ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือหลวงธนบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Puri Sanprasert (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหาการสู้รบ
บรรทัด 72:
 
==ประวัติ==
เรือหลวงธนบุรีเป็นเรือรบประเภท[[เรือปืนยามฝั่ง]] จัดอยู่ในชั้นเรือเดียวกันกับ[[เรือหลวงศรีอยุธยา]] ต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือกาวาซากิ เมือง[[โกเบ]] [[ประเทศญี่ปุ่น]] เมื่อปี [[พ.ศ. 2479]] เป็นขุมกำลังสำคัญของ[[กองทัพเรือไทย]]ในช่วง[[กรณีพิพาทอินโดจีน|กรณีพิพาท]]ระหว่าง[[ไทย]] - [[อินโดจีนฝรั่งเศส]] โดยเรือหลวงธนบุรีได้เข้าทำการรบอย่างกล้าหาญใน[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]]เมื่อวันที่ [[17 มกราคม]] [[พ.ศ. 2484]] จนสามารถขับไล่ข้าศึกได้สำเร็จ แต่เรือได้รับความเสียหายอย่างหนักมาก [[เรือหลวงช้าง]]จึงลากจูงให้มาเกยตื้นในเย็นวันเดียวกันที่[[แหลมงอบ]] [[จังหวัดตราด]] ซึ่งเหตุการณ์เป็นดังนี้
 
เช้าวันที่ 17 มกราคม ฝรั่งเศสได้ส่งกำลังทางเรือส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในอินโดจีนในบังคับบัญชาของนาวาเอกบรังเยร์เข้ามาในน่านน้ำไทยทางด้านเกาะช้าง ด้วยความมุ่งหมายที่จะระดมยิงหัวเมืองชายทะเล ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย เป็นประการสำคัญ เพื่อกดดันให้กำลังทหารของไทยที่รุกข้ามชายแดนต้องถอนกำลังกลับมา
ภายหลังเมื่อมีการกู้เรือหลวงธนบุรีแล้ว กองทัพเรือได้ลากจูงเรือมาทำการซ่อมใหญ่ในวันที่ [[26 กันยายน]] [[พ.ศ. 2484]] แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ จึงปลดระวางจากการเป็นเรือรบ และใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว [[กองเรือยุทธการ]] จนปลดระวางประจำการเมื่อวันที่ [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2502]] ทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]] ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ภายใน[[โรงเรียนนายเรือ]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]
 
กำลังทางเรือของฝรั่งเศสได้อาศัยความมืด และความเร็วรุกล้ำเข้ามาทางด้านใต้เกาะช้าง มีจำนวนด้วยกันทั้งหมด 7 ลำ คือ เรือลาดตระเวนลามอตต์ปิเกต์ เรือสลุป 2 ลำ เรือปืน 4 ลำ เรือเหล่านี้ได้แยกออกเป็น 3 หมู่ หมู่ที่ 1 มี เรือลามอตต์ปิเกต์ลำเดียวเข้ามา ทางช่องด้านใต้ระหว่างเกาะคลุ้มกับเกาะหวาย หมู่ที่ 3 มีเรือสลุป 1 ลำ กับเรือปืนอีก 3 ลำ เข้ามาทางช่องด้านตะวันตก ระหว่างเกาะคลุ้มกับแหลมบางเบ้า เกาะช้าง ส่วนเรือดำน้ำ และเรือสินค้าติดอาวุธ คงรออยู่ด้านนอกในทะเล และไม่ได้เข้าทำการรบ
 
เวลา 06:05 น. เครื่องบินตรวจการณ์ฝรั่งเศสแบบ Potez จากฐานทัพเมืองเรียมในกัมพูชา บินตรวจการผ่านกองเรือไทยและยืนยันตำแหน่งเรือตอร์ปิโดไทยสองลำ เนื่องจากในคืนนั้นเรือหลวงชลบุรีพึ่งเดินทางมาถึงเพื่อเปลี่ยนผลัดกับเรือหลวงสงขลาซึ่งมีกำหนดการกลับไปฐานทัพเรือสัตหีบ สร้างความประหลาดใจให้แก่ฝ่ายฝรั่งเศส เพราะรายงานก่อนหน้าระบุจำนวนเรือตอร์ปิโดไทยเพียงลำเดียว
 
