ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 4:
== งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ==
 
== '''งานสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ คือ เป็นสาขาหนึ่งของสังคมสงเคราะห์ที่ ทำงานเฉพาะทางร่วมกับทีมสหวิชาชีพ'''ในโรงพยบาล ผู้ที่ทำหน้าที่ดังกล่าวถูกเรียกว่า นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ หรือ นักสังคมสงเคราะห์ทางคลินิก ซึ่งเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หรือสาขาที่สภาวิชาชีพสังคมสงเคราะหฺ์รับรอง ทำหน้าที่   คัดกรอง เฝ้าระวัง ประเมินวินิจฉัย บำบัด เยียวยา ให้การปรึกษา ให้คำแนะนำ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่ประสบัญหาสังคมประสบปัญหาสังคม อารมณ์ จิตใจ พฤติกรรม ปัญหาครอบครัว ปัญหาการดำรงชีวิต ปัญหาการเงิน และปัญหาสังคมอื่นๆ ทั้งนี้ร่วมวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัยพฤติกรรม สิ่งแวล้อม และความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ ร่วมกับสหวิชาชีพในและนอกโรงพยาบาล มีการพัฒนาศักยภาพของบุคคลที่มีความเสื่อมหรือความบกพร่องทางสังคมให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ มีการเสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัว ครอบครัวและผู้ดูแล มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย ทำหน้าที่ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างเหมาะสม ทำงานภายใต้การกำกับดูแลของสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์    ตามพรบ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ พ.ศ. 2556    โดยใช้เครื่องมือทางสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์  ที่รับรองโดยสภาวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ได้แก่ เครื่องมือประเมินและวินิจฉัยทางสังคม  ( สค.)  เครื่องมือประเมินทักษะพื้นฐานการทำงานและทักษะทางสังคม         แบบประเมินความพร้อมครอบครัวในการดูแลผู้ป่วย   แบบประเมินการดูแลสุขภาพจิต โดยใช้วิธีการสังคมสงเคราะห์เฉพาะราย กลุ่ม ชุมชน และกระบวนการ ตามมาตรฐานวิชาชีพกำหนด ==
 
== นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ ==
จัดเป็นส่วนหนึ่งในของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ จัดเป็นตัวจักรสำคัญในการประสานระหว่างทีมงานผู้รักษา องค์กรต่างๆ ครอบครัวและผู้ป่วย ในการให้ความช่วยเหลือคนพิการที่ประสบปัญหาด้านต่างๆ อาทิ ส่งต่อ แหล่งทรัพยากร  เงิน สิ่งของ และสวัสดิการของรัฐ ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรค รักษาพยาบาล /การดำเนินชีวิตหมายเหตุ สวัสดิการของรัฐ  ได้แก่  ปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย  การอาชีพ การศึกษา  ความมั่นคงทางสังคม  การสันทนากร  การบริการทางสังคมอื่น ๆ ตามสิทธิที่ประชาชนคนไทยพึงมี พึงได้ ตามกฎหมาย การจัดหาที่พักฟื้น การประสานงานเพื่อการฟื้นฟูทางอาชีพ การฟื้นฟูสมรรถทางสังคม ทักษะชีวิต ทักษะทางสังคม การประสานงานกับสวัสดิการสังคม องค์กรทางการแพทย์และองค์กรภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ ยังต้องพัฒนาศักยภาพคนพิการ ให้กลับไปทำหน้าที่อยู่ในสังคมได้ เสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัว ผู้ดูแลมีศักยภาพในการดูแลคนพิการ ประสานและการจัดการทรัพยากร ตลอดจนพิทักษ์สิทธิประโยชน์ให้กับผู้ป่วยและครอบครัว เตรียมครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การช่วยเหลือคนพิการอย่างเหมาะสม เป็นต้น
 
งานของนักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ จัดเป็นงานที่สำคัญ และไม่ค่อยมีผู้รับรู้บทบาทเท่าใดนัก เนื่องจากมักเป็นผู้ทำงานอยู่เบื้องหลังความสำเร็จต่างๆในการเชื่อมโยง"ภายในองค์กรการแพทย์"กับ"องค์กรภายนอก" เปรียบเสมือน “ผู้ปิดทองหลังพระ” นักสังคมสงเคราะห์ไม่ได้ถูกกล่าวขานในฐานะ “ผู้มีพระคุณ” แต่มักจะอยู่ในฐานะ “เพื่อน” หรือ “พี่-น้อง” มากกว่า ปรัชญาของการสังคมสงเคราะห์ คือ การช่วยเหลือผู้รับบริการให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้ Help them to help themselves
 
ความจำเป็นของงานสังคมสงเคราะห์ในโรงพยาบาล
 
1.จากสถานการณ์ปัญหาด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรง ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพผู้ป่วยให้มีความซับซ้อนมากขึ้น การบำบัดรักษาทางการแพทย์เพียงมิติเดียวไม่เพียงพอ บริการสุขภาพจึงต้องครอบคลุมบริการด้านสุขภาพ  แบบองค์รวม
 
