ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยางนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kritsadang (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนกลับไปรุ่นที่ 6143121 โดย Ercé: อาจละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยสจห.
บรรทัด 14:
}}
[[File:Dipterocarpus alatus MHNT.BOT.2006.58.jpg|thumb|''Dipterocarpus alatus'']]
'''ยางนามีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ''' เช่นเป็นไม้ยืนต้นเขตร้อน ยางสูงถึง 40-50 เมตร ในพบในประเทศ[[ไทย]],ยางนา [[กัมพูชา]],ยางขาว,ยางแม่น้ำ,ยางหยวก [[ลาว]] และ[[เวียดนาม]] นอกจากนี้ ยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ อีก คือ กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง,ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง,ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร,ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง,หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)<ref name="สำนักงานหอพรรณไม้">เต็ม สมิตินันทน์ [http://web3.dnp.go.th/botany/ThaiPlantName/Default.aspx ''ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย''] สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549</ref>
'''ยางนา''' (''Dipterocarpus alatus'' Roxb. ex G. Don) จัดอยู่ในวงศ์ไม้ยาง (Dipterocarpaceae)
 
ยางนามีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นต่างๆ เช่น ยาง,ยางนา,ยางขาว,ยางแม่น้ำ,ยางหยวก กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง,ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง,ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร,ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง,หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม)<ref name="สำนักงานหอพรรณไม้">เต็ม สมิตินันทน์ [http://web3.dnp.go.th/botany/ThaiPlantName/Default.aspx ''ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย''] สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549</ref>
 
== ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ==
ยางนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 40-50 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง ปลายใบสอบเรียว เนื้อใบหนา กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 20-35 เซนติเมตร<ref>[http://www.rspg.or.th/plants_data/homklindokmai/province_pl/pdata_75.htm ยางนา] ต้นไม้พระราชทานประจำจังหวัด สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ </ref> ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ สีน้ำตาล กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรเพศผู้มี 25 อัน รังไข่มี 3 ช่อง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีก<ref>[http://www.dnp.go.th/EPAC/plant_economic/41yangna.htm ยางนา] ศูนย์ปฏิบัติการพืชเศรษฐกิจ</ref>
 
=== ลำต้น(Stem) ===
[[ไฟล์:Stem-Yang-Na.png|thumb]]
ยางนาเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ สูงได้ถึง 50 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ โคนต้นมักมีพูพอน ลำต้นมีลักษณะเปลาตรง เปลือกต้นเกลี้ยง มีสีเทาอ่อน เนื้อไม้หยาบ มีสีน้ำตาลแดง เสี้ยนตรง กิ่งและยอดอ่อนมีขน และตามกิ่งมีรอยแผลใบ(leaf scar)ชัดเจน มียางเหนียวใส สีน้ำตาลเข้ม
 
=== ใบ (Leaf) ===
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงแบบสลับเวียน(spiral) แผ่นใบเป็นรูปไข่(ovate) รูปไข่แกมรูปขอบขนาน(ovate-oblong) หรือรูปไข่แกมรูปใบหอก(ovate-lanceolate) กว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 12-35 เซนติเมตร ปลายใบสอบเรียว(acuminate) หรือแหลม(acute ) ฐานใบเป็นรูปลิ่ม(cuneate)หรือมน(obtuse) ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย เนื้อใบหนาคล้ายหนัง แผ่นใบด้านล่างมีขนรูปดาวสั้นๆ ใบอ่อนมีขนสีเทา ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง เส้นแขนงใบ 14-17 คู่ ก้านใบยาว 3-4 เซนติเมตร มีขน มีหูใบแบบปลอกหุ้มยอดอ่อน (hoodlike stipule) ขนาดใหญ่ มีขนสีน้ำตาลอ่อน
 
=== ดอก (Flower) ===
ยางนามีช่วงฤดูกาลออกดอกในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม มีดอกออกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ช่อละ 4-5 ดอก ก้านช่อดอกมีขน ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ  สมมาตรตามรัศมี  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  4  เซนติเมตร  มีกลิ่นหอม  กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ  โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแผ่เป็นปีก  เป็นปีกสั้น 3 ปีก และปีกยาว 2 ปีก  เรียงจรดกัน(valvate) ผิวด้านนอกมีขนสีน้ำตาลอ่อน กลีบเลี้ยงติดทนและขยายขนาดขึ้นเมื่อติดผล กลีบดอกสีชมพูมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน โคนเชื่อมกันเล็กน้อย ปลายกลีบเรียงซ้อนกันบิดเวียนคล้ายกังหัน (convolute) เกสรเพศผู ้มีจำนวนมากเรียงเป็น  3  วง  ก้านชูอับเรณูสั้น  ปลายอับเรณูมีรยางค์เป็นรูปเส้นด้าย  เกสรเพศเมียมียอดเกสร  1  อัน  รังไข่อยู ่กึ่งใต้วงกลีบ  (half-inferior ovary)  มี  3 ช่อง  แต่ละช่องมีออวุล 2 ออวุล
 
=== ผลและเมล็ด (Fruit) ===
 ยางนามีการผสมเกสรทั้งแบบการถ่ายเรณูในต้นเดียวกัน (self-pollination)  และการถ่ายเรณูข้ามต้น  (cross-pollination)  ในแต่ละช่อดอกจะติดผลเพียง  1-3  ผล  ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ผลของยางนาเป็นผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) ซึ่งเป็นผลแห้งไม่แตกแบบเปลือกแข็งมีเมล็ดเดียว (nut) รูปกลม ยาว 2-3 เซนติเมตร มีครีบตามยาว 5 ครีบ มีปีกซึ่งพัฒนามาจากกลีบเลี้ยงที่ขยายขนาด เป็นปีกยาว 2 ปีก ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร และปีกสั้น 3 ปีก ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร สีแดงปนชมพู ผิวมีขนสั้น
 