เวลา 06:10 น. เครื่องบินทะเลฝรั่งเศสแบบลัวร์ 130 ทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือตอร์ปิโดไทยแต่ถูกยิงตกด้วยปืนต่อสู้อากาศยาน เรือฝรั่งเศสรู้จำนวนเรือไทยจึงเดินหน้าเข้าตีตามแผน แต่กองเรือไทยเริ่มไหวตัวแล้ว และได้โหมเร่งความดันไอน้ำเพื่อเตรียมปฏิบัติการ เมื่อสังเกตเห็นข้าศึกอยู่ในพิสัย เรือหลวงสงขลาจึงเปิดฉากยิงต่อสู้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่มีอาวุธหนักกว่ามากแต่ไม่มีมุมยิงตอร์ปิโด เนื่องจากเรือหลวงสงขลาจอดโดยหันหัวเรือไปทางฝั่งเกาะช้าง กระสุนจากเรือลามอตต์ปิเกต์ทำความเสียหายแก่เรือหลวงสงขลา เกิดไฟไหม้กลางลำเรือ น้ำทะลักเข้าตัวเรือ ยุ้งกระสุนน้ำท่วม ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก นาวาตรีชั้น สิงหชาญ ผู้บังคับการเรือหลวงสงขลา สั่งสละเรือใหญ่ เวลา 06:45 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ 35 นาที
 
ในขณะเดียวกัน เรือหลวงชลบุรีได้ทำการยิงต่อสู้กับหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสที่ตรงเข้ามารุมโจมตีถูกกระสุนที่ท้ายเรือและกลางเรือ เกิดระเบิดไฟลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย เรือเอกประทิน ไชยปัญญา ผู้บังคับการเรือหลวงชลบุรี สั่งสละเรือใหญ่เวลา 06:53 น. หลังจากยืนหยัดทำการรบได้ประมาณ 40 นาที ซึ่งภายหลังมีรายงานจากฝ่ายไทยว่ากองเรือฝรั่งเศสได้กระทำการผิดธรรมเนียมการรบทางทะเล โดยใช้ปืนกลกราดยิงทหารเรือไทยที่ลอยคออยู่ในทะเลอีกด้วย
 
เวลา 06:20 น. นาวาโท หลวงพร้อมวีระพันธ์ ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรี สั่งถอนสมอและเคลื่อนลำประจำสถานีรบ และสั่งให้เรือหลวงหนองสาหร่ายและเรือหลวงเทียวอุทกซึ่งเป็นเรือเล็กให้ถอนตัวออกไปจากสมรภูมิ
 
เวลา 06:38 น. เรือหลวงธนบุรีประจันหน้าเข้ากับกองเรือฝรั่งเศสและทำการยิงตอบโต้กับเรือลามอตต์ปิเกต์ที่ระยะ 10,000 เมตร การรบเป็นไปอย่างหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อหมู่เรือสลุปของฝรั่งเศสเข้าทำการร่วมรบรุมยิงเรือหลวงธนบุรีด้วย กระสุนนัดหนึ่งจากเรือลามอตต์ปิเกต์ได้ตกใต้สะพานเดินเรือและเกิดระเบิดขึ้น ทำให้ผู้บังคับการเรือหลวงธนบุรีรวมทั้งนายทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บสาหัสหลายนาย ส่งผลให้การบังคับบัญชา สื่อสาร และควบคุมหยุดชะงัก ระบบถือท้ายเสียหายบังคับทิศทางไม่ได้
 
