ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
อิกคิวซัง (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
เนื้อหาส่วนนี้ว่าด้วยสภา ไม่ใช่สำนักงานสภา ควรไปอยู่ในบทความสภา
บรรทัด 96:
 
'''สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ''' เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัด[[สำนักนายกรัฐมนตรี]] ทำหน้าที่เป็นสำนักเลขานุการของ[[สภาความมั่นคงแห่งชาติ (ประเทศไทย)|สภาความมั่นคงแห่งชาติ]] ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวกับกิจการความมั่นคงของชาติ เป็นที่ปรึกษา เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางปฏิบัติด้านความมั่นคง รวมทั้งอำนวยการ ประสานงานให้เป็นไปตามนโยบาย ตลอดจนจัดทำแผนเตรียมความพร้อมแห่งชาติต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงในอนาคต
 
== ความเป็นมาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
สภาความมั่นคงแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงมีพระราชประสงค์จะให้มีการพิจารณางาน ในภารกิจทางด้านการทหารเพื่อการป้องกันประเทศ เป็นไปอย่างละเอียดรอบคอบ มีประสิทธิภาพ และมีการประสานงานซึ่งกันและกัน จึงได้ทรงโปรดเกล้าให้มีสภาเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวขึ้นเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ แต่เดิมนั้นยังไม่มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ แต่เรียกเป็นการทั่วไปว่า “สภาเกี่ยวกับการป้องกันพระราชอาณาจักร” โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประธานฯ
 
ได้มีการปรับปรุงและแก้ไของค์ประกอบของสภามาเป็นลำดับ กล่าวคือในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ ได้มีการแก้ไขปรับปรุงทั้งในด้านองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ และเรียกชื่อใหม่ว่า “สภาป้องกันพระราชอาณาจักร” จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม ๒๔๗๕ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการจัดระเบียบการป้องกันราชอาณาจักรขึ้นใหม่ สภาป้องกันพระราชอาณาจักรจึงถูกยกเลิกไป ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๗ ได้มีการจัดตั้ง “สภาการสงคราม” ขึ้น โดย ออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่าพระราชบัญญัติสภาการสงคราม ซึ่งนับเป็น พระราชบัญญัติฉบับแรกที่เกี่ยวกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพราะได้การ กำหนดให้สภาการสงครามมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินสงครามทั้งใน ทางทหาร ทางเศรษฐกิจ และการเมือง ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน สภาการสงครามมีอายุได้เพียง ๘ เดือน ก็ยกเลิกไป เนื่องจากได้มีการจัดตั้ง “สภาป้องกันราชอาณาจักร” ขึ้นแทน โดยออกเป็นพระราชบัญญัติชื่อว่า พระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร เมื่อ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๗ หลังจากนั้นเมื่อ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักรออกมาใหม่ ยกเลิกพระราชบัญญัติเดิม และใช้อยู่จนกระทั่งได้มีการการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คือ การยกเลิกพระราชบัญญัติสภาป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๔๙๙ และประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๒ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “สภาป้องกันราชอาณาจักร” เป็น “สภาความมั่นคงแห่งชาติ” มาจนกระทั่งทุกวันนี้
<ref>http://www.nsc.go.th/Pages/history.aspx</ref>
 
ต่อมาในวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/085/1.PDF</ref>โดยใจความสำคัญคือให้มีสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ 11 คนเป็นอย่างต่ำ ซึ่งจำนวนมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีเป็นประธานสภา รองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นรองประธานสภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภา สภาอาจมีมติให้เชิญรัฐมนตรีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับเรื่องที่จะพิจารณา หรือผู้ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ด้านความมั่นคงหรือนักวิชาการด้านความมั่นคงในเรื่องนั้น ให้เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งคราวในฐานะสมาชิกเฉพาะกิจด้วยก็ได้ ในกรณีเช่นนั้น ให้ผู้ที่ได้รับเชิญและมาประชุมมีฐานะเป็นสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติสำหรับการประชุมครั้งที่ได้รับเชิญนั้น
 
== รายนามสมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
ตามพรบ.สภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ.2559 ปัจจุบันสภาความมั่นคงแห่งชาติมีสมาชิกดังต่อไปนี้
# พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]] ประธานสภา
# พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] รองประธานสภา
# [[ดอน ปรมัตถ์วินัย]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# [[อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# พลเอก [[ประวิตร วงษ์สุวรรณ]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# [[อาคม เติมพิทยาไพสิฐ]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# [[พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# พลเอก [[อนุพงษ์ เผ่าจินดา]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# [[สุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# พลเอก [[สุรพงษ์ สุวรรณอัตถ์]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
# พลเอก [[ทวีป นิยม]] สมาชิกสภาความมั่นคงแห่งชาติ
 
== รายนามเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ==
* 2502 – 2504 พลตรี [[หลวงวิจิตรวาทการ]]
* 2505 – 2511 พันเอก [[พระยาศรีวิสารวาจา]]
* 2511 – 2516 พลเอก [[จิร วิชิตสงคราม]]
* 2516 – 2517 พลเอก [[เล็ก แนวมาลี]]
* 2517 – 2523 พลอากาศเอก [[สิทธิ เศวตศิลา]]
* 2523 – 2529 นาวาอากาศตรี [[ประสงค์ สุ่นศิริ]]
* 2529 – 2534 [[สุวิทย์ สุทธานุกูล]]
* 2534 – 2539 พลเอก [[จรัล กุลละวณิชย์]]
* 2539 – 2541 พลเอก [[บุญศักดิ์ กำแหงฤทธิรงค์]]
* 2541 – 2545 [[ขจัดภัย บุรุษพัฒน์]]
* 2545 – 2549 พลเอก [[วินัย ภัททิยกุล]]
* 2549 – 2550 [[ประกิจ ประจนปัจจนึก]]
* 2550 – 2551 พลโท [[ศิรพงศ์ บุญพัฒน์]]
* 2551 – 2552 พลโท [[สุรพล เผื่อนอัยกา]]
* 2552 – 2554 [[ถวิล เปลี่ยนศรี]] (โดยนิตินัย 2552 – 2557)
* 2554 – 2555 พลตำรวจเอก [[วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี]] (โดยพฤตินัย)
* 2555 – 2557 พลโท [[ภราดร พัฒนถาบุตร]] (โดยพฤตินัย)
* 28 เมษายน 2557 – 30 กันยายน 2557 [[ถวิล เปลี่ยนศรี]] มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีและเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 30 กันยายน 2554<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2557/E/070/39.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีและเพิกถอนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (นายถวิล เปลี่ยนศรี)]</ref>
* 1 ตุลาคม 2557 - 30 กันยายน 2558 [[อนุสิษฐ คุณากร]]
* 1 ตุลาคม 2558 - ปัจจุบัน พลเอก [[ทวีป เนตรนิยม]]<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/237/9.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการทหารพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน(พลเอก ทวีป เนตรนิยม)]</ref>
 
== อ้างอิง ==