ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะเยสุอิต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่จำเป็น
→‎คณะเยสุอิตในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์คณะเยสุอิตสมัยอยุทธยา
บรรทัด 28:
 
สมาชิกในกลุ่มนั้นจึงทำการรับศีลเป็นนักบวชที่[[เวนิส]]โดย[[บิชอป]]แห่งอาร์บเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน หลังจากนั้นนักบวชกลุ่มก็อุทิศตัวให้กับการเทศนาและการช่วยงานการกุศลในประเทศอิตาลึ เพราะไม่สามารถเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมได้ตามที่ตั้งใจ เพราะขณะนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1535 ถึงปี ค.ศ. 1538 เป็นระยะเวลาสงครามระหว่าง[[จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] เวนิส และ[[รัฐสันตะปาปา]] กับ[[จักรวรรดิออตโตมัน]] ทำให้การเดินทางไปกรุงเยรูซาเลมเป็นไปไม่ได้
 
=== 160 ปี แห่งการทำงานของคณะเยสุอิตในกรุงศรีอยุธยา ===
3 ปีหลังการสถาปนาคณะ ภายใต้การรับรองของ สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 3 แผ่นดินสยามได้ถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก ผ่านจดหมายทั้ง 4 ฉบับ ของท่าน นักบุญฟรังซิส เซเวียร์ แต่ตัวท่านเองเพียงแต่ผ่านไปยังประเทศญี่ปุ่น
 
                ในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ เยสุอิตท่านแรกได้ถูกส่งมาในสยาม เพื่อสังเกตุการณ์การแพ่ธรรมในอยุธยา คือ คุณพ่อ บัลธาซาร์ เซเกรีอา ชาวเมืองลิสบอน ที่เดินทางมายังเอเชียพร้อมกับคุณพ่อมัทเทโอ ริชชี่ ภายใต้การอุปถัมภ์ของกษัตริย์โปรตุเกส (ระบบปาโดรอาโด) โดยช่วงแรกคุณพ่อบัลธาซาร์ เซเกอีราก็ได้เดินทางมาทำงานธรรมทูตที่ประเทศอินเดีย หลังจากนั้นอีก 28 ปี สมเด็จพระเอกสทศรถได้ทรงส่งพระราชสาสน์ไปหาพระสหายชาวโปรตุเกสในประเทศอินเดีย นามว่า ติสดาวโกลาโย โดยชายผู้นี้เองได้เสนอให้ เซเกรีอา เดินทางมายังอยุธยา
 
                ประมาณวันที่ 19-26 มีนาคม พ.ศ. 2150 (ค.ศ.1607) ในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์  คุณพ่อบัลธาซาร์ เซเกรีอา ก็เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา โดยท่านได้พำนักอยู่ในอยุธยา 2 ปีครึ่ง และได้ขอกลับไปพักรักษาตัวที่อินเดีย เมี่อได้รับการอนุญาตแล้ว คุณพ่อก็ได้เดินทางลงทางตอนใต้ของสยาม แต่เนื่องจากสุขภาพของท่านไม่แข็งแรง ท่านก็ได้เสียชีวิตที่เขตเมืองเพชรบุรี
 
                ต่อมา ก็มีเยสุอิตอีกหลายท่านผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาพำนักที่อยุธยา บ้างก็ผ่านมาเพื่อผ่านไปยังดินแดนอื่นๆ  เช่น เขมร ลาว หรือ ญี่ปุ่น
 
                ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2170 (ค.ศ.1627) บ้านพักแห่งแรกของคณะเยสุอิตได้ถูกสร้างขึ้น และคุณพ่อยูลีโอ มาร์ยีโก ชาวอิตาเลียน ได้ถูกส่งตัวมายังสยามเพื่อเป็นอธิการ ซึ่งบ้านหลังนี้ได้ตั้งอยู่ในบริเวณค่ายของชาวญี่ปุ่น สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงต้อนรับท่านเป็นอย่างดี
 
                โดยร่วมกับคุณพ่ออันโตนิโอ การ์ดิม และเยสุอิตชาวญี่ปุ่นนามว่าคุณพ่อโรมาโน นิชิ คุณพ่อยูลีโอ มาร์ยีโก ได้สร้างวัดที่สวยงามหลังหนึ่ง เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ แก่คริสตชนชาวญี่ปุ่น 400 คนที่อพยพลี้ภัย การเบียดเบียนศาสนา ของรัฐบาลโชกุน โตกุกาวา เข้ามาอาศัยในสยาม อีกทั้งทหารโปรตุเกสจำนวนหนึ่ง และขุนนางชาวสยาม 2 คน ที่มาเป็นคริสตชน
 