เวลา 07:15 น. ผลจากการถูกรุมยิงทำให้เกิดไฟไหม้ใหญ่ขึ้นบนเรือหลวงธนบุรี แต่ทหารบนเรือไทยที่เหลือเพียงลำเดียวยังคงทำการยิงต่อสู้ โดยสลับเปลี่ยนเป้าหมายไปที่เรือฝรั่งเศสทั้งสามลำ เมื่อระบบถือท้ายเสียหาย ป้อมปืนไม่ทำงาน (ทหารฝ่ายไทยต้องใช้วิธีการหมุนป้อมปืนด้วยมือเอง) ทำให้การยิงโต้ตอบของเรือหลวงธนบุรีเป็นไปอย่างยากลำบาก แต่ถึงกระนั้นก็ยังสร้างความเสียหายให้แก่เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ในที่สุด
 
เวลา 07:40 น. มีเครื่องบิน 1 ลำบินเข้ามาทิ้งระเบิดทะลุดาดฟ้าเรือหลวงธนบุรี มีลูกเรือเสียชีวิต3นายและบาดเจ็บจำนวนหนึ่ง ในขณะที่เรือทั้งหมดยังทำการรบอย่างติดพัน ป้อมปืนที่เหลือของเรือหลวงธนบุรีไม่สามารถยิงได้อย่างแม่นยำเนื่องจากไม่อาจบังคับเรือได้ตรงทิศทาง เรือหลวงธนบุรีได้แล่นลำเข้าสู่บริเวณน้ำตื้น กองเรือรบฝรั่งเศสจึงได้ส่งสัญญาณถอนตัวจากการรบ
 
เวลา 07:50 น. หลังจากถอนตัวจากการรบ เรือลามอตต์ปิเกต์ได้ยิงตอร์ปิโดอีกชุดเข้าหาเรือหลวงธนบุรีที่ระยะ 15,000 ม. แต่พลาดเป้า ในขณะที่เรือหลวงธนบุรียังทำการยิงต่อสู้อย่างต่อเนื่อง และในที่สุดเรือทั้งหมดได้เคลื่อนออกนอกพิสัยทำการรบ
 
เวลา 08:20 น. เรือหลวงธนบุรีหยุดยิง
 
เวลา 08:40 น. นาวาเอกเรจี เบรังเยร์ ออกคำสั่งให้กองเรือฝรั่งเศสมุ่งหน้ากลับฐานทัพ เนื่องจากเกรงกำลังหนุนของไทย โดยเฉพาะเรือดำน้ำ เนื่องจากฝ่ายไทยรู้ตัวแล้ว ในเวลาเดียวกัน หมู่บินที่ 2 แบบ Hawk 3 จากกองบินจันทบุรีได้มาถึงและทำการทิ้งระเบิดโจมตีเรือฝรั่งเศส แต่ถูกสกัดด้วยปืนต่อสู้อากาศยานอย่างหนัก ระเบิดลูกหนึ่งตกลงบนเรือลามอตต์ปิเกต์ แต่ไม่ระเบิด ในเวลา 09:40 น. ฝูงบินทิ้งระเบิดบ่ายหน้ากลับ ทำให้กองเรือฝรั่งเศสหลุดรอดออกไปได้ และมุ่งหน้ากลับไปไซ่ง่อน
 
เมื่อเรือรบฝรั่งเศสล่าถอยไปจากบริเวณ[[เกาะช้าง]]แล้ว ป้อมปืนต่าง ๆ ในเรือหลวงธนบุรีจึงหยุดยิงเมื่อเวลา 8.20 น. ทหารประจำป้อมปืนต่างพากันเปล่งเสียงไชโยขึ้นพร้อม ๆ กัน ด้วยความดีใจที่สามารถขับไล่ข้าศึกไปได้ จากนั้นทั้งหมดก็ได้ช่วยกันดับไฟที่ไหม้เรืออยู่อย่างหนัก แต่ไฟก็ไม่สงบลง เรือเอกทองอยู่ สว่างเนตร์ ต้นเรือซึ่งทำหน้าที่แทนผู้บังคับการเรือ จึงตัดสินใจไขน้ำเข้าคลังกระสุนและดินปืน เพื่อป้องกันดินปืนและกระสุนต่างๆ ระเบิดเมื่อไฟลุกลามไปถึง ทำให้น้ำไหลเข้าเรือเร็วขึ้นและเอียงไปทางกราบขวา แต่เรือก็ยังใช้จักรเดินต่อไปด้วยความสามารถของพรรคกลิน ต่อมาเมื่อไฟไหม้ลุกลามไปถึงหลังห้องเครื่องจักร ควันไฟและควันระเบิดได้กระจายไปถึงห้องเครื่องจักรใหญ่ เครื่องจักรช่วย และห้องไฟฟ้า ทำให้ทหารพรรคกลินในห้องไฟฟ้า 8 นายขาดอากาศหายใจและเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ แม้ผู้ที่อยู่ข้างนอกจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือนายทหารดังกล่าวก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีไฟไหม้สก้ดอยู่ที่ปากทางช่องขึ้นลงไปยังห้องเครื่องของเรือ
 
