ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฐมพร ปฐมพร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yosaporn (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13:
| แหล่งกำเนิด =
| เครื่องดนตรี = กีตาร์
| แนวเพลง = [[ร็อก]] [[โพรเกรสซีฟร็อก]] [[อัลเทอร์เนทีฟ]]
| อาชีพ = นักร้อง, นักแต่งเพลง
| ช่วงปี = 2532 - ปัจจุบัน
| ค่าย = [[รถไฟดนตรี]]<br> [[บีเอ็มจี มิวสิก]] <br> [[แคงการู มิวสิก]]
| ส่วนเกี่ยวข้อง = [[May 21st]]
| เว็บ = [http://www.geocities.com/prymusic/ พราย]
บรรทัด 25:
 
==ประวัติ==
ปฐมพรเข้ามาในกรุงเทพเพื่อศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาที่ [[มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]] เขาได้พบกับ [[พิเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ]] โดยพิเชษฐ์ได้แต่งเพลงให้กับพรายเพื่อเป็นของขวัญ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเพลง ปีศาจ หลังจากนั้นไม่นานก็ได้ตั้งวงดนตรีขึ้นชื่อว่าวง GAY ซึ่งมีพิเชษฐ์ ตำแหน่งกีตาร์ [[สมประสงค์ หมีปาน]]ในตำแหน่งมือกลอง และ พรายในตำแหน่งร้องนำ ต่อมาได้เข้าร่วมประกวดวงดนตรีของ[[สโมสรผึ้งน้อย]] โดยใช้เพลง ทรมาน ซึ่งเป็นเพลงต่อต้านยาเสพติด จนในที่สุดก็ได้รับรางวัลชนะเลิศจนได้เซ็นสัญญากับสโมสร ทางวงได้บันทึกเสียงเดโมเทปโดยมีโปรดิวเซอร์อย่าง [[อัสนี โชติกุล]] มาดูแลให้ และได้เปลี่ยนชื่อวงมาเป็น [[May 21st]] เนื่องจากบันทึกเสียงเสร็จกันในวันที่ 21 พฤษภาคม<ref name="[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]">''[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]'' โดย [[พิเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ]]</ref>
 
ต่อมาทางวงก็ได้ไปเล่นในงานของคลื่นวิทยุ[[ไนท์สปอต]]ที่ [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] ซึ่งเป็นการเปิดตัวของวง แต่แล้วก็เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น หลังจากที่เพิ่งได้เริ่มเพลงแรกก็พบว่าคีย์บอร์ดมีปัญหา เนื่องจากก่อนหน้านั้นได้มีเด็กมาเลื่อนคีย์ของคีย์บอร์ด ทำให้การแสดงในครั้งนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก จนส่งผลให้ในเวลาต่อมาทางวงจึงแยกย้ายกันไป<ref name="[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]">''[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]'' โดย [[พิเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ]]</ref>
 
หลังจากนั้นอีก 2 ปี พรายได้เซ็นสัญญากับค่าย[[รถไฟดนตรี]]ในฐานะศิลปินเดี่ยว เขาพยายามที่จะเอาวงเข้าไป แต่ก็ไม่สำเร็จ<ref name="[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]">''[[ช่วงขณะหนึ่งของลมหายใจ...พราย]]'' โดย [[พิเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ]]</ref> เขาได้ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด [[ไม่ได้มามือเปล่า]] มีเพลงฮิตติดหูในยุคสมัยนั้นอย่างเพลง ไม่ได้มามือเปล่า ตามชื่อของอัลบั้ม นอกจากนี้ยังมีบางเพลงของวง May 21st มาทำใหม่อีกด้วย จนกระทั่งมาถึงการแสดงสดที่ ร็อคผับ เขาได้ประกาศว่าจะเลิกร้องเพลงไปตลอดชีวิต
 
[[พ.ศ. 2534]] ปฐมพรกลับมาอีกครั้งกับอัลบั้มชุด [[พราย]] พร้อมกับการแก้ผ้าถ่ายรูป ซึ่งถูกวิจารณ์จากสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก พร้อมทั้งได้ประกาศว่าตัวเองตายไปแล้วอีกด้วย จากคำโฆษณาที่ว่า "ปฐมพร ตายเป็น พราย" ในอัลบั้มชุดนี้ ทุกเพลงล้วนไม่มีชื่อ ยกเว้นเพลง พราย ซึ่งนับได้ว่าสร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงไทยมาก และอัลบั้มชุดนี้ยังคงเป็นที่พูดถึงตลอดมา และสร้างเอกลักษณ์เป็นแบบอย่างของเพลงพรายเรื่อยมา
 
[[พ.ศ. 2536]] หลังจากห่างหายไป 1 ปีกว่า ปฐมพรก็ได้ออกอัลบั้มคู่ชื่อว่า [[เจ้าหญิงแห่งดอกไม้]] กับ [[เจ้าชายแห่งทะเล]] โดยอัลบั้มเจ้าหญิงจะพูดถึงความรู้สึกที่ตกต่ำที่สุด ตั้งแต่การฆ่าตัวตาย จนถึงความรู้สึกที่อยากจะเสียสละอยากจะเป็นคนดี ส่วนอัลบั้มเจ้าชายจะสะท้อนให้เห็นถึง สังคมและผู้คนรวมทั้งตัวเขาเองด้วย นอกจากนี้ทุกเพลงยังคงไม่มีชื่อเพลงอีกเช่นเคย แต่เป็นการแทนด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ดอกไม้ บุหรี่ และอื่นๆ เนื่องจากปฐมพรต้องการจะสื่อความหมายมากกว่าภาษาพูดและภาษาเขียนของเขา มีการจัดการแสดงสดเพื่อโปรโมตอัลบั้มคู่ที่บ้านมนังคศิลา แต่กลับไม่มีการเล่นเพลงใดๆ ในอัลบั้มคู่เลย
 
[[พ.ศ. 2538]] ปฐมพรได้ออกอัลบั้มชุด ใต้สำนึก โดยเป็นการทำเองขายเอง ในอัลบั้มชุดนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงความรุนแรงของเนื้อหาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเพลงที่กล่าวถึงนักวิจารณ์โดยเปรียบเทียบระหว่าง สัตว์นรกกับเทวดาสัตว์กะหมา