ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาอาหรับ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ ‘(?mi)\{\{Link FA\|.+?\}\}\n?’ ด้วย ‘’: เลิกใช้ เปลี่ยนไปใช้วิกิสนเทศ
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19:
| iso1 = ar|iso2=ara|lc1=ara|ld1=Arabic (generic) |ll1=none}}
 
'''ภาษาอาหรับ''' ({{lang-ar|العربية , อะรอบียะหฺ}}; {{lang-en|Arabic Language}}) เป็น[[ภาษากลุ่มเซมิติก]] ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับ[[ภาษาฮีบรู]]และ[[ภาษาอราเมอิก]] โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของ[[ศาสนาอิสลาม]]ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์[[อัลกุรอาน]] และภาษาของการ[[นมาซ]]และบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก [[ชาวมุสลิม]]จะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการ[[นมาซ]]
 
ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดย[[มุสลิม]]และภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจาก[[ภาษาเปอร์เซีย]]และ[[ภาษาสันสกฤต]]ด้วย ในช่วง[[ยุคกลาง]] ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทาง[[วิทยาศาสตร์]] [[คณิตศาสตร์]] และ[[ปรัชญา]] จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะ[[ภาษาสเปน]]และ[[ภาษาโปรตุเกส]] ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึง[[คาบสมุทรไอบีเรีย]]
บรรทัด 31:
== อิทธิพลของภาษาอาหรับต่อภาษาอื่น ==
 
ภาษาอาหรับมีอิทธิพลมากในโลกอิสลามและเป็นแหล่งของคำศัพท์ ที่ใช้ใน[[ภาษาเบอร์เบอร์]] [[ภาษาเคิร์ด]] ภาษาเปอร์เซีย [[ภาษาสวาฮีลี]] [[ภาษาอูรดู]] [[ภาษาฮินดี]] [[ภาษามาเลย์มลายู]] [[ภาษาอินโดนีเซีย]] [[ภาษาตุรกี]] เป็นต้น
 
ตัวอย่างเช่น คำว่ากิตาบ ซึ่งแปลว่าหนังสือในภาษาอาหรับ มีใช้ในทุกภาษาที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยกเว้นภาษามาเลย์มลายูและภาษาอินโดนีเซียที่ใช้หมายถึงหนังสือทางศาสนา ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสมีคำยืมจากภาษาอาหรับมาก และมีในภาษาอังกฤษเล็กน้อย ภาษาอื่นๆเช่น [[ภาษามอลตา]] [[ภาษากินูบี]] ได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับทั้งทางด้านคำศัพท์และไวยากรณ์
คำยืมจากภาษาอาหรับมีกว้างขวางทั้งคำจากศาสนา (เช่น ภาษาเบอร์เบอร์ tazallit = ละหมาด) ศัพท์ทางวิชาการ (เช่น ภาษาอุยกูร์ mentiq = วิชา) ศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ (เช่น ภาษาอังกฤษ sugar = น้ำตาล) จนถึงคำสันธานที่ใช้ในการพูดประจำวัน (เช่น ภาษาอูรดู lekin = แต่) ภาษาเบอร์เบอร์ส่วนใหญ่และภาษาสวาฮีลียืมตัวเลขจากภาษาอาหรับ ศัพท์ทางศาสนาอิสลามส่วนใหญ่เป็นคำยืมโดยตรงจากภาษาอาหรับ เช่น salat ([[ละหมาด]]) และ[[อิหม่าม]] ในภาษาที่ไม่ได้ติดต่อกับโลกอาหรับโดยตรง คำยืมจากภาษาอาหรับจะถูกยืมผ่านภาษาอื่น ไม่ได้มาจากภาษาอาหรับโดยตรง เช่น คำยืมจากภาษาอาหรับในภาษาอูรดูส่วนใหญ่ รับผ่านทางภาษาเปอร์เซีย และคำยืมจากภาษาอาหรับส่วนใหญ่ใน[[ภาษาฮัวซา]]ได้รับมาจาก[[ภาษากานูรี]]