เวลา 9.50 น. เรือหลวงช้าง ภายใต้การบังคับบัญชาของเรือเอกสนิท อังกินันท์ ได้นำเรือเข้าช่วยดับไฟที่ไหม้อยู่อย่างหนักบนเรือหลวงธนบุรี แต่ไม่ค่อยได้ผล เพราะสายสูบน้ำผ้าใบยาวไม่พอที่จะลากหัวสูบไปฉีดให้ถึงห้องต่างๆ ภายใต้ดาดฟ้าเรือได้ เรือหลวงช้างจึงเปลี่ยนวิธีเป็นทำการลากจูงเรือหลวงธนบุรีไปพลางพร้อมทั้งทำการดับไฟในเรือไปด้วย แต่ก็ยังไม่ได้ผลอีก เมื่อเห็นหมดทางที่จะแก้ไขได้แล้ว ผู้บังคับการเรือหลวงช้างจึงตัดสินใจจูงเรือหลวงธนบุรีให้ไปเกยตื้นที่บริเวณแหลมงอบ
 
เวลา 11.30 น. เรือหลวงธนบุรีถูกจูงมาถึงเขตน้ำตื้นและไม่สามารถลากจูงต่อไปได้ ต้นเรือเรือหลวงธนบุรีจึงสั่งให้ลำเลียงทหารบาดเจ็บลงเรือหลวงช้าง แล้วให้สละเรือใหญ่ ชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียงและทหารเรือส่วนหนึ่งยังคงพยายามดับไฟในเรือหลวงธนบุรีต่อไปแต่ไม่สำเร็จ ในที่สุดเรือหลวงธนบุรีก็จมลงเมื่อเวลา 16.40 น. โดยจมไปทางกราบเรือทางขวา เสาทั้งสองเอนจมลงไป กราบซ้ายและกระดูกงูกันโคลงโผล่อยู่พ้นน้ำ
 
ภายหลังเมื่อมีการกู้เรือหลวงธนบุรีแล้วนั้น ต่อมากองทัพเรือไทยได้ลากจูงเรือกู้ขึ้นมาเพื่อทำการซ่อมใหญ่ในวันที่ [[26 เดือนกันยายน]] [[พ.ศ. 2484]] แต่เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่าเนื่องจากเรือเสียหายหนักเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ มาจึงได้ปลดระวางจากการเป็นเรือรบ และใช้เป็นกองบังคับการลอยน้ำของกองเรือตรวจอ่าว [[กองเรือยุทธการ]] จนปลดระวางกระทั่งปลดประจำการเมื่อวันที่ในปี [[19 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2502]] หลังจากนั้นทางราชการจึงได้นำส่วนป้อมปืนเรือและหอบังคับการของเรือหลวงธนบุรีมาจัดตั้งเป็นอนุสรณ์สถานเรือหลวงธนบุรี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์[[ยุทธนาวีเกาะช้าง]] ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ภายใน[[โรงเรียนนายเรือ]] [[จังหวัดสมุทรปราการ]]
 
ชื่อของเรือหลวงธนบุรีได้มาจากนาม "[[กรุงธนบุรี|กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร]]" อันเป็นนามของราชธานีไทยในรัชสมัย[[สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช]] (พ.ศ. 2310 - 2325)