ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอพนัสนิคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 26:
 
== ประวัติศาสตร์ ==
อนึ่งอาณาเขตเมืองพนัสนิคมเดิมนั้น มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภออื่นๆในปัจจุบันของจังหวัดชลบุรี ดังนี้
* บ้านท่าตะกูด เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนจัดตั้งเป็นอำเภอท่าตะกูด และเปลี่ยนชื่อเป็น[[อำเภอพานทอง]]ในเวลาต่อมา
* ตำบลคลองพลู เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม ก่อนที่จะโอนมาขึ้นกับอำเภอบ้านบึงเมื่อ พ.ศ. 2418 และได้ยกฐานะเป็น[[อำเภอหนองใหญ่]]ในเวลาต่อมา
* ตำบลบ่อทอง เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะเป็น[[อำเภอบ่อทอง]] เมื่อ พ.ศ. 2528
* ตำบลเกาะจันทร์ และตำบลท่าบุญมี เดิมขึ้นอยู่กับพนัสนิคม โดยต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น[[อำเภอเกาะจันทร์]] เมื่อ พ.ศ. 2550
 
ช่วงชุมชนเก่าสุดสุดมราพบในเขตเมืองอำเภอพนัสนิคม อยู่บ้านโคกพนมดีใน ตำบลท่าข้าม มีอายุราว 3,000 ปี โดยนักโบราณคดีขุดพบโครงกระดูกเจ้าแม่ (หมอผี หัวหน้าเผ่า) มีลูกปัดนับแสนเม็ดฝังรวมอยู่
 
ช่วงเมืองเก่ายุคทวารวดี มีอายุราว 1,500 ปี อยู่ในตำบลหน้าพระธาตุ ต่อมาเรียกสมัยหลังว่าเมืองพระรถ (ชื่อสมมุติจากนิทานลาว) โดยเป็นเมืองโบราณยุคทวารวดี อายุอยู่ในราวหลัง พ.ศ. 1000 รุ่นเดียวกับเมืองนครปฐมโบราณ เมืองโบราณยุคทวารวดีที่พนัสนิคมนี้ได้ลดความสำคัญลงและในที่สุดรกร้างไปราวหลัง พ.ศ. 1500 เพราะเส้นทางคมนาคมเปลี่ยนไป แล้วมีบ้านเมืองแห่งใหม่ใกล้ทะเลเติบโตมีความสำคัญแทนที่
 
[[ไฟล์:Bkkphranangklao0609.jpg|300px|thumb|right|[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม]]
 
ช่วงเมืองพนัสนิคมเป็นเมือง โดยกำเนิดเมืองขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้กลุ่มลาวอาสาปากน้ำมาสร้างภูมิลำเนาขึ้นในพื้นที่รกร้างระหว่างเมืองชลบุรีกับเมืองฉะเชิงเทราในปี พ.ศ. 2371 และพระราชทานนามเมืองว่าพนัสนิคม มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ขึ้นกับกรมท่า กรุงเทพมหานคร ให้ท้าวอินทพิศาล (ปลัดลาว เมืองสมุทรปราการ) บุตรชายคนโตของท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนม ให้เป็นเจ้าเมืองพนัสนิคมคนแรกและพระราชทานราชทินนามและบรรดาศักดิ์ที่พระอินทรอาษา (บาที่เขียนอินทอาษา, อินทราษา) มีข้อความในพระราชพงศาวดารว่า
“พวกลาวอาสาปากน้ำ ตั้งขึ้นเมื่อครั้งในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าสุลาลัย ภายหลังเมื่อปีชวดสัมฤทธิศก พวกลาวไม่สบาย ขอไปตั้งอยู่ที่เมืองพระรถ จึงโปรดให้ตัดเอาแขวงเมืองชลบุรี เมืองฉะเชิงเทรา มาตั้งเป็นเมืองขึ้นชื่อเมืองพนัศนิคม เจ้าเมืองชื่อพระอินทรอาษา” (พระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 เล่ม 2 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับคุรุสภา พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2504 หน้า 180)
ลาวบุกเบิกเมืองพนัสนิคม เป็นลาวจากเมืองนครพนม ประมาณ 2 พันคน นำโดยท้าวไชย อุปราชเมืองนครพนมไม่สมัครใจอยู่ในปกครองของพระบรมราชา เจ้าเมืองนครพนมคนใหม่ จึงอพยพขอสวามิภักดิ์ขึ้นต่อกรุงเทพฯ ในรัชสมัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2352 และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่คลองมหาวงษ์ เมืองสมุทรปราการ ยุคนั้นจึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่าพวกลาวอาสาปากน้ำ แต่ทนสภาพแวดล้อมไม่ไหว เพราะเป็นชาวดอนน้ำจืด ถูกให้ไปอยู่เมืองลุ่มน้ำกร่อยและเค็ม เลยขอเปลี่ยนไปอยู่ที่อื่น ซึ่งสภาพใกล้เคียงที่ดอน จึงได้ไปอยู่เมืองพนัสนิคม
 
อนึ่งตระกูลทุมมานนท์ ซึ่งเป็นนามสกุลพระราชทานจาก[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เป็นนามสกุลพระราชทานที่ ๑๔๐๕ "ทุมมานนท์" (Dummananda เขียนแบบโรมัน) อันสืบเชื้อสายมาจากพระอินทอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม
 
ใน พ.ศ. 2391 พระอินทรอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวพนัสนิคมยกไปทางบกปราบกบฏจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา มีพรรณนาไว้ในพระราชพงศาวดารฯ เรื่องเจ้าพระยาพระคลังกับเจ้าพระยาบดินทรเดชาปราบจีนตั้วเหี่ย เมืองฉะเชิงเทรา
 
ใน พ.ศ. 2394 พระอินทรอาษา เจ้าเมืองพนัสนิคม คุมลาวพนัสนิคมร่วมเป็นกองกำลังอารักขาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จขึ้นเสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้มีพรรณนาในพระราชพงศาวดารฯ
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักร โดยการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาล ให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย เมืองพนัสนิคมจึงเข้าอยู่ในมณฑลปราจีนบุรี ดังมีบันทึกว่า