ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รัฐประหารในประเทศสยาม มิถุนายน พ.ศ. 2476"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476''' เป็น[[รัฐประหาร]]ใน[[ประเทศไทย]] เกิดขึ้นเมื่อวันอังคารที่ [[20 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2476]] นำโดย พันเอก [[พจน์ พหลโยธิน|พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ยึดอำนาจการปกครองของ[[รายชื่อนายกรัฐมนตรีของไทย|นายกรัฐมนตรี]] [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]]
 
== เบื้องหลัง ==
=== ความขัดแย้งในคณะราษฎร ===
รัฐประหารครั้งนี้มีขึ้นหลังเกิดความตึงเครียดเมื่อ[[รัฐประหาร 1 เมษายน พ.ศ. 2476|พระยามโนปกรณ์นิติธาดาประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ]] และงดใช้[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475|รัฐธรรมนูญ]]บางมาตรา หลังจากมีความขัดแย้งกันในหมู่รัฐบาล[[คณะราษฎร]] อันสืบเนื่องจากการยื่น "[[สมุดปกเหลือง]]" เสนอเค้าโครงเศรษฐกิจของศาสตราจารย์ [[ปรีดี พนมยงค์]] ที่ถูกหลายฝ่ายมองว่าเป็นคล้ายกับเค้าโครงเศรษฐกิจของ[[คอมมิวนิสต์]] จึงนำไปสู่การปิดหนังสือพิมพ์บางฉบับที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎร และมีการบีบบังคับให้นายปรีดีเดินทางออกนอกประเทศ กลับไปยัง[[ประเทศฝรั่งเศส]] เมื่อวันที่ [[12 เมษายน]] ปีเดียวกัน เวลา 18.00 น. ที่ท่าเรือบีไอ<ref>''12 เมษายน'', คอลัมน์ ส่วนร่วมสังคมไทย โดย นรนิติ เศรษฐบุตร รศ. หน้า 8 บทความ-การ์ตูน. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,192: ศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเส็ง</ref> และถึงขั้นวิกฤตเมื่อ "4 ทหารเสือ" คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา, [[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]], [[พระยาฤทธิอัคเนย์]] และ[[พระประศาสน์พิทยายุทธ]] ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ [[18 มิถุนายน]] ปีเดียวกัน โดยอ้างเหตุผลว่าเพื่อพักผ่อนหลังจากตรากตรำทำงานราชการจนสุขภาพเสื่อมโทรม
 
สี่วันก่อนมีพระบรมราชโองการให้ประหารผู้ก่อการจากนั้น ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, [[หลวงพิบูลสงคราม]] และ[[หลวงศุภชลาศัย]] ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า
=== รัชกาลที่ 7 ร่วมมือกับพระยามโนฯ เพื่อยึดอำนาจคืน ===
{{wikisource|(ร่าง) ประกาศให้ประหารชีวิตผู้เป็นขบถต่อราชบัลลังก์}}
[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรีได้ร่วมมือกับ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ออกอุบายให้[[คณะราษฎร]] เข้าเฝ้าขอขมาต่อพระองค์ โดยอ้างว่าเพื่อที่จะได้ทำให้ราชวงศ์จักรีคลายความโกรธเคืองต่อคณะราษฎรที่ได้เข้ายึดอำนาจการปกครอง สมาชิกคณะราษฎรก็ตกลงยอมทำตามพระราชประสงค์ดังกล่าวเพื่อแสดงเจตนาบริสุทธิ์ว่ามิได้คิดร้ายต่อราชวงศ์<ref name "fail">{{cite web | url = https://drive.google.com/file/d/0B-aieuPbyJpnZm1FRlNVZE9tQVk/view | title = พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สั่งประหารคณะผู้ก่อการ ๒๔๗๕ | publisher = ''ปาจารยสาร'' ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๒๖ ปี ๒๕๔๒. ISSN 0859-1059}}</ref> สมาชิกคณะราษฎรจำนวน 60 คนได้เข้าเฝ้าฯขอขมาพระองค์ที่[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2475 โดยในการขอขมานั้น ได้มีการลงลายมือชื่อผู้เข้าเฝ้าไว้ จึงทำให้พระองค์ทรงทราบรายชื่อผู้ก่อการ พระยามโนปกรณ์นิติธาดาได้ใช้หลักฐานนี้เตรียมออกประกาศว่าบรรดาผู้ไปขอขมานั้น ''"...ได้ร่วมกันคิดทำการอันเป็นขบถต่อราชบัลลังก์ โดยบังคับด้วยกำลังเข้ายึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงพระราชประเพณีการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อันถือเป็นความผิดฉกรรจ์มหันตโทษ ฉะนั้นจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ลงโทษประหารชีวิตด้วยการตัดหัว ณ ท้องสนามหลวง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2476..."''<ref name "fail"/> อย่างไรก็ตาม พนักงานอาลักษณ์ได้แอบนำประกาศนี้ ไปแจ้งให้นายจิตตะเสน ปัญจะ หนึ่งในผู้ก่อการซึ่งมีรายชื่ออยู่ด้วย<ref name "fail"/>
 
