ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สยามสแควร์วัน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 14:
 
'''ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน''' ({{lang-en|Siam Square One}}) เป็น[[ศูนย์การค้า]]ในย่าน[[สยามสแควร์]] [[ประเทศไทย]] สร้างบนพื้นที่เดิมของ[[โรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์|โรงภาพยนตร์สยาม]] ที่ได้รับความเสียหายจากเพลิงไหม้เมื่อครั้ง[[การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553|การชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. 2553]] บริหารงานโดย สำนักงานจัดการทรัพย์สินแห่ง[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] เป็นจุดเชื่อมต่อสถานี[[รถไฟฟ้าบีทีเอส]] [[สถานีสยาม]] ที่สำคัญแห่งหนึ่งบน[[ถนนพระรามที่ 1]]<ref>สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “สยามสแควร์วัน.” เว็บไซต์ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2557. http://www.property.chula.ac.th/web/node/1378 (31 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
 
==ประวัติ==
ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน ก่อสร้างขึ้นบนที่ดินผืนเดิมของโรงภาพยนตร์สยามที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ เมื่อ พ.ศ. 2553 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับสัญญาเช่าที่ดินของโรงภาพยนตร์สยามหมดลง สำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงไม่ขอต่อสัญญากับผู้เช่ารายเดิม และนำที่ดินดังกล่าวมาพัฒนาเป็นศูนย์การค้าแบบเปิดขนาดใหญ่ความสูง 8 ชั้นแทน โดยมีสำนักงานสถาปนิกกรุงเทพ (OBA) เป็นสถาปนิกหลักของโครงการ ร่วมกับคณาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ สมิตร โอบายะวาทย์
 
ศูนย์การค้าแห่งนี้ได้รับการออกแบบเป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 อาคารวางขนานกัน เว้นพื้นที่เปิดตรงกลางเป็นทางลาดยาว จากชั้น 3 ลงไปชั้น 1 และมีทางเดินเชื่อมถึงกันระหว่างอาคารวางตลอดโครงการ ซึ่งศูนย์การค้าแห่งนี้เปิดทำการอย่างไม่เป็นทางการเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2557 แต่หลังจากเปิดทำการได้ไม่กี่วันกลับมีเสียงติในทางลบมากเป็นประวัติการณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการระบายอากาศภายในโครงการ การจัดการกับฝน การวางผังการสัญจรภายในโครงการที่บังคับให้เดินเป็นวงกลม ซึ่งขัดกับความต้องการของลูกค้าเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งถึงปัญหาใหญ่ที่สุดคือการบำบัดน้ำเสียและการจัดการของเสียของโครงการ จนเป็นเหตุให้เกิดก๊าซไข่เน่า ([[ไฮโดรเจนซัลไฟด์]]) ขึ้นภายในบริเวณชั้น B และ LG ซึ่งเป็นพื้นที่แบบปิด ปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกับผู้เช่าในพื้นที่ และทำให้สินค้าของร้านค้าเช่าบางรายเกิดความเสียหายอย่างหนัก ซึ่งภายหลังสำนักทรัพย์สินแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ประกาศปิดปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลาสองเดือนเพื่อจัดการกับระบบบำบัดน้ำเสียซึ่งเสียหายหลังเปิดให้บริการ และวางท่อระบายอากาศ เพื่อลดความชื้นและระบายก๊าซที่เกิดขึ้นออกจากโครงการ ปัญหานี้ทำให้ผู้เช่าร้านค้าบอกเลิกสัญญาและทำให้สูญเสียรายได้ไปเป็นจำนวนมาก ก่อนจะกลับเข้าสู่สถานการณ์ปกติในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2557
 
== การจัดสรรพื้นที่ ==