ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประชาสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
ความหมายของแนวคิดประชาสังคมในปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด คือนิยามของนักรัฐศาสตร์ร่วมสมัยอย่าง แลร์รี่ ไดมอนด์ (Diamond, 1996: 228) ซึ่งได้อธิบายแนวคิดประชาสังคมว่า คืออาณาบริเวณ (realm) ที่มีการจัดตั้งขึ้นของชีวิตทาง[[สังคม]]ที่มีลักษณะเป็น[[อาสาสมัคร]] มีการเติบโตอย่างเป็นอิสระจาก[[รัฐ]] และอยู่ภายใต้กติการ่วมกันของสังคม คำว่าประชาสังคมจึงแตกต่างจากคำว่า “[[สังคม]]” (society) เพราะเป็นพื้นที่ของ[[พลเมือง]]ที่จะร่วมกันกระทำการบางอย่างในพื้นที่สาธารณะ (public sphere) โดยมีประชาสังคมเป็นพื้นที่ตรงกลาง (intermediary entity) ระหว่างพื้นที่ของเอกชนและ[[ภาครัฐ]] ทั้งนี้รวมถึงเป็นพื้นที่เชื่อมระหว่าง[[ประชาชน]]กับภาคธุรกิจเอกชนและ[[ภาครัฐ]] ด้วยเหตุนี้ประชาสังคมจึงไม่ได้เป็นเพียงความพยายามในการจำกัดอำนาจรัฐ แต่อาจเป็นพื้นที่สำหรับให้ความชอบธรรมแก่รัฐก็ได้ หากภาครัฐนั้นได้กระทำการอยู่บนพื้นฐานของ[[หลักนิติธรรม]] และเป็นที่ยอมรับของ[[สังคม]]โดยรวม<ref>Larry Diamond, Development Democracy: Toward Consolidation, Baltimore: The Johns Hopkins University Press, 1999</ref>
 
ถึงกระนั้นแล้ว คำว่าประชาสังคมยังคงเป็นคำศัพท์ทางการเมืองที่มีความสับสนในการนิยามและนำไปใช้อย่างมาก การนำคำว่าประชาสังคมไปใช้ในสังคมตะวันตกจึงจำเป็นต้องผูกโยงกับคำศัพท์อื่นที่เข้าใจง่ายกว่า เช่น กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) [[โลกาภิวัตน์]] (globalization) การเป็นอาสาสมัคร (volunteering) [[ความเป็นพลเมือง]] (citizenship) และผลประโยชน์สาธารณะ (public interest) เป็นต้น.
 
== ตัวอย่างการนำไปใช้ในประเทศไทย ==