสกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รัตนาภรณ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ [[มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี]] มีบุตรชาย และบุตรสาว 2 คน