                แต่ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ก็เกิดวิกฤติขึ้นแก่คณะเยสุอิตในแผ่นดินอยุธยาจนต้องออกไปจากสยาม เพราะสมเด็จพระเชษฐาธิราชได้ทรงฟังการใส่ความของล่ามชาวสยาม จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้จับคุณพ่อมาร์ยีโกและคุณพ่อนิชิเข้าคุก แม้ว่าต่อมาคุณพ่อนิชิจะถูกชาวญี่ปุ่นช่วยออกมาได้ แต่คุณพ่อมาร์ยีโกกลับถูกลอบวางยาพิษอย่างน่าเศร้าภายในคุก ราวฤดูฝน พ.ศ. 2173 (ค.ศ. 1630)  ทำให้ไม่มีนักบวชและธรรมทูตในอยุธยาเป็นเวลาอีกหลายปี
 
แต่แล้วเยสุอิตก็กลับเข้ามาอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2198 (ค.ศ.1655) โดยผู้ได้รับเกียรติให้เป็นผู้ตั้งบ้านของคณะขึ้นเป็นรอบที่สองหลังจากที่ห่างหายไปหลายปี คือคุณพ่อโทมัสโซ วัลกวาเนรา ชาวอิตาเลียน ท่านมาอยู่ในกรุงศรีอยุธยา โดยการขอร้องของคริสตชนญี่ปุ่นในสยาม โดยบ้านและโบสถ์ของคณะเยสุอิตอยู่ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับค่ายของชาวญี่ปุ่น เยื้องห่างออกไปจากหมู่บ้านโปรตุเกส (อยู่ในความรับผิดชอบของคณะโดมินิกัน) ประมาณ 1กิโลเมตร (ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ คงเป็นเพียงซากโบราณเท่านั้น และอยู่ในย่านชุมชนของชาวมุสลิม)
 
                งานของคณะเยสุอิตในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งยังคงเป็นการอภิบาลชาวญี่ปุ่นดังเดิม และคุณพ่อวัลกวาเนราก็ได้ก่อตั้งโรงเรียนแห่งหนึ่งขึ้นในบ้านของคณะ และได้มีการก่อตั้งสถาบันการศึกษาของเยสุอิตขึ้น โดยให้ชื่อว่า วิทยาลัยซานซัลวาดอร์ ในระหว่างปี พ.ศ. 2203 – 2213 (ค.ศ. 1660 -1670) ในระยะแรกสถาบันนี้เป็นวิทยาลัยเล็กๆซึ่งมีตัวคุณพ่อวัลกวาเนราประจำอยู่เพียงท่านเดียวเท่านั้น แต่ภายหลังไดขยายใหญ่ขึ้น
 
                สมัยนั้นเป็นช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระองค์ท่านได้ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในคุณพ่อวัลกวาเนราให้เป็นที่ปรึกษาด้านการก่อสร้างต่างๆของพระองค์ เพราะพระองค์ทรงได้ยินกิตติศัพท์ของคุณพ่อวัลกวาเนราในด้านวิศวกรรม พระองค์จึงทรงมอบให้ท่านก่อสร้างป้อมกำแพงเมืองใหม่ขึ้นที่เมืองบางกอก นนทบุรี และอีกบางเมือง เพื่อป้องกันข้าศึก ทั้งซ่อมบางส่วนของกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยาด้วย นอกนั้นท่านยังช่วยออกแบบแนะนำการก่อสร้างพระราชวังที่ลพบุรีอีกด้วย ทำให้คุณพ่อวัลกวาเนราเป็นที่โปรดปรายของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมากเลยทีเดียว เมื่อเกิดดพลิงไหม้วัดน้อยที่คุณพ่อวัลกวาเนราได้สร้างจากหินที่นำเข้ามาจากมาเก๊าและปิดทองหน้ามุขอย่างสวยงาม สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงทราบจึงได้ทรงพระราชทานที่ดินแปลงที่ดีกว่าเพื่อสร้างโบสถ์หลังใหม่
 