2.นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องของการเตรียมการดูแลปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมผู้สูงอายุ การดูแลกลุ่มวัย การดูและเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง การดูแลคนพิการ การประคับประคองดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้าย  ผู้ติดยาเสพติดและจิตเวช การเพิ่มคุณภาพระบบหลักประกันสุขภาพ ฯลฯ
 
3.กฎหมายหลายฉบับตามกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญและมีผลกระทบต่อระบบบริการสุขภาพที่งานสังคมสงเคราะห์ร่วมดำเนินการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการสาธารณสุขตามสิทธิอย่างเสมอภาค เหมาะสม และเป็นธรรม
 
     - พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐
 
     -  พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖และพ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. ๒๕๕๐
 
     -  พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด  พ.ศ. 2545
 
  - พ.ร.บ.สุขภาพจิต ๒๕๕๑ 
 
  - พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑   
 
  - พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. ๒๕๔๖   
 
  - พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
 
  - พ.ร.บ.ประกันสังคม  พ.ศ. ๒๕๓๓ และพ.ร.บ.กองทุนเงินทดแทน  พ.ศ. ๒๕๓๗
 
- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  พ.ศ. ๒๕๓๕   
 
  - พ.ร.บ.ส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. ๒๕๔๖
 
          -  พ.ร.บ ค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา - ฯลฯ 
 
สถาบันที่ผลิตนักสังคมสงเคราะห์ มี 6 สถาบัน ประมาณ 800 คน/ปีดังนี้
 
•ม.ธรรมศาสตร์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 330  คน /ปี
 
•ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิตจำนวน 150 คน  /ปี
 
•มหามกุฎราชวิทยาลัย หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 50 คน/ปี
 
•มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต  จำนวน  50  คน/ปี
 
•ม.เกริก หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน   30  คน/ปี
 
•ม.สงขลานครินทร์ หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บัณฑิต จำนวน 50 คน  /ปี
 
•สถาบันอื่น ตาม กพ กำหนด(จิตวิทยา และสังคมวิทยา ฯลฯ )จำนวน 200  คน /ปี
 
สมรรนะนักสังคมสงเคราะห์ ด้านต่าง ๆ ดังนี้
 
1.ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน จริยธรรม วิชาชีพสังคมสงเคราะห์  : รักงาน รักผู้ป่วย
 
2.การพัฒนาตนเอง : การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมนา เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มพูนทักษะ (แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน ระหว่างรพ.)
 
3.การให้บริการ : สามารถให้บริการ  1.)  เฉพาะราย (Social Case Work)  2.) กลุ่มชน (Social Group Work)  3.) สังคมสงเคราะห์ชุมชน / การจัดระเบียบและการพัฒนาชุมชน (Community Organization and Community Development เพื่อสร้างความยั่งยืนทางสวัสดิการด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน/สังคม)
 
4.เครือข่าย : สร้างและมีสัมพันธภาพที่ดีกับเครือข่ายการให้บริการ : สหสาขาวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายที่รับ/ส่งต่อ ชุมชน องค์กรภาครัฐและเอกชน
 
5.การทำงานเป็นทีม : สามารถประสานการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นๆ (แพทย์ พยาบาล จิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัด แลนักโภชนาการ) รวมทั้งผู้ป่วย/ครอบครัว ุ
 
6.ผลงานการพัฒนาคุณภาพการบริการ / การวิจัย/R2R ทางสังคมสงเคราะห์ : สร้าง/ต่อยอดองค์ความรู้ เกิด Good / Best Practice เผยแพร่ เป็นแบบอย่าง ชี้นำสังคม ฯลฯ
 
==   นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ==
 
== นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ในงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ==
เนื่องจากงาน[[เวชศาสตร์ฟื้นฟู]] เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ หรือผู้ป่วยที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายโดยตรง จึงทำให้นักสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ต้องมีภาระหน้าที่เพิ่มเติมจากที่กล่าวมาข้างต้น โดยเกี่ยวโยงไปถึงการวางแผนการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ทักษะสังคม ทักษะชีวิต ผู้ป่วยภายในโรงพยาบาล การวางแผนในการส่งต่อเพื่อพักฟื้นหรือฝึกอาชีพผู้พิการ การประสานงานเพื่อจัดหางานให้ผู้พิการ การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยและปรับปรุงที่พักอาศัย การให้การสงเคราะห์ต่างๆ การติดต่อกับองค์กรการกุศล องค์กรผู้พิการ องค์กรกีฬาต่างๆ การจัดหาอุปกรณ์เครื่อวช่วยผู้พิการต่างๆ การจัดสถานศึกษาแก่เด็กพิการ เป็นต้น