ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรมการแพทย์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไอ้ตัวเล็ก (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{กล่องข้อมูล หน่วยงานของรัฐ 2 | ชื่อหน่วยงาน = กรมการแพทย์ | ชื่...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
 
ไอ้ตัวเล็ก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 92:
| แผนที่_บรรยาย =
}}
กรมการแพทย์ ({{lang-en|Department of Medical services}}) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเกี่ยวกับการแพทย์กรมการแพทย์ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ. ศ. 2485 จวบจนถึงวันนี้ เป็นเวลากว่า 60 ปี ได้ผ่านพบกับความเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม บุคคลและเหตุการณ์ในอดีตเป็นประวัติศาสตร์และความทรงจำที่ทรงคุณค่า ซึ่งชาวกรมการแพทย์ควรได้รับทราบและได้รับการบันทึกไว้ เพื่อเป็นความภาคภูมิใจในการสร้างงาน สร้างคนและพัฒนาความมั่นคงให้แก่การแพทย์ ตลอดมาตราบจนทุกวันนี้
กรมการแพทย์ ({{lang-en|Department of Medical services}}) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการเกี่ยวกับการ
 
 
== ความเป็นมา ==
[[27 พฤศจิกายน|27 พ.ย.]] 2461 งานการแพทย์และสาธารณสุขยังไม่มีหน่วยงานรับผิดชอบอย่างเป็นทางการ ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมการสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล และกรมประชาภิบาล [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] ตั้งเป็น กรมสาธารณสุข สังกัด[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] [[10 มีนาคม|10 มี.ค.]] 2485 ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] รัชการที่ 8 รัฐบาล[[แปลก พิบูลสงคราม|จอมพล ป. พิบูลสงคราม]] พิจารณาว่างานด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีความซ้ำซ้อนและกระจายอยู่ใน[[กระทรวง]]และกรมหลายแห่ง จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการการพิจารณาจัดการปรับปรุง เพื่อรวบรวมกิจการแพทย์และสาธารณสุข ยกเว้น[[การแพทย์ของทหาร]] [[ตำรวจ]]และ[[การรถไฟแห่งประเทศไทย|การรถไฟ]] และมีมติให้ตั้ง [[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]] กรมการแพทย์จึงถือกำเนินมาตั้งแต่วาระนั้น โดยมีหน้าที่หลักเกี่ยวกับการบำบัดโรค การจัดตั้ง และการควบคุมโรงพยาบาล ดำเนินกิจการของโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลบำบัดโรคทั่วไปและโรงพยาบาลเฉพาะโรค ตลอดจนการจัดตั้ง[[โรงเรียนผดุงครรภ์]]และ[[โรงเรียนผู้ช่วยพยาบาล]] โดยมี[[พันโทนิตย์ เวชชวิศิษฏ์]] เป็นอธิบดีท่านแรก ที่ทำการของกรมการแพทย์ตั้งอยู่บริเวณเดียวกับ[[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]]มาโดยตลอดในช่วงแรกอาศัยอยู่ในบริเวณ[[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]] [[23 พฤษภาคม|23 พ.ค.]] 2485 ได้ย้ายที่ทำการไปยัง[[วังศุโขทัย|วังสุโขทัย]] [[ถนนสุโขทัย]] โดยเช่าอาคารจาก[[สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์]] ปี [[พ.ศ. 2493]] [[สำนักพระราชวัง]]ต้องการใช้[[วังศุโขทัย|วังสุโขทัย]]เป็นที่ประทับของ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี]] [[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]]จึงขออนุมัติซื้อ[[วังเทวะเวสม์]] [[ตำบลบางขุนพรหม]] [[เขตพระนคร|อำเภอพระนคร]] [[กรุงเทพมหานคร]] และกรมการแพทย์ก็ได้ย้ายที่ทำการไปยัง[[วังเทวะเวสม์]] พร้อมกับ[[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]] ปี พ.ศ. 2485 – 2505 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับกรมการแพทย์มากมาย ในช่วงแรกมีการโอนกิจการโรงพยาบาลมาอยู่ในสังกัดกรมการแพทย์อีก 34 แห่ง ต่อมา[[ประเทศไทย]]อยู่ในภาวะสงครามต่อเนื่องระหว่าง[[สงครามอินโดจีน]] [[สงครามแปซิฟิก|สงครามเอเชียบูรพา]] และ[[สงครามโลกครั้งที่สอง|สงครามโลกครั้งที่ 2]] หลังสงครามสงบมีการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล และต่อมามีการโอน รับโอน ปรับปรุง และก่อสร้างโรงพยาบาลเพิ่มเติม รวมโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ทั้งสิ้นถึง 102 แห่ง เป็นโรงพยาบาลส่วนกลาง 11 แห่ง สถาบัน 2 แห่ง และโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค 89 แห่ง [[29 กันยายน|29 ก.