                เนื่องจากงานด้านการก่อสร้างที่คุณพ่อวัลกวาเนราได้รับ ทำให้ท่านไม่สามารถทำหน้าที่ธิการของวิทยาลัยซานซัลวาดอร์ได้ จึงมอบหน้าที่อธิการวิทยาลัยแก่คุณพ่อยวง การ์โดโซ และคุณพ่อท่านี้เองที่ได้ทำการต้อนรับกลุ่มธรรมทูติแห่งสมณกระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ (Propaganda Fidei) จากสันตะสำนักที่กรุงโรม คือ พระสังฆราชปิแอร์ ลัมแบรต เดอ ลา มอต ที่ได้เดินทางผ่านตะนาวศรี ที่คุณพ่อการ์โดโซได้เป็นพ่อเจ้าวัดก่อนที่จะเดินทางมาเป็นอธิการที่อยุธยา
 
                ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คณะเยสุอิตนับได้ว่ามีความรุ่งเรืองอย่างมาก และในสมัยนั้นสยามเริ่มมีความสัมพันธ์กับอาณาจักรทางตะวันตกมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ ฝรั่งเศส และในสัมพันธภาพระหว่างสยามและฝรั่งเศสนี้ คณะเยสุอิตก็ได้มีบทบาทอยู่ด้วย
 
                ในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2228 (ค.ศ.1685) คณะทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เดินทางมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณืมหาราช อันเป็นการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตครั้งแรกของสยามและฝรั่งเศส โดยหนึ่งในคณะทูตนั้นมีคุณพ่อจากคณะเยสุอิตอยู่ด้วย คือ คุณพ่อกีย์ ตาซาร์ด ท่านเป็นผู้ฟังแก้บาปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ท่านได้จดบันทึกเรื่องราวไว้ใน “จดหมายเหตุการเดินทางสู่ประเทศสยามของบาทหลวงตาชาร์ต” และท่านก็ได้นับหน้าที่เป็นล่ามพิเศษ ให้สำหรับคณะทูตจากสยามเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ พระราชวังแวร์ซายน์ ในปี พ.ศ. 2229 (ค.ศ. 1686) และท่านได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระนารายณ์มหาราชให้รับหน้าที่เจริญความสัมพันธ์ทางการทูตถึง 3 ครั้งด้วยกัน
 
                โดยในการเดินทางของคณะราชทูตจากสยามครั้งที่ 2 คุณพ่อตาวาร์ตได้มีโอกาสนำคณะทูตเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 11 ณ พระราชวังวาติกัน กรุงโรม เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2232 (ค.ศ. 1689) เป็นการเปิดสะพานของพระศาสนจักรคาทอลิกสู่สยามขึ้น
 
                จากความสัมพันธ์เหล่านี้ ปรากฏว่ามีการต่อรองเจรจา เพื่อขอใหส่งเยสุอิต 14 ท่านที่เป็นนักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ จากราชสำนักฝรั่งเศส เพื่อมาประจำที่หอดูดาวซึ่งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงโปรดให้สร้างขึ้นที่อยุธยาและลพบุรี โดยคุณพ่อกีย์ ตาซาร์ตเป็นผู้เจรจา
 
                บรรดาเยสุอิตทั้ง 14 ท่านเดินทางมาถึงสยามในปี พ.ศ. 2230 (ค.ศ. 1687) โดยเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ได้จัดการให้ทั้งหมดไปเรียนภาษาไทยกับพระภิกษุที่เมืองลพบุรี
 
                ภายหลังสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช บ้านเมืองมีความผันผวนทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา และส่งผลต่อพระศาสนจักรในประเทศไทยรวมทั้งคณะเยสุอิตด้วย ทำให้การทำงานของเยสุอิตในอยุธยาปั้นไปอย่างลุ่มๆดอนๆ เนื่องจากผู้มาอยู่ประจำมีจำนวนน้อย แต่งานที่จะต้องทำนั้นมีมาก ส่าวนใหญ่แล้วมีกจะมาพักเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง จนกระทั่งปีสุดท้ายที่ชื่อของคณะเยสุอิตจางหายไปจากสยาม เมื่อกองทัพของอาณาจักรพม่าได้ตีกรุงศรีอยุธยาและเผาทำลายเมืองไปบางส่วน วิทยาลัยและโบสถ์ของคณะเยสุอิตก็ถูกทำลายลงไปด้วย นักบวชของคณะถูกจับเป็นเชลยและเสียชีวิตระหว่างเดินทางไปพม่าเป็นการสิ้นสุดการทำงานกว่า 160 ปี ของคณะเยสุอิตในแผ่นดินสยาม
 
== สมาชิกที่มีชื่อเสียง ==