ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กุ้งก้ามกราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
'''กุ้งก้ามกราม''' หรือ '''กุ้งก้ามคราม''' ({{lang-en|Giant malaysian prawn}}; {{ชื่อวิทยาศาสตร์|Macrobrachium rosenbergii}}) [[กุ้ง]][[น้ำจืด]][[species|ชนิด]]หนึ่ง อยู่ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] [[Palaemonidae]]
 
มีเปลือก[[สีเขียว]]อม[[สีน้ำเงิน|ฟ้า]]หรือ[[ม่วง]] ก้ามยาวมีสีครามหรือม่วงเข้ม ตลอดทั้งก้ามมีปุ่มตะปุ่มตะป่ำ โดยธรรมชาติจะอยู่ใน[[แม่น้ำ]]ลำ[[คลอง]] แทบทุกจังหวัดใน[[ภาคกลาง]]และ[[ภาคใต้]]ของประเทศไทย ในต่างประเทศพบได้ในทุกประเทศของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลียและฟิลิปปินส์<ref name="Chan">{{cite book |url=http://smdec.com/keyfao/SHRIMPS%20AND%20PRAWNS/data/60404.pdf |chapter=Shrimps and Prawns |author=T. Y. Chan |editor=Kent E. Carpenter & Volker H. Niem |title=The Living Marine Resources of the Western Central Pacific. Volume 2: Cephalopods, Crustaceans, Holothurians and Sharks |series=FAO Species Identification Guide for Fishery Purposes |year=1998 |publisher=[[Food and Agriculture Organization]] |isbn=92-5-104051-6|format=[[PDF]]}}</ref> โดยพบทั้งในน้ำจืดและ[[น้ำกร่อย]] วางไข่ในน้ำกร่อยที่เค็มจัด อาหารได้แก่ ไส้เดือน ตัวอ่อนของลูกน้ำ ลูกไร ลูกปลาขนาดเล็ก ซากของสัตว์ต่าง ๆ และในบางโอกาสก็กินพวกเดียวกันเอง พบชุกชุมทำให้จับง่าย โดยเฉพาะใน[[ฤดูหนาว]] ด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณในธรรมชาติลดน้อยลง ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดต่าง ๆ แถบภาคกลางของไทย เช่น [[สุพรรณบุรี]], [[นครปฐม]], [[ฉะเชิงเทรา]] และต่างประเทศด้วย เช่น ที่[[สหรัฐอเมริกา]] เป็นต้น
 
โดยที่กุ้งก้ามกรามชนิดที่พบในประเทศไทย ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''M. dacqueti'' ส่วนชนิดที่ใช้ชื่อว่า ''M. rosenbergii'' เป็นชนิดที่พบในภูมิภาคปาปัวนิวกินี แต่ปัจจุบันถือว่าเป็นชนิดเดียวกันหรือเป็นชื่อพ้อง <ref>[http://invasions.si.edu/nemesis/browseDB/SpeciesSummary.jsp?TSN=96343 ''Macrobrachium rosenbergii'']</ref>