ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สกทาคามี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
'''สกทาคามี''' ({{lang-pi|Sakadāgāmī}}; {{lang-sa|Sakṛdāgāmin}}) หรือ '''สกิทาคามี''' แปลว่า ''ผู้กลับจะมาสู่โลกนี้เพียงอีกครั้งเดียว''<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=4399&Z=4960 มหาลิสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค</ref> เป็นชื่อเรียกพระ[[อริยบุคคล]]ลำดับที่ 2 ใน 4 ประเภท ที่เรียกว่า "ผู้กลับมาเพียงครั้งเดียว" หมายถึง พระสกิทาคามีจะเกิดในกามาวจรภพอีกเพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็จะถึงพระนิพพาน
 
คัมภีร์[[สุมังคลวิลาสินี]]อธิบายว่าคำว่า "โลกนี้" หมายถึง[[กามภพ|กามาวจรโลก]] กล่าวคือ ผู้บรรลุสกทาคามีในมนุษยโลกแล้วไปเกิดในเทวโลก สามารถบรรลุเป็น[[พระอรหันต์]]ในเทวโลกนั้นได้ หากไม่ได้อรหัตตผล จะมาเกิดเป็นมนุษย์แล้วบรรลุอรหัตตผลอย่างแน่นอน ฝ่ายผู้บรรลุสกทาคามีในเทวโลกแล้วมาเกิดในมนุษยโลก สามารถบรรลุอรหัตตผลในมนุษยโลกนั้นได้ หากไม่ได้ จะกลับไปเกิดในเทวโลกแล้วบรรลุอรหัตตผลอย่างแน่นอน<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10.0&i=67&p=2 นาทิกาคามคมนวณฺณนา], อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร</ref>
 
== การละสังโยชน์ ==
เส้น 11 ⟶ 13:
ในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ไม่ได้ระบุประภทของพระสกทาคามีไว้ มีเพียงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น<ref>[[พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)]], [http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%A1%B7%D2%A4%D2%C1%D5 สกทาคามี], พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม</ref>
 
คัมภีร์[[ปรมัตถโชติกา]] แบ่งไว้ 3 ประเภท คือ สกทาคามีในกามภพ 1 ในรูปภพ 1 และในอรูปภพ 1
 
คัมภีร์[[ปรมัตถมัญชุสา]] แบ่งไว้ 5 ประเภท คือ ผู้บรรลุใน (มนุษย) โลกนี้แล้วปรินิพพานในโลกนี้เอง 1 ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ปรินิพพานในเทวโลก 1 ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว ปรินิพพานในเทวโลกนั้นเอง 1 ผู้บรรลุในเทวโลกแล้ว เกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน 1 ผู้บรรลุในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในเทวโลกหมดอายุแล้ว กลับมาเกิดในโลกนี้จึงปรินิพพาน 1 ทั้งนี้ พระสกทาคามีที่กล่าวถึงในพระไตรปิฎกภาษาบาลีหมายเอาประเภทที่ 5 อย่างเดียว
 
== อ้างอิง ==
; เชิงอรรถ
{{รายการอ้างอิง}}
 
; บรรณานุกรม
{{เริ่มอ้างอิง}}
* พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับหลวง
* อรรถกถาภาษาไทย
{{จบอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:อริยบุคคล]]