== เหตุการณ์ ==
สี่วันก่อนมีพระบรมราชโองการให้ประหารผู้ก่อการ ในเวลาหัวค่ำของคืนวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน นำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา, [[หลวงพิบูลสงคราม]] และ[[หลวงศุภชลาศัย]] ได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โดยให้เหตุผลว่า
 
{{คำพูด|ด้วยคณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน ณ บัดนี้ ไม่ถูกต้องครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มต้นปิดสภาผู้แทนและงดใช้รัฐธรรมนูญเป็นหลายบท คณะทหารบก, ทหารเรือ กองทัพอากาศ และพลเรือน จึงเห็นเหตุจำเป็นเข้ายึดอำนาจการปกครองเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทนดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ|}}
 
เมื่อรัฐบาลสิ้นสุด ผู้สนับสนุนรัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น พระยาทรงสุรเดช ถูกกีดกันออกจากแวดวงการเมือง ด้านพระยามโนปกรณ์นิติธาดาต้องเดินทางไปที่[[ปีนัง]] พระยาพหลพลพยุหเสนามอบหมายให้[[เจ้าพระยาพิชัยญาติ]] ประธานสภาผู้แทนราษฎร นำความกราบบังคมทูล[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ณ [[วังไกลกังวล]] [[อำเภอหัวหิน|หัวหิน]] เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้เปิดประชุมสภาฯ พร้อมถวายรายงานเรื่องการยึดอำนาจ
=== หลังการยึดอำนาจ ===
เมื่อยึดอำนาจสำเร็จแล้ว มีผู้เสนอให้ทำการตัดหัวพระยามโนปกรณ์ฯและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่นเดียวกับที่คิดจะทำกับผู้ก่อการ<ref name "fail"/> และเสนอให้เปลี่ยนระบอบการปกครองไปเป็นสาธารณรัฐ ให้พระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นประธานาธิบดี<ref name "fail"/> แต่คณะรัฐประหารส่วนใหญ่เห็นว่า เมื่อยึดอำนาจกลับมาได้ก็ไม่คิดจองเวรกันอีก และผู้ก่อการเห็นควรให้ไปกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับมาประทับที่กรุงเทพเป็นพระมหากษัตริย์สืบไป และเห็นควรให้เนรเทศพระยามโนปกรณ์ฯไปยังปีนัง<ref name "fail"/>
 
ซึ่งการรัฐประหารในครั้งนี้ มีบันทึกของพระยาพหลพลพยุหเสนาไว้ว่า ง่ายดายกว่าเมื่อ[[การปฏิวัติสยาม|ครั้งปฏิวัติวันที่]] [[24 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2475]] มาก ในขณะที่เรื่องของการบีบบังคับนายปรีดีไปยังประเทศฝรั่งเศสนั้น มีบันทึกไว้ว่า หลวงพิบูลสงคราม และพระยาพหลพลพยุหเสนาได้กระซิบกับทางนายปรีดีโดยผ่านทาง[[หลวงอดุลเดชจรัส (อดุล อดุลเดชจรัส)|หลวงอดุลเดชจรัส]] ว่าให้เดินทางออกไปก่อน และ ''"เพื่อนฝูงจะแก้ไขให้กลับมาภายหลัง"'' ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ ผู้ก่อการต้องกระทำ หาไม่แล้ว อาจจะถูกจัดการหมดทั้งคณะจากกลุ่มที่นิยมระบบการปกครองแบบเก่าก็ได้<ref>หน้า 17, ''อำนาจ ๒'' โดย [[รุ่งมณี เมฆโสภณ]] ([[มีนาคม]] [[พ.ศ. 2555]]) ISBN 978-616-536-079-1</ref><ref>สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร, ''ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน'', สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พ.ศ. 2539, หน้า 86-87</ref>
 
== ดูเพิ่ม ==