ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ย้อนการแก้ไขที่ 6939849 สร้างโดย 1.46.107.57 (พูดคุย)
บรรทัด 19:
| พระราชสวามี = [[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| พระสวามี =
| พระราชโอรส/ธิดา = [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทรเจษฎ์จันทร์]]
| บุตร/ธิดา =
| ราชวงศ์ = [[ราชวงศ์จักรี]]
}}
 
'''พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์''' พระ[[มเหสี]]ใน[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว|รัชกาลที่ 5]] หรือพระนามเดิม '''หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์''' เป็นพระธิดาพระองค์รองใน[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลดาวัลย์ กรมหมื่นภูมินทรภักดี]] อันประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน เมื่อวันศุกร์ที่ [[๒๖ มกราคม]] [[พ.ศ. 2397|พ.ศ. ๒๓๙๗]] <ref>http://theyoung.net/tamneap_vip/49_queen/49_37.htm</ref><ref>{{อ้างหนังสือ
|ผู้แต่ง=จิรวัฒน์ อุตตมะกุล
|ชื่อหนังสือ=พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้า ในรัชกาลที่ ๕
บรรทัด 37:
</ref>
 
หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ เมื่อประสูติทรงประทับอยู่ที่วังของพระบิดา โดยมี[[กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ]] (ทูลกระหม่อมแก้ว) ทรงเป็นผู้อภิบาล มีพระเชษฐภคินีและพระขนิษฐาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจีน ๒ พระองค์ และได้รับราชการฝ่ายในถวายพระองค์เป็นพระอรรคชายาเธอใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งสามพระองค์ คือ
* หม่อมเจ้าบัว ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระ[[มเหสี]] ทรงมีอิสริยยศเป็น [[พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา]]
* หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ เมื่อเป็นพระ[[มเหสี]] ทรงมีอิสริยยศเป็น [[พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ]]
 
หม่อมเจ้าปิ๋ว ลดาวัลย์ ทรงรับราชการฝ่ายในเป็นพระ[[มเหสี]]มีพระทรงอิสริยยศเป็น '''พระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์''' มีพระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ
*เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร ประสูติในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ต่อมาทรงเฉลิมพระยศเป็น [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทราสรัทวาร วโรฬารลักษณสมบัติ รัตนกุมารี กรมขุนพิจิตรเจษฎจันทรเจษฎ์จันทร์]] หรือ '''สมเด็จหญิงใหญ่'''
 
หม่อมเจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ ทรงเป็นที่โปรดปรานของ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร]]มาก ถึงกับทรงตั้งพระทัยจะให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระอัคร[[มเหสี]]เลยทีเดียว แต่ว่าหม่อมเจ้าเสาวภาคยนารีรัตนมีพระพลานามัยไม่สู้จะสมบูรณ์นัก ประสูติพระราชธิดาพระองค์ ๑ แล้วก็ประชวรกระเสาะกระแสะเรื่อยมา จนกระทั่ง สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ พระองค์ได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศหลังจากสิ้นพระชนม์ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าออกพระนามว่า '''พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์''' ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ เสมอ[[พระองค์เจ้าต่างกรม]]ใน[[พระบรมมหาราชวัง]] ตามตำแหน่งพระอรรคชายาเธอ<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/031/251.PDF คำประกาศตั้งพระอรรคชายาเธอ หม่อมเจ้าเสาวภาคนารีรัตนคน่รีรัตน ขึ้นเป็น พระองค์เจ้า มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัตรว่า พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคนารีรัต ทรงศักดินา ๑๕๐๐๐ เสมอเจ้าต่างกรมในพระบรมมหาราชวังตามตำแหน่งพระอรรคชายาเธอ], เล่ม ๔, ตอน ๓๑, ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๑๘๘๗, หน้า ๒๕๑ </ref>
 
ในปีนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสูญเสียพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดาใน[[สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ]]ถึง ๓ พระองค์ ในปีเดียวกัน คือ พระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์นารีรัตน์ [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์]] [[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์]] และ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพชรุตม์ธำรง]] <ref>http://www.palaces.thai.net/new/bp/memo.htm#Thai</ref> จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง[[อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์]]เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ เพื่อระลึกถึงพระอรรคชายาเธอ พระราชโอรส และพระราชธิดาที่สิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน อนุสาวรีย์ราชานุสรณ์ทำด้วยหินอ่อนแกะสลักพระรูปเหมือนทั้ง 4 พระองค์ ตั้งอยู่ใกล้กับ[[อนุสาวรีย์พระนางเรือล่ม]] ที่[[พระราชวังบางปะอิน]]