ย.]] 2515 ให้รวมงานของกรมแพทย์ งานบางส่วนของกรมอนามัย และงานบางส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และตั้งเป็นกรมการแพทย์และอนามัย ปี พ.ศ. 2516 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในการแบ่งกรมการแพทย์และอนามัย ออกเป็น 2 กรม คือ กรมการแพทย์ และ [[กรมอนามัย]] กรมการแพทย์ ได้รับการกำเนิดบทบาทให้เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสุขภาพ โดยพัฒนาเทคนิควิชาการเพื่อสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศ ฝึกอบรม ยกระดับขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในระบบงานบริการ สาธารณสุข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการ [[18 กันยายน|18 ก.ย]]. 2517 แบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ออกเป็น สำนักงานเลขานุการกรม กองคลัง กองการเจ้าหน้าที่ กองวิชาการ กองวิชาการ [[สถาบันมะเร็งแห่งชาติ]] [[สถาบันโรคผิวหนัง]] [[สถาบันพยาธิ]] [[โรงพยาบาลหญิง]] [[โรงพยาบาลเด็ก]] [[โรงพยาบาลเลิดสิน]] [[โรงพยาบาลสงฆ์]] [[โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา]] [[โรงพยาบาลศรีธัญญา]] [[โรงพยาบาลประสาท]] [[โรงพยาบาลปัญญาอ่อน]] [[สถาบันธัญญารักษ์|โรงพยาบาลธัญญารักษ์]] ปี พ.ศ. 2520 ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างโรงพยาบาลชานพระนคร ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามใหม่ว่าโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ปี พ.ศ. 2531 มีหน่วยงานเพิ่ม คือ ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์สิริธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ปี พ.ศ. 2532 มีการก่อตั้งหน่วยงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ ซึ่งได้รับพระราชทานนามว่า [[ศูนย์พัฒนาควบคุมโรคไม่ติดต่อและต่อมา]] มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชื่อเป็น [[โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์]] (วัดไร่ขิง) และมีการก่อตั้งศูนย์ทันตกรรม ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันทันตกรรม ปี พ.ศ. 2535 มีการโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมการแพทย์ เพื่อจัดตั้งสถาบันสุขภาพจิต เป็นกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปัจจุบัน คือ กรมสุขภาพจิต ปี พ.ศ. 2536 กรมการแพทย์เสนอขอแบ่งส่วนราชการและได้รับการตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ [[กระทรวงสาธารณสุข (ประเทศไทย)|กระทรวงสาธารณสุข]] พ. ศ. 2537 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 21 ก หน้า 7 วันที่ 3 มิถุนายน 2537) เป็นหน่วยงานระดับกอง 21 หน่วยงาน ปัจจุบัน กรมการแพทย์มีหน่วยงานในสังกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ. ศ. 2545 จำนวน 21 หน่วยงาน (1-21) และมีหน่วยงานต่ำกว่าระดับกอง ซึ่งตั้งขึ้นตามโครงสร้างที่ ก. พ. กำหนด จำนวน 17 หน่วยงาน รวมถึงหน่วยงานที่กรมการแพทย์ตั้งขึ้นเป็นการภายใน จำนวน 3 หน่วยงาน
== ภารกิจ และหน้าที่รับผิดชอบ ==
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ. ศ. 2545 ได้กำหนดให้กรมการแพทย์มีภารกิจในการพัฒนาวิชาการด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ฝ่ายกาย โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
เส้น 107 ⟶ 104:
พัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการแพทย์หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
 
== วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ==
วิสัยทัศน์
ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพ และมาตฐานวิชาชีพอย่างเสมอภาค ภายในปี พ.ศ 2564
* ศึกษาวิจัย ประเมิน พัฒนา เผยแพร่องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการแพทย์ที่สมคุณค่าประเทศ
* กำหนด พั