ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพนัสนิคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 38:
[[ไฟล์:Bkkphranangklao0609.jpg|300px|thumb|right|[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม]]
 
ช่วงเมืองพนัสนิคม โดยกำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น [[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม (บางเอกสารเขียน พนัศนิคม) มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทพิศาล (บางเอกสารเขียน อินพิศาล) ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ บุตรชายคนโตของท้าวไชย (บางเอกสารเขียน ศรีวิชัย) อุปฮาดเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทรอาษา (บางเอกสารเขียน อินทอาษา, อินทราษา) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า “พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทรอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180)
ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวเมืองนครพนม ประมาณ 2 พันคน นำโดยท้าวไชย อุปฮาดเมืองนครพนม บุตรชายชองพระบรมราฃา (ท้าวอุ่นเมือง) เจ้าเมืองนครพนมคนเก่า ไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา (ท้าวมัง) เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพพาสมัครพรรคพวก บุตรหลาน ท้าวเพี้ย ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคม
 
บรรทัด 214:
นางสิบสองคนจึงได้เที่ยวไปในป่าในประเทศนั้นโดยลำดับจนถึงกุตารนคร ที่นครนั้นมีต้นไทรต้นหนึ่งอยู่ริมฝั่งสระของพระนคร นางสิบสองได้เห็นต้นไทรแล้ว จึงพากันขึ้นไปนั่งอยู่บนต้นไทรนั้น เวลานั้น พระเจ้ารถสิทธิ์ครองราชสมบัติอยู่ในกุตารนคร ได้พระราชทานหม้อน้ำทองแก่นางทาสีค่อมคนหนึ่ง เพื่อใช้สำหรับตักน้ำสรงมาถวาย นางทาสีค่อมถือหม้อน้ำทองไปถึงสระนั้นแล้ว ได้เห็นฉายรัศมีของนางสิบสองส่องสว่างมาถึงตน นางเกิดความโกรธจึงทุบหม้อน้ำทองทิ้งเสีย แล้วกลับมา พระเจ้ารถสิทธิ์ไม่เห็นหม้อน้ำทองคำ จึงพระราชทานหม้อน้ำเงินให้แก่นางทาสีค่อม นางทาสีค่อมถือหม้อน้ำเงินไปเห็นอาการอย่างนั้นอีก ก็เกิดความโกรธ จึงทุบหม้อน้ำเงินทิ้งเสียอย่างนั้นแล้วก็กลับมา พระเจ้ารถสิทธิ์ไม่เห็นหม้อน้ำเงิน ก็พระราชทานหม้อน้ำทำด้วยหนัง นางถือหม้อน้ำหนังไปถึงสระน้ำอีก เห็นอาการอย่างนั้นก็เกิดความโกรธทุบหม้อหนังเสียอย่างนั้นอีก แต่หม้อน้ำทำด้วยหนังจึงไม่แตก นางทาสีค่อมจึงต้องตักน้ำไป นางสิบสองคนเห็นอาการนั้นจึงหัวเราะตบมือขึ้น นางทาสีค่อมเงยหน้าขึ้น เห็นนางสิบสองคนอยู่บนต้นไทรมีรัศมีงดงาม จึงกลับมากราบทูลให้พระเจ้ารถสิทธิ์ทราบว่า ตนได้เห็นนางฟ้าอยู่บนต้นไทร พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ฟังแล้ว ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยจตุรงคเสนา ทอดพระเนตรเห็นนางสิบสองคนแล้ว ก็มีพระทัยยินดีมาก พระเจ้ารถสิทธิ์โปรดให้นางสิบสองคนนั้นนั่งบนวอ แล้วให้ประโคมเภรีดุริยางค์ดนตรีฟ้อนรำขับร้อง รับขึ้นไปยังปราสาท ตั้งไว้ในที่เป็นอัครมเหสีเป็นที่รักของพระองค์ทั้งสิบสองนาง
 
ต่อมาภายหลัง นางสันธมารยักษิณีได้ทราบว่า นางสิบสองคนได้เป็นอัครมเหสีของพระเจ้ารถสิทธิ์ จึงออกจากคชปุรนครรีบไปยังกุตารนคร เห็นต้นไทรริมฝั่งสระก็ขึ้นบนต้นไทร ยืนอวดรูปร่างที่สวยงามดุจนางฟ้าอยู่ เวลานั้นนางค่อมไปตักน้ำสรงยังสระนั้น ได้เห็นรัศมีของนางสันธมาร มองขึ้นไปข้างบน เห็นนางแล้ว จึงรีบไปทูลพระเจ้ารถสิทธิ์ให้ทรงทราบ พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ฟังแล้วก็ออกจากพระนคร เสด็จไปยังที่นั้น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางสันธมารแล้ว ทรงมีพระทัยยินดี จึงตรัสเรียกนางลงมา นางสันธมารได้ฟังแล้วก็ลงมาจากต้นไทร พระเจ้ารถสิทธิ์ให้นั่งบนวอทองพาไปให้อยู่ท่ามกลางปราสาท ตั้งให้เป็นอัครมเหสีผู้ใหญ่ นางสันธมารนั้นเป็นที่รักของพระองค์เป็นอันมากเพราะนางสันธมารมีรูปร่างงดามกว่าอัครมเหสีเก่าของพระเจ้ารถสิทธิ์ทั้งสิบสองนาง ก็วิบากกรรมเก่าของนางสิบสองมาถึงแล้ว ได้ทราบว่า ในชาติปางก่อน นางทั้งสิบสองนี้เคยเป็นนางทาริกา พากันไปเล่นที่ริมฝั่งน้ำ ได้จับปลาสิบสองตัวมาวางไว้ที่บนบก น้องคนเล็กได้แทงตาของปลาตัวหนึ่งข้างหนึ่ง พี่สาวอีก ๑๑ คนแทงตาของปลา ๑๑ ตัวทั้ง ๒ ข้าง เลิกเล่นแล้วจึงได้ปล่อยไป ด้วยวิบากกรรมนั้นนางสันธมารยักษิณีจึงแกล้งหาเลสลวงว่าตนกำลังเป็นไข้ เมื่อพระเจ้ารถสิทธิ์ตรัสถามว่านางสันธมารต้องการอะไร จึงทูลว่าข้าแต่สมมติเทวราชเจ้า เวลานี้หม่อมฉันถูกความทุกข์ครอบงำเหลือเกิน ถ้าโปรดเกล้าให้หม่อมฉันควักลูกตานางสิบสองเสียได้ จะเป็นที่สบายอารมณ์เป็นอันมาก พระเจ้ารถสิทธิ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงให้ตรัสเรียกนางสิบสองมาเฝ้า แล้วบังคับให้นั่งเรียงลำดับกันตามคำสั่งของนางสันธมาร
 
เวลานั้นนางสันธมารจึงลุกขึ้นจากที่นอน แล้วควักลูกตานางสิบสอง ในขณะที่โลหิตกำลังหลั่งไหลอยู่ ก็ส่งลูกตานั้นไปให้ธิดาของตนเก็บรักษาไว้ พระเจ้ารถสิทธิ์เมื่อไม่เห็นนางสิบสอง จึงทรงเสวยทุกขเวทนาไม่สบายพระทัยเลย นางสิบสองได้เสวยทุกขเวทนาอันเป็นผลกรรมที่ตนทำไว้แต่ในอดีตชาติแล้ว พี่สาวทั้ง ๑๑ คนได้ความลำบากมากกว่า เพราะถูกควักลูกตาทั้งสองข้าง แต่น้องสาวสุดท้องยังแลเห็น เพราะยังมีตาเหลืออยู่ข้างหนึ่ง