== สรรพคุณของยางนา ==
สรรพคุณของยางนา
* ตำรายาไทยจะน้ำต้มจากเปลือกเป็นยาบำรุงร่างกาย ฟอกเลือด บำรุงโลหิต แก้ตับอักเสบ และใช้ทาถูนวดขณะร้อน ๆ เป็นยาแก้ปวดตามข้อ (เปลือกต้น)
* น้ำมันยางใช้ผสมกับเมล็ดกุยช่าย (Allium tuberosum Rottler ex Spreng.) นำมาคั่วให้เกรียม บดให้ละเอียด ใช้เป็นยาอุดฟันแก้ฟันผุ (น้ำมันยาง)
* เมล็ดและใบมีรสฝาดร้อน นำมาต้มใส่เกลือ ใช้อมแก้ปวดฟัน ฟันโยกคลอน (เมล็ด, ใบ)
* ใช้น้ำมันยาง 1 ส่วน ผสมกับแอลกอฮอล์กิน 2 ส่วน แล้วนำมารับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี หรือใช้จิบเป็นยาขับเสมหะก็ได้ (น้ำมันยาง)
* ใบและยางมีรสฝาดขมร้อน ใช้รับประทานกินเป็นยาขับเลือด ตัดลูก (ทำให้เป็นหมัน)
* น้ำมันยางดิบมีรสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณเป็นยาถ่ายหัวริดสีดวงทวารหนักให้ฝ่อ (น้ำมันยางดิบ)
* น้ำมันยางจากต้นมีรสร้อนเมาขื่น มีสรรพคุณเป็นยาสมานแผล ห้ามหนอง ใช้เป็นยาทาแผลเน่าเปื่อย แผลมีหนอง แผลโรคเรื้อน แก้โรคหนองใน และเป็นยากล่อมเสมหะ(น้ำมันยาง)
 
== ประโยชน์ของยางนา ==
ประโยชน์ของยางนา
* น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือเพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่องสว่าง (ของใช้สำหรับจุดไฟให้สว่าง หรือทำเป็นเชื้อเพลิง ทำด้วยไม้ผุหรือเปลือกเสม็ดคลุกกับน้ำมันยาง แล้วนำมาห่อด้วยใบไม้เป็นดุ้นยาว ๆ หรือใส่กระบอก)[1]ใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้[2] ใช้ทำน้ำมันชักเงา ฯลฯ หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์[3]
* น้ำมันยางเป็นอีกหนึ่งสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันชาวบ้านก็ยังมีการเก็บหากันอยู่ แต่ก็ยังไม่พอใช้จนต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเพิ่มเติม[3]
* เนื้อไม้ยางนาสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ดี ยิ่งเมื่อนำมาอาบน้ำยาให้ถูกต้องก็จะช่วยทำให้มีความทนทานมากขึ้น[2] สามารถนำไปใช้กับงานภายนอกได้ทนทานนับ 10 ปี ด้วยเหตุที่ไม้ยางนาเป็นไม้ขนาดใหญ่ เปลาตรง สูง และไม่ค่อยมีกิ่งก้าน การตัดไม้ยางนามาใช้จึงได้เนื้อไม้มาก โดยเนื้อไม้ที่ได้จะมีความแข็งปานกลาง สามารถนำมาเลื่อยไสกบตกแต่งให้เรียบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้ประโยชน์จากไม้ยางนากันมาตั้งแต่อดีต โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน รอด ตง ไม้พื้น ไม้ระแนง ไม้คร่าว โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ ทำรั้วบ้าน ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม แจว พาย กรรเชียง รวมไปถึงตัวถังเกวียน ถังไม้ หมอนรองรางรถไฟ ฯลฯ แต่ในปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากเนื้อไม้ยางนาที่สำคัญคือการนำไปทำเป็นไม้อัดและแผ่นใยไม้อัด จนไม่เพียงพอต่อการใช้งาน และต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศบางส่วนด้วย[3],[4],[5]
* ลำต้นใช้ทำไม้ฟืน ถ่านไม้[6],[7]
* ไม้ยางนาจะขึ้นอยู่ในพื้นที่ที่มีเชื้อเห็ดราไมคอร์ไรซาส์ (Micorrhyzas) ซึ่งเป็นตัวเอื้อประโยชน์ในการเจริญเติบโต โดยเชื้อราเหล่านี้จะสร้างดอกเห็ดเมื่อมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะในช่วงฝนแรกของทุกปีจะมีดอกเห็ดหลายชนิดให้หาเก็บมารับประทานได้มากมาย เช่น เห็ดชะโงกเหลือง เห็ดเผาะ เห็ดน้ำหมาก เห็ดยาง เป็นต้น[3],[4]
* ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามสองฝั่งถนน เพื่อความสวยงาม และปลูกเพื่อประโยชน์ทางด้านนิเวศ ให้ร่มเงา กำบังลม ให้ความชุ่มชื้น ควบคุมอุณหภูมิในอากาศ ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน ฯลฯ
 
==อ้างอิง==
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